backup og meta

ลิปิเตอร์® (Lipitor®)

ข้อบ่งใช้

ลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน) ใช้สำหรับ

ลิปิเตอร์® (Lipitor®) อยู่ในกลุ่มของยายังยั้งเอ็นไซม์เอชเอ็มจี ซีโอเอ รีดัคเตส (HMG CoA reductase inhibitors) หรือสแตติน (statins) ยาอะโทรวาสแตตินจะลดระดับของคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ภายในเลือด ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)

ลิปิเตอร์® ใช้เพื่อรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง และใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หรือภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ลิปิเตอร์®ใช้กับผู้ใหญ่และเด็กที่อายุอย่างน้อย 10 ปี

วิธีการใช้ลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน)

ใช้ลิปิเตอร์®ตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยาที่กำหนด ในบางครั้งแพทย์อาจจะเปลี่ยนขนาดยาเพื่อให้แน่ใจว่า คุณได้รับผลที่ดีที่สุด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่แนะนำ

ลิปิเตอร์®มักจะรับประทานวันละครั้ง พร้อมกับอาหารหรือแยกต่างหาก ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน อย่าหักเม็ดลิปิเตอร์®ก่อนใช้

การเก็บรักษาลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน)

ลิปิเตอร์®ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ลิปิเตอร์®บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งลิปิเตอร์®ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน)

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของลิปิเตอร์® หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

คุณอาจจะจำเป็นต้องหยุดใช้ยานี้ในเวลาสั้นๆ หากคุณมีอาการ

  • อาการชักที่ควบคุมไม่ได้
  • ภาวะอิเล็กโทรไลท์ไม่สมดุล (electrolyte imbalance) เช่น ระดับโพแทสเซียมภายในเลือดสูงหรือต่ำ
  • ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง
  • การติดเชื้อหรืออาการป่วยอย่างรุนแรง
  • รับการผ่าตัดหรือการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน

ขณะที่กำลังใช้ลิปิเตอร์® คุณอาจจะต้องรับการตรวจเลือดเป็นประจำ

ลิปิเตอร์®เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษา ที่มีทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนักควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ลิปิเตอร์®สามารถทำให้เกิดสภาวะที่ส่งผลให้เกิดการสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle tissue) ส่งผลให้ไตวาย สภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคไต หรือมีภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) ที่ควบคุมได้ไม่ดี

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ลิปิเตอร์®จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน)

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • ท้องร่วง
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหาก

  • ปัญหาเกี่ยวกับไต – ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด มีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยล้าหรือหายใจลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ – คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน คัน รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีอ่อน ดีซ่าน (ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง)
  • สัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง – มีอาการชาหรืออ่อนแรงกะทันหัน (โดยเฉพาะที่ด้านหนึ่งของร่างกาย) ปวดหัวอย่างรุนแรง พูดไม่ชัด มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวหรือการมองเห็น

ในกรณีหายาก ลิปิเตอร์®สามารถทำให้เกิดสภาวะที่ส่งผลให้เกิดการสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย ที่ส่งผลให้ไตวาย โปรดติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อที่สาเหตุไม่ได้ อาการกดเจ็บ หรืออาการอ่อนแรง โดยเฉพาะหากคุณเป็นไข้ เหนื่อยล้าผิดปกติ และปัสสาวะสีคล้ำผิดปกติร่วมด้วย

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ลิปิเตอร์®อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรา
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด
  • ยาลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ยาสำหรับหัวใจ
  • ยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ลิปิเตอร์®อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ลิปิเตอร์®อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เคยเป็นโรคตับ
  • เคยเป็นโรคไต
  • เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA หรือ mini-stroke)
  • ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ (thyroid disorder)
  • หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 2 แก้ว

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดลิปิเตอร์® (ยาอะทอร์วาสแตติน) สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด 

  • ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก. ถึง 80 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นที่แนะนำสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจคือ 10 มก. ถึง 80 มก. รับประทานวันละครั้ง สามรถให้ลิปิเตอร์®
  • ในช่วงเวลาไหนของวันก็ได้โดนไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
  • การปรับขนาดยาควรเว้นช่วงระยะเวลาระหว่าง 2 ถึง 4 สัปดาห์ขึ้นไป

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

  • ขนาดยาเริ่มต้น 10 20 หรือ 40 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • แนะนำขนาดยาเริ่มต้นที่ 40 มก. สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลวมากกว่า 45 %
  • การปรับขนาดยาควรเว้นช่วงระยะเวลาระหว่าง 2 ถึง 4 สัปดาห์ขึ้นไป .
  • ขนาดยาปกติ 10 ถึง 80 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดลิปิเตอร์®(ยาอะทอร์วาสแตติน) สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจากยีนในตระกูลเฮเทอโรไซกัส (Heterozygous Familial Hypercholesterolemia)

อายุ 10 ถึง 17 ปี 10 มก. ต่อวัน (ขนาดยาสูงสุดคือ 20 มก. ต่อวัน) ควรปรับขนาดยาโดยเว้นช่วงระยะเวลามากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดเคลือบฟิล์มอะทอร์วาสแตติน แคลเซียม ไตรไฮเดรต (atorvastatin calcium trihydrate) 10 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lipitor®. https://www.drugs.com/lipitor.html. Accessed July 12, 2017

Lipitor®. http://www.emedicinehealth.com/drug-atorvastatin/article_em.htm. Accessed July 12, 2017

LIPITOR. https://www.rxlist.com/lipitor-drug.htm. Accessed 19 August 2019.

Lipitor. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3330/lipitor-oral/details. Accessed 19 August 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สมุนไพรลดไขมันในเลือด ประโยชน์จากการแพทย์ทางเลือก

วิธีลดคอเลสเตอรอล มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา