backup og meta

เป็ปโต-บิสมอล® (Pepto-Bismol®)

ข้อบ่งใช้

ยา เป็ปโต-บิสมอล®  (บิสมัท ซับซาลิไซเลต) ใช้สำหรับ

ยาเป็ปโต-บิสมอล®  (Pepto-Bismol®) ใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องร่วงขณะเดินทาง (travelers’ diarrhea) อาการท้องร่วง และท้องไส้ปั่นป่วน

ยาเป็ปโต-บิสมอล® อาจจะใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีการใช้ยา เป็ปโต-บิสมอล®  (บิสมัท ซับซาลิไซเลต)

ใช้ยาตามที่กำหนดบนฉลากยาหรือตามที่แพทย์กำหนด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ

อย่าใช้ยามากกว่า 8 ครั้งภายในหนึ่งวัน (24 ชั่วโมง)

ควรเขย่ายาให้ดีก่อนตวงยา ควรตวงยาด้วยถ้วยหรือช้อนสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนโต๊ะธรรมดา หากคุณไม่มีอุปกรณ์สำหรับตวงยา โปรดขอจากเภสัชกร

ยาเม็ดสำหรับเคี้ยวนั้น ควรจะเคี้ยวให้ละเอียดก่อน แล้วจึงค่อยกลืน

ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) สามารถทำให้ลิ้นเป็นสีดำหรือคล้ำขึ้นได้ ผลข้างเคียงนี้ไม่มีอันตราย

ยานี้ยังสามารถทำให้ผลการตรวจทางแพทย์ การสแกนไทรอยด์ หรือการเอ็กซเรย์กระเพาะอาหารบางชนิดนั้นผิดปกติได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ที่รักษาคุณทราบว่า คุณเพิ่งใช้ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลตเมื่อไม่นานมานี้

การเก็บรักษายา เป็ปโต-บิสมอล® (บิสมัท ซับซาลิไซเลต)

ยาเป็ปโต-บิสมอล® ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเป็ปโต-บิสมอล® บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเป็ปโต-บิสมอล® ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเป็ปโต-บิสมอล® (บิสมัท ซับซาลิไซเลต)

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาเป็ปโต-บิสมอล® หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวาน โรคเกาต์ (gout) โรคข้ออักเสบ (arthritis) เป็นไข้ มีเสมหะในอุจจาระ โรคคาวาซากิ (Kawasaki syndrome) ปัญหาเกี่ยวกับไต โรคอีสุกอีใส โรคไข้หวัดใหญ่ หรือปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ (ภายในเด็ก) หรือหากคุณมีภาวะขาดน้ำ (dehydrated)

อย่าใช้ยานี้ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) แผลที่กำลังมีเลือดออก อุจจาระสีดำหรือสีเลือด หรือโรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand disease)

ไม่ควรใช้ยานี้กับเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นไข้ โดยเฉพาะหากเด็กนั้นยังมีอาการของไข้หวัดใหญ่หรือโรคอีสุกอีใสร่วมด้วย ยาซาลิไซเลตนั้นสามารถทำให้เกิดสภาวะที่รุนแรง และในบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อย่าง กลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome) ภายในเด็ก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเป็ปโต-บิสมอล® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเป็ปโต-บิสมอล®  (บิสมัท ซับซาลิไซเลต)

หยุดใช้ยานี้ และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • สูญเสียการได้ยิน หรือมีเสียงอื้อในหู
  • ท้องร่วงนานกว่า 2 วัน
  • อาการที่กระเพาะอาหารรุนแรงขึ้น

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • ท้องผูก
  • อุจจาระสีคล้ำ
  • ลิ้นเป็นสีดำหรือสีคล้ำขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเป็ปโต-บิสมอล® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่าง คูมาดิน (Coumadin) หรือแจนโทเวน (Jantoven)
  • ยาอินซูลินหรือยาสำหรับโรคเบาหวานแบบรับประทาน
  • ยาโพรเบเนซิด (Probenecid) อย่าง เบเนมิด (Benemid)
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) อย่าง ดอร์ริกซ์ (Doryx) ออราซี (Oracea) เพอร์ริโอสแตท (Periostat) หรือไวบรามัยซิน (Vibramycin) ยามิโนไซคลีน (minocycline) อย่าง ไดนาซิน (Dynacin) ไมโนซิน (Minocin) หรือโซโลดีน (Solodyn) หรือยาเตตราไซคลีน (tetracycline) อย่างอะลาเตต (Ala-Tet) บรอดสเปค (Brodspec) แพนมัยซิน (Panmycin) ซูมัยซิน (Sumycin) หรือเตตราแคป (Tetracap)
  • ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาแอลทีเพลส (alteplase) อย่าง แอคทิวาสค์ (Activase) ยาทีเนคทีเพลส (tenecteplase) อย่าง ทีเอ็นเคเอส (TNKase) ยายูโรไคเนส (urokinase) อย่าง แอบโบไคเนส (Abbokinase)
  • ยาซาลิไซเลต (salicylates) อื่นๆ เช่น ยาแอสไพริน ยาแค็ปเล็ตแก้ปวดหัวนูพริน (Nuprin Backache Caplet) ยาคาโอเพคเตท (Kaopectate) ยานีรีลีฟว์ (KneeRelief) ยาแพมพริน แครมป์ ฟอร์มูล่า (Pamprin Cramp Formula) ยาเป็ปโต-บิสมอล®  ยาไตรโคซอล (Tricosal) ยาไตรลิเซต (Trilisate) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเป็ปโต-บิสมอล® อาจมีปฏิกิริยากับอาหา รหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเป็ปโต-บิสมอล® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • เป็นไข้
  • มีมูกในอุจจาระ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคเกาต์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเป็ปโต-บิสมอล® (บิสมัท ซับซาลิไซเลต) สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการอาหารไม่ย่อย

  • 524 มก. รับประทานทุกๆ 30-60 นาที เท่าที่จำเป็น ไม่ควรเกิน 8 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • อีกทางเลือกหนึ่งคือ 1048 มก.-1050 มก. อาจรับประทานทุกๆ ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 4 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการท้องร่วงจากการท่องเที่ยว

  • 524 มก. รับประทานทุกๆ 30-60 นาที เท่าที่จำเป็น ไม่ควรเกิน 8 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • อีกทางเลือกหนึ่งคือ 1048 มก.-1050 มก. อาจรับประทานทุกๆ ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 4 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการท้องร่วง

  • 524 มก. รับประทานทุกๆ 30-60 นาที เท่าที่จำเป็น ไม่ควรเกิน 8 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • อีกทางเลือกหนึ่งคือ 1048 มก.-1050 มก. อาจรับประทานทุกๆ ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 4 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง

ขนาดยาเป็ปโต-บิสมอล® (บิสมัท ซับซาลิไซเลต) สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการท้องร่วง

อาการท้องร่วงแบบไม่เฉพาะเจาะจง

  • อายุน้อยกว่า 3 ปี ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • อายุ 3-6 ปี 87 มก. ทุกๆ 30 นาที-1 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น
  • อายุ 6-9 ปี 175 มก. ทุกๆ 30 นาที-1 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น
  • อายุ 9-12 ปี 262 มก. ทุกๆ 30 นาที-1 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการท้องร่วง เรื้อรัง

อาการท้องร่วงในทารกแบบเรื้อรัง

  • อายุ 2-24 เดือน 44 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • อายุ 24-48 เดือน 87 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • อายุ 48-70 เดือน 175 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pepto-Bismol®. https://www.drugs.com/mtm/pepto-bismol.html. Accessed September 13, 2017

Pepto-Bismol®. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-2842/pepto-bismol-oral/details. Accessed September 13, 2017

What Is Pepto-Bismol (Bismuth Subsalicylate)?. https://www.everydayhealth.com/drugs/pepto-bismol. Accessed November 18, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

ริดสีดวงคนท้อง ปัญหาที่แก้ไขได้ระหว่างตั้งครรภ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา