backup og meta

ลูกน้อยวัย 18 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/12/2022

    ลูกน้อยวัย 18 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

    ลูกน้อยวัย 18 เดือน มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนัก ส่วนสูง หรือแม้แต่การแสดงออกต่าง ๆ ที่แสดงความเป็นตัวเองออกมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงวัยที่ควรได้รับวัคซีนสำคัญ เช่น วัคซีนโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตลูกอยู่เสมอ เพื่อจะได้ส่งเสริมการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

    คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีพัฒนาการทางร่างกายอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนนี้ การตรวจวัดร่างกายของลูกน้อยโดยเฉลี่ยแล้วอาจมีค่าดังต่อไปนี้

  • น้ำหนัก : 10 กก. ถึง 14 กก. (เด็กผู้ชาย) และ 9 กก. ถึง 13 กก. (เด็กผู้หญิง)
  • ความสูง : 77 ซม. ถึง 87 ซม. (เด็กผู้ชาย) และ 74 ซม. ถึง 86 ซม. (เด็กผู้หญิง)
  • เส้นรอบวงศีรษะ : 46 ซม. ถึง 50 ซม. (เด็กผู้ชาย) และ 44 ซม. ถึง 49 ซม. (เด็กผู้หญิง)
  • ถ้าผลการตรวจของลูกน้อยไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่กล่าวมา ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะเป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น สิ่งสำคัญ คือ ลูกน้อยมีการเติบโตและมีการเคลื่อนไหวตามวัยของตนเอง อย่างไรก็ตาม หากมีข้อกังวลใด ๆ ควรปรึกษาคุณแม่

    ลูกน้อยวัย 18 เดือน อาจยืนได้อย่างมั่นคงแล้ว รวมถึงอาจมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้ 2 มือถือลูกบอลแล้วขว้างได้ อาจจำสิ่งของได้แม้ว่าสิ่งของนั้นจะไม่อยู่ในสายตาแล้ว ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการเล่นซ่อนหา โดยเอาข้าวของชิ้นโปรดไปซ่อน นอกจากนี้  ยังอาจใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใสและมีเนื้อสัมผัสเพื่อช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสของลูก

    ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร

    บางครั้งเด็กที่เดินได้เองอย่างคล่องแคล่วแล้ว ก็ยังอยากให้คุณแม่อุ้ม ซึ่งควรพิจารณาตามความเหมาะสม โดยลูกอาจกลัวว่าจะพลัดหลง รวมถึงอาจต้องการความสนใจหรือความรัก ฉะนั้นก็ควรอุ้มถ้าคุณแม่รู้สึกอยากอุ้ม แต่ถ้าต้องเดินไกลจากบ้านหรือรถ ก็ควรนำรถเข็นไปด้วย เพื่อจะช่วยให้หลังของคุณแม่ไม่ต้องทำงานหนัก และอาจโน้มน้าวให้ลูกน้อยเดินเองโดยคุณแม่จูงมือไว้ก็ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และอาจต่อรองโดยบอกลูกน้อยว่า “ลองเดินจูงมือแม่ไปจนถึงแยกหน้านะ” ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มระยะทางขึ้นมาได้อีกนิด

    ลูกน้อยอาจเริ่มแสดงออกถึงสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ เช่น ไม่ชอบดื่มนม ซึ่งถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ก็อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่ นั่นเป็นวิธีแสดงการเป็นตัวของตัวเองของเด็กในวัยนี้ ให้เด็กดื่มนมต่อไปแต่ไม่ต้องบังคับ ในขณะเดียวกันก็ควรให้ลูกน้อยได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากพอ จากอาหารประจำวันอื่น ๆ เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต

    สุขภาพและความปลอดภัยของ ลูกน้อยวัย 18 เดือน

    จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ

    คุณหมออาจตรวจเช็กร่างกายประจำเดือนให้ในช่วงนี้ ซึ่งคุณหมออาจซักถามคุณแม่ด้วยคำถามต่อไปนี้

    • ลูกน้อยกินอาหารเป็นอย่างไร กินอาหารได้ดีไหม
    • ลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายบ้างไหม ออกไปเล่นนอกบ้านบ้างหรือเปล่า
    • ลูกน้อยดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์มือถือไหม และใช้เวลากับสิ่งเหล่านี้วันละกี่ชั่วโมง

    คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณหมอสามารถประเมิน พัฒนาการทางพฤติกรรมของลูกน้อยได้ เด็กแต่ละคนจะมรการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการในอัตราที่แตกต่างกัน ดังนั้น คุณหมอจะตรวจสอบว่าลูกมีพัฒนาการเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ถ้าคุณแม่มีข้อกังวลใด ๆ ก็ควรปรึกษาคุณหมอ

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    ลูกน้อยวัย 18 เดือนจะได้รับวัคซีนที่สำคัญ ๆ ไปแล้ว และนี่คือวัคซีนบางชนิดที่คุณแม่ควรทำความรู้จักเอาไว้

    • วัคซีนโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน  ถ้าลูกน้อยยังไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนแบบผสมผสานนี้ เพื่อป้องกันโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน
    • วัคซีนโรคอีสุกอีใส ถ้าลูกน้อยไม่ได้ฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใสมาก่อน ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนในตอนนี้ เพื่อป้องกันจากโรคที่พบได้บ่อย แต่อาจส่งผลรุนแรงกับเด็กได้
    • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ถ้าลูกน้อยยังไม่รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ก็จะได้รับการฉีดวัคซีนนี้ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคโปลิโอ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสที่ทำให้ร่างกายเป็นอัมพาต
    • วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ถ้าลูกน้อยยังไม่ได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะได้การฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคตับอักเสบ บี ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ตับทำงานผิดปกติ
    • โรคไข้หวัดใหญ่ ลูกน้อยควรได้รับวัคซีนชนิดนี้ปีละ 1 ครั้ง และถ้าการไปพบคุณหมอในครั้งนี้กำลังมีไข้หวัดระบาดอยู่พอดีก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนทันที

    สิ่งที่ต้องกังวล

    การโดนแดดเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังของเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้ ฉะนั้นก็ควรปกป้องผิวให้ลูกน้อยเวลาจออกไปข้างนอก ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไรก็ตาม โดยการทาครีมกันแดด ใส่เสื้อผ้าน้ำหนักเบา สวมหมวก และแว่นกันแดด รวมทั้งให้อยู่แต่ในที่ร่ม ๆ ด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา