backup og meta

ไอดอกซูริดีน (Idoxuridine)

ไอดอกซูริดีน (Idoxuridine)

ข้อบ่งใช้ ไอดอกซูริดีน

ไอดอกซูริดีน ใช้สำหรับ

ไอดอกซูริดีน (Idoxuridine )เป็นยาต้านเชื้อไวรัส ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม สามารถเติบโตหรือสืบพันธุ์ได้

ยาไอดอกซูริดีนจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาดวงตาที่ติดเชื้อไวรัสเริม และอาจใช้ในจุดประสงค์อื่นตามคำสั่งของแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์และเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีใช้ยา ไอดอกซูริดีน

  • ควรใช้ยาไอดอกซูริดีนตามคำแนะนำของแพทย์ โดยศึกษาข้อมูลบนฉลากอย่างละเอียดก่อนที่จะใช้ยา และควรปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับข้อมูลใด ๆ ที่คุณไม่เข้าใจอย่างชัดเจน
  • หากใช้ยาไอดอกซูริดีนเป็นยาหยอดตา ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างละเอียด ไม่ควรใช้ยามาก น้อย หรือบ่อยกว่าที่แพทย์ของคุณกำหนด

หากต้องการใช้เป็นยาหยอดตา ให้ทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด
  2. หยอดยาลงบนดวงตาของคุณ
  3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนปลายสำหรับใช้ในการหยอดตา ไม่แตกหรือสียหาย และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดังกล่าวเวลาใช้งาน
  4. ระมัดระวังไม่ให้ยาไหลย้อนกลับเข้าไปในขวด เพราะอาจทำให้ตัวยามีการปนเปื้อน
  5. เงยศีรษะขึ้นเวลาหยอดตา
  6. หยอดยาให้ใกล้ดวงตามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่ต้องสัมผัสดวงตาของคุณ โดยใช้ปลายหยด หยดลงบนดวงตา
  7. ดึงเปลือกตาล่าง
  8. หยอดยาลงบนพื้นผิวของลูกตา อาจทำให้มีอาการอาการแสบตา
  9. ปิดตาและกดเบา ๆ ไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ยาอยู่ในดวงตา อย่ากระพริบตา
  10. ปิดฝาให้แน่นทันที อย่าเช็ดหรือล้างออก
  11. เช็ดของเหลวส่วนเกินออกจากแก้มด้วยผ้าสะอาด ล้างมืออีกครั้ง

วิธีเก็บรักษายาไอดอกซูริดีน

ยาไอดอกซูริดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไอดอกซูริดีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไอดอกซูริดีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไอดอกซูริดีน

ก่อนใช้ยาควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์ของคุณหาก:

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรของคุณให้ทราบหากคุณแพ้ยาไอดอกซูริดีน หรือยาอื่น ๆ
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบว่าคุณกำลังใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ และยาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยารักษาโรคตาและวิตามิน หรือยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) อย่าใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดวงตาที่มีกรดบอริก (boric Acid) ขณะที่ใช้ยาไอดอกซูริดีน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ถ้าคุณตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยานี้ ควรปรึกษาหาแพทย์ของคุณทันที

ความปลอดภัยในการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาไอดอกซูริดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไอดอกซูริดีน

ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นจากการใช้ยาไอดอกซูริดีน

  • ระคายเคืองตา
  • ปวดหรือเจ็บตา
  • ตาแดง
  • อาการคันตา
  • อาการบวมที่ดวงตา
  • ดวงตามีความไวต่อแสงและแสงสะท้อนมากขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไอดอกซูริดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

 ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไอดอกซูริดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาของยากับพยาธิสภาพปัจจุบัน

ยาไอดอกซูริดีนอาจมีปฏิกิริยากับพยาธิสภาพของคุณในปัจจุบัน โดยอาจทำให้อาการทรุดลง หรือทำให้ประสิทธิผลของยาเปลี่ยนแปลง ควรรายงานให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพปัจจุบันของคุณอยู่เสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไอดอกซูริดีนสำหรับผู้ใหญ่

โรคเริม

  • ใช้เป็นสารละลาย 0.1% หยอดตาครั้งละ 1 หยดลงในทุกๆชั่วโมง และลดลงเป็นทุก 2 ชั่วโมง หรือ 4 ครั้งต่อวัน อย่างน้อย 7 วัน

ขนาดยาไอดอกซูริดีนสำหรับเด็ก

 ไม่มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากอาจเป็นอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของยาก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยาไอดอกซูริดีน

  • ยาหยอดตา 0.1%

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด:

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมรับประทานยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Idoxuridine (Ophthalmic). https://www.drugs.com/mmx/idoxuridine.html. Accessed 31 December 2016.

Idoxuridine ophthalmic. https://www.drugs.com/mtm/idoxuridine-ophthalmic.html. Accessed 31 December 2016.

Idoxuridine Ophthalmic. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601062.html#why. Accessed 31 December 2016.

Idoxuridine. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00249. Accessed 31 December 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

โรคเริมที่ปาก เกิดจากอะไรและดูแลได้อย่างไรเมื่ออาการกำเริบ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา