backup og meta

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยแต่ละช่วงวัยก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ เพศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของเด็กแตกต่างกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน เพื่อช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทางร่างกายที่ดีซึ่งจะส่งผลไปถึงพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจแบ่งออกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสมอง โดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยเรียน

เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-12 ปี อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายส่วน ดังนี้

  • เด็กวัยเรียนมักมีพัฒนาทางความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • การเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
  • เด็กวัยเรียนอาจมีการพัฒนาด้านความสมดุลของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว และการทรงตัว
  • มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • เด็กเริ่มพัฒนาลักษณะทางเพศมากขึ้น เช่น เด็กผู้หญิงเริ่มมีพัฒนาการของเต้านม มีขนตามร่างกาย ส่วนเด็กผู้ชายอาจเริ่มมีขนตามร่างกาย การเจริญเติบโตของอัณฑะและองคชาต

ตัวอย่างพัฒนาการทางกายภาพแต่ละช่วงอายุ อาจมีดังนี้

  • 5 ขวบ การทรงตัวดีขึ้น ยืนบนเท้าข้างเดียวได้นานอย่างน้อย 10 วินาที กระโดดข้ามสิ่งของได้ ตีลังกา ใช้ช้อนส้อมได้ ควบคุมการขับถ่ายและใช้ห้องน้ำได้เอง
  • 6-8 ขวบ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีความสมดุลและความอดทนของร่างกายมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพเริ่มพัฒนามากขึ้น
  • 9-12 ขวบ ลักษณะทางกายภาพพัฒนาขึ้น มีพัฒนาทางกายภาพเพิ่มขึ้น เช่น หน้าอกใหญ่ขึ้น มีขนตามร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงของเด็กผู้ชาย

  • เด็กวัยเรียนอาจมีการพัฒนาของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ธestosterone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของอวัยวะสืบพันธ์ุ
  • มีขนขึ้นได้ทุกบริเวณในร่างกาย
  • ไหล่กว่างขึ้น
  • เสียงเริ่มเปลี่ยนเป็นเสียงห้าวหรือเสียงแตก ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและวัยของเด็ก

การเปลี่ยนแปลงของเด็กผู้หญิง

  • ฮอร์โมนเริ่มทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีประจำเดือน
  • มีขนขึ้นตามบริเวณร่างกาย
  • ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงมีส่วนเว้าส่วนโค้ง สะโพกกว้างขึ้น และมีการพัฒนาของเต้านม

การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายอาจทำให้ผิวมันซึ่งทำให้เกิดสิว
  • ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมในผิวหนัง รวมถึงต่อมเหงื่อใต้วงแขน อาจทำให้เกิดกลิ่นตัวในเด็กวัยเรียนได้

การเปลี่ยนแปลงทางสมองของเด็กวัยเรียน

การพัฒนาสมอง คือ รูปแบบหนึ่งของการพัฒนาร่างกาย การทำงานของสมองยังช่วยให้เด็กวัยเรียนพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวในกีฬาหรือกิจกรรมทางกายอื่น ๆ ได้ สมองของเด็กอาจพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีแรก เนื่องจากสภาวะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สมองของเด็กยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น อีกทั้งการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ จะเริ่มดีขึ้นด้วย ส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สังคม และการเรียนรู้ ดังนี้

  • เด็กวัยเรียนอาจมีสมาธิมุ่งความสนใจไปที่งานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่ และสามารถเรียนรู้วิธีการเพิกเฉยต่อสิ่งที่เข้ามารบกวนในขณะที่กำลังทำงานหรือกิจกรรมอยู่ เด็กวัยเรียนอาจจดจ่อกับงานสำคัญได้เป็นระยะเวลานานขึ้น สามารถเริ่มอ่านหนังสือได้ยาวนานขึ้น หรือร่วมกิจกรรมที่มีระยะเวลานานได้
  • เด็กวัยเรียนอาจมีทักษะความจำระยะสั้นและระยะยาวเริ่มพัฒนาขึ้น เด็กสามารถจดจำสิ่งสำคัญที่ผ่านมาหลายเดือนหรือหลายปีได้
  • เด็กวัยเรียนอาจมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์รุนแรง เศร้า ที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
  • เด็กวัยเรียนจะเริ่มเข้าใจการเข้าสังคม การทำงานเป็นกลุ่ม เรียนรู้กฎการอยู่รวมกับคนหมู่มาก

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกในวัยเรียนรู้จักรอคอย อดทนและเสียสละ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เพื่อวางรากฐานที่ดีสำหรับการก้าวเข้าสู่วัยรุ่นต่อไป

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Child Development. https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/positiveparenting/middle.html. Accessed June 21, 2021

Developmental Milestones. https://www.virtuallabschool.org/school-age/physical-development/lesson-2. Accessed June 21, 2021

School-age children development. https://www.mountsinai.org/health-library/special-topic/school-age-children-development. Accessed June 21, 2021

Physical Developmental Milestones: School-Age. https://www.virtuallabschool.org/fcc/physical-development/lesson-4. Accessed June 21, 2021

Growth & Development: 6-11 Years. https://www.rileychildrens.org/health-info/growth-development-6-11-years. Accessed June 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ที่พบบ่อย ควรดูแลอย่างไร

พัฒนาการเด็กวัยประถม กับการเปลี่ยนแปลง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/12/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา