backup og meta

ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับเด็ก

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

    ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับเด็ก

    ขนมเพื่อสุขภาพ คือขนมที่ให้พลังงานและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ขนมหรือของว่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้ลูกรับประทาน คือ ขนมที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืช ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงขนมที่มีโซเดียมและน้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด เค้ก ลูกกวาด หรืออาจจำกัดปริมาณการรับประทานขนมเหล่านี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน

    เด็กกินขนมมากไป ส่งผลเสียได้อย่างไร

    ขนมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโซเดียม และน้ำตาล หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมสารอาหารที่ไม่ดีอยู่ภายในก่อให้เกิดโรคอ้วนตั้งแต่ยังเยาว์วัย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในตับ และเกิดปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ อีกทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติส่งผลให้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องร่วง

    อาหารแต่ละมื้อที่ประกอบด้วยโซเดียมและน้ำตาลสูงก็อาจส่งผลให้เด็กเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองควรจำกัดปริมาณอาหารและขนมในแต่ละวันให้พอดี โดยควรจำกัดน้ำตาลไว้ที่ 25 กรัมสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำตาลไม่ว่าจะในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่ม

    • เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,500 มิลลิกรัม
    • เด็กที่มีอายุ 4-8 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,900 มิลลิกรัม
    • เด็กที่มีอายุ 9-13 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 2,200 มิลลิกรัม

    ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เด็กกินได้มีอะไรบ้าง

    ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เด็กควรรับประทาน คือ โปรตีน ผัก โดยเฉพาะ ผลไม้ อันอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ โพแทสเทียม ไฟเบอร์ แต่สำหรับเด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมการต่อต้านผักและผลไม้ คุณพ่อคุณแม่อาจรังสรรค์เมนูใหม่ ๆ ให้น่ารับประทานมากขึ้น ดังนี้

    1. ฟองดูผลไม้

    คุณพ่อคุณแม่สามารถนำผลไม้มาเสียบไม้สลับสีสันเพื่อดึงดูดเด็ก ๆ เช่น แอปเปิ้ล ส้ม กล้วย พร้อมทำซอสเพื่อสุขภาพให้ลูก ๆ ได้เลือกจิ้มทานคู่กับผลไม้ได้อย่างไม่น่าเบื่อ เช่น ฟองดูโยเกิร์ต หรือฟองดูโกโก้โดยอาจใช้ความหวานจากหญ้าหวานทดแทน

    1. แซนวิชเนยถั่ว

    เมนูนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เนยถั่วที่อุดมไปด้วยโปรตีน นำมาทาบนแครกเกอร์ หรือขนมปังธัญพืช เพียงใช้เนยถั่ว 1 กระป๋อง แต่คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบฉลากถึงส่วนประกอบของเนยถั่วเสียก่อนว่ามีน้ำตาลมากน้อยเพียงใด และควรเลือกเนยถั่วที่ปราศจากน้ำตาล น้ำมันพืช และไขมันทรานส์ หากลูกแพ้ถั่ว คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเมนูนี้ หรือหากไม่ทราบมาก่อนว่าลูกแพ้ถั่วหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกมีอาการหายใจไม่ออก คันช่องปาก ปวดท้อง อาเจียน หลังรับประทานแซนวิชเนยถั่วหรือไม่ แล้วควรรีบพาเข้าพบคุณหมอทันที

    1. ผักอบกรอบ

    การนำผักมาอบแทนการทอด จะทำให้ผักคงสารอาหารไว้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำผักหลากหลายชนิด เช่น แครอท มันฝรั่ง ผักตระกูลใบเขียว มาล้างให้สะอาด และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำ พร้อมทาด้วยน้ำมันจากธรรมชาติอย่างน้ำมันมะกอกเล็กน้อย ปรุงด้วยเกลือเล็กน้อยก่อนนำเข้าไปอบเป็นเวลา 10-12 นาที หรืออาจตรวจดูจากความกรอบเป็นระยะ

  • พิซซ่า
  • หากเป็นพิซซ่าธรรมดาที่หลายคนรู้จักก็คงจะมีปริมาณแคลอรี่ที่สูงแต่พิซซ่าเพื่อสุขภาพนี้คุณพ่อคุณแม่อาจใช้เป็นแป้งเบเกิ้ลโฮลวีท และนำไปทาซอสมะเขือเทศพอให้ได้รสชาติ ตามด้วยผักนานาชนิดที่ให้ความหวานหรือผักที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ พร้อมใส่เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน และโรยชีสที่มีไขมันต่ำ ก่อนนำไปอบ 

    นอกเหนือจาก 4 เมนู ดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจสามารถคิดเมนูขนมเพื่อสุขภาพ หรือของว่างอื่น ๆ ได้ แต่ควรเน้นส่วนประกอบจากธัญพืชที่มาจากธรรมชาติเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เพิ่มไขมันส่วนเกิน และรสชาติหวาน เค็ม เผ็ด เข้าสู่ร่างกายของเด็ก ๆ มากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียให้เด็ก ๆ มีโรคประจำตัวไปถึงอนาคตในช่วงวัยผู้ใหญ่ได้

    วิธีการเลือกขนมเพื่อสุขภาพ ให้เหมาะสมกับลูกรัก

    หากคุณพ่อคุณแม่เลือกซื้อของตามซุปเปอร์มาเก็ต ควรตรวจสอบฉลากข้างผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ทั้งส่วนประกอบสารอาหารโภชนาการก่อนเสมอ หากพบว่ามีส่วนประกอบที่ส่งผลในเชิงลบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น น้ำตาล ไขมัน โซเดียม ที่มีเปอร์เซ็นต์สูง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ตามใจเด็ก ๆ และเเปลี่ยนไปเลือกขนมที่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะขนมที่อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ใยอาหาร เป็นต้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา