backup og meta

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายและอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนที่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้

[embed-health-tool-bmi]

เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี ควรเป็นอย่างไร

เมนูอาหารวัยเรียน 6-12 ปี ควรอุดมไปด้วยอาหารที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยส่งเสริมทั้งการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางระบบประสาท ที่ส่งผลดีต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน 6-12 ปี ดังนี้

วิตามินและแร่ธาตุ

พบได้จากผักและผลไม้ทุกชนิด เช่น ผักใบเขียว ผักกาด บร็อคโคลี่ แครอท พริกหยวก ผักปวยเล้ง ผักโขม คะน้า ส้ม มะละกอ แตงโม สับปะรด แอปเปิ้ล องุ่น ลูกพรุน ลูกแพร์ กล้วย เบอร์รี่ โดยวิตามินและแร่ธาตุเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และยังอาจช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อหรือโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ผักและผลไม้ยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพระบบย่อยอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้

เด็กวัยเรียนจึงควรรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนบริโภค/วัน เช่น

  • กล้วยขนาดกลาง แอปเปิ้ล ส้ม ลูกพีช 1 ลูก
  • ผลไม้ขนาดเล็ก 2 ชิ้น เช่น ลูกพลัม ลูกแพร์ แอปริคอต แอปเปิ้ล
  • องุ่น เชอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ 1 กำมือ
  • ผักหรือผลไม้ปรุงสุก 3 ช้อนโต๊ะ
  • สลัดจานเล็ก

คาร์โบไฮเดรต

เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย โดยสามารถรับประทานได้จากอาหารหลายชนิด เช่น ซีเรียล มันฝรั่ง มันเทศ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้อง พาสต้า ข้าวโอ๊ต เมล็ดพืช ถั่ว ขนมปังโฮลวีต ซึ่งสามารถจัดเป็นเมนูอาหารหลักและอาหารว่างได้

โปรตีน

ช่วยในการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อ สามารถรับประทานได้จากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู ไก่ วัว ปลา อาหารทะเล นมวัว นมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากนม พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช

นมและผลิตภัณฑ์จากนม

อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูกและฟันของเด็ก

อาหารที่มีไขมันดีและน้ำตาลต่ำ

ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเด็กที่มีประโยชน์ในการช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และมีส่วนช่วยในการละลายวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค

เครื่องดื่ม

เครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับเด็กควรเป็นน้ำเปล่า นม น้ำผลไม้คั้นสดและไม่ผสมน้ำตาล เพื่อให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและช่วยให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อรสชาติน้ำเปล่า

ตัวอย่าง เมนูอาหารวัยเรียน6-12 ปี

สำหรับตัวอย่างเมนูอาหารวัยเรียน 6-12 ปี ที่คุณพ่อคุณแม่อาจนำไปทำอาหารให้ลูกเพื่อโภชนาการที่ครบถ้วนในแต่ละวัน มีดังนี้

  • ไข่ไก่กับขนมปังปิ้ง
  • ไข่ยัดไส้
  • ไข่พระอาทิตย์
  • แซนวิชทูน่าใส่ไข่ต้ม
  • ซุปมักกะโรนีไก่สับ
  • ไข่กระทะ
  • ข้าวผัดหมูใส่ไข่
  • บะหมี่ผัดทรงเครื่องห่อไข่
  • โจ๊กแซลมอนย่าง หมูหรือไก่ และไข่ลวก
  • ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ
  • พายผักโขมแฮม
  • วาฟเฟิล เบคอน แซนด์วิชไข่
  • มิกซ์เบอร์รี่เฟรนช์โทสต์
  • โยเกิร์ตน้ำผึ้งเบอร์รี่ หรือผลไม้รวมตามชอบ
  • ซีเรียลอาหารเช้าและผลไม้รวมกับนมวัว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Healthy eating for 6 – 12 year olds. https://www.wsh.nhs.uk/CMS-Documents/Patient-leaflets/PaediatricDepartment/6296-1-Healthy-eating-for-6-12-year-olds.pdf. Accessed December 5, 2022

Nutrition: School-Age. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=school-aged-child-nutrition-90-P02280. Accessed December 5, 2022

NUTRITION FOR SCHOOL-AGED CHILDREN. https://www.healthyventuracounty.org/healthy-kids/healthy-eating-for-kids/nutrition-and-school-aged-children/. Accessed December 5, 2022

Healthy food for school-age children: the five food groups

SHARE. https://raisingchildren.net.au/school-age/nutrition-fitness/daily-food-guides/school-age-food-groups. Accessed December 5, 2022

Dietary guidelines in pictures: 12-13 years. https://raisingchildren.net.au/teens/healthy-lifestyle/daily-food-guides/dietary-guide-12-13-years. Accessed December 5, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน ที่พ่อแม่ควรระวัง

อาหารเด็ก ที่ดีต่อร่างกาย และปริมาณสารอาหารสำหรับเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา