backup og meta

ไพริดอกซีน (Pyridoxine) หรือ วิตามินบี 6 (Vitamin B6)

ไพริดอกซีน (Pyridoxine) หรือ วิตามินบี 6 (Vitamin B6)

ยา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6 โดยทั่วไปแล้วใช้เพื่อรักษาโรคโลหิตจางแต่กำเนิด ที่เรียกว่าโรคเลือดจางชนิดซิเดโรบลาส (Sideroblastic Anemia) ภาวะขาดไพริดอกซีน ระดับสารโฮโมซีสทีนในเลือดสูง และอาการชักบางชนิดในเด็กแรกเกิด

ข้อบ่งใช้

ยา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6 ใช้สำหรับ

ยา ไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 โดยทั่วไปแล้วใช้เพื่อรักษาโรคโลหิตจางแต่กำเนิด ที่เรียกว่าโรคเลือดจางชนิดซิเดโรบลาส (Sideroblastic Anemia) ภาวะขาดไพริดอกซีน ระดับสารโฮโมซีสทีนในเลือดสูง และอาการชักบางชนิดในเด็กแรกเกิด

วิธีการใช้ยา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6

  • รับประทานคู่กับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก โดยปกติคือวันละครั้ง
  • หากคุณใช้ยาแคปซูลแบบออกฤทธิ์นาน หรือยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน ให้กลืนยาไปทั้งเม็ด ห้ามบดหรือเคี้ยวยาแคปซูล การทำแบบนั้นจะทำให้ตัวยาออกฤทธิ์มาทั้งหมดในทีเดียว และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง
  • หากคุณใช้ยาแบบผง ให้ผสมกับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม แล้วคนให้ทั่ว ดื่มยาทันที ห้ามเตรียมยาเผื่อไว้ล่วงหน้า

การเก็บรักษายา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6

ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไพริดอกซีน/วิตามินบี 6 บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 ลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6

ปรึกษากับแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากหากคุณต้องการจะให้นมบุตร หรือกำลังให้นมบุตรควรใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดเท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นๆ รวมทั้งยาที่สามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น สมุนไพร หรือการแพทย์ทางเลือก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6นั้นจะปลอดภัยกับผู้ตั้งครรภ์และให้นมบุตร หากรับประทานในขนาดที่ไม่เกินกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน

หลีกเลี่ยงการใช้ยาในปริมาณมากขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร มียาแบบพิเศษที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้ได้ขณะตั้งครรภ์ แต่ไม่ควรใช้ยาในระยะยาว หรือใช้ยาในปริมาณมากโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ออาการชักในเด็กทารก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6

สำหรับบางคน ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดหัว เป็นเหน็บ ง่วงซึม และผลข้างเคียงอื่นๆ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

  • การรับประทานวิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน) ร่วมกับยาแอสไพริน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) หรือเฮพาริน (heparin) ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drug) เช่น ยาโคลพิโดเกรล (clopidogrel) และยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (naproxen) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้
  • วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน) อาจส่งผลต่อระดับของน้ำตาลในเลือด หากจะใช้ยาที่ส่งผลต่อระดับของน้ำตาลในเลือด ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง
  • ยา ไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 อาจลดระดับความดันโลหิต ผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง
  • การรับประทานยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 ร่วมกับอะมิโอดาโรน (Amiodarone) อาจเพิ่มโอกาสในการถูกแดดเผา แผลพุพอง หรือผดผื่นบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด
  • ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 อาจเพิ่มความเร็วของร่างกายในการเปลี่ยนรูปยาฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) เฟนิโทอิน (phenytoin) และเลโวโดปา (levodopa) ทำให้อาจลดประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ได้
  • ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 ส่งผลกระทบกับการดูดซึมและประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (antibiotic tetracycline)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไพริดอกซีนหรือวิตามินบี 6 อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไพริดอกซีน/วิตามินบี 6 อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคต่อไปนี้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา ไพริดอกซีน หรือ วิตามินบี 6 สำหรับผู้ใหญ่

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

ผู้ชาย

  • น้อยกว่า 50 ปี 1.3 มก./วัน
  • มากกว่า 50 ปี 1.7 มก./วัน

ผู้หญิง

  • น้อยกว่า 50 ปี 1.3 มก./วัน
  • มากกว่า 50 ปี 1.5 มก./วัน
  • ผู้ตั้งครรภ์ 1.9 มก./วัน

ผู้ใหญ่ที่มีภาวะขาดวิตามินบี6 (ไพริดอกซีน)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 2.5-25 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • ขนาดยาปกติ รับประทาน 1.5-2.5 มก. ต่อวัน

ภาวะขาดวิตามินบี6 (ไพริดอกซีน) ในผู้หญิงที่กำลังใช้ยาคุมกำเนิด รับประทาน 25-30 มก. ต่อวัน

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome) รับประทาน 50-100 มก. ต่อวัน

โรคเลือดจางชนิดซิเดโรบลาสที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary sideroblastic anemia)

  • ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 200-600 มก. ต่อวัน
  • หลังจากอาการดีขึ้น รับประทาน 30-50 มก. ต่อวัน

โรคนิ่วในไต

  • รับประทาน 25-500 มก. ทุกวัน

สำหรับการรักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Tardive dyskinesia) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับอาการทางจิตในระยะยาว และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่บังคับไม่ได้ของกล้ามเนื้อ เช่นที่ลิ้น ริมฝีปาก ใบหน้า กราม แขน ขา นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า

  • 100 มก. ต่อวัน และเพิ่มต่อสัปดาห์ได้สูงถึง 400 มก. ต่อวัน แบ่งเป็นยาสองมื้อ

ป้องกันโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular degeneration)

  • 50 มก. ทุกวัน ร่วมกับวิตามินบี12 หรือไซยาโนโคบาลามิน (cyanocobalamin) 1000 ไมโครกรัมและกรดโฟลิค 2500 ไมโครกรัม

อาการคลื่นไส้ขณะตั้งครรภ์

  • ยาไพริดอกซีน 10-25 มก. สามถึงสี่ครั้งต่อวัน อีกทางเลือกหนึ่งคือยาออกฤทธิ์นาน (sustained-release pyridoxine) 75 มก. ร่วมกับวิตามินบี12 (ไซยาโนโคบาลามิน) 12 ไมโครกรัม กรดโฟลิค 1 มก. และแคลเซียมหรือเพรเมสิสอาร์เอ็กซ์ (PremesisRx) 200 มก. ทุกวัน เป็นสูตรที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับอาการคลื่นไส้ขณะตั้งครรภ์

ขนาดยาไพริดอกซีนวิหรือตามินบี 6 สำหรับเด็ก

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

  • อายุไม่เกิน 6 เดือน 0.1 มก. วัน
  • 6-12 เดือน 0.3 มก./วัน
  • 1-3 ปี 0.5 มก./วัน
  • 4-8 ปี 0.6 มก./วัน
  • 9-13 ปี 1 มก./วัน
  • 14-18 ปี (ชาย) 1.3 มก./วัน (หญิง) 1.2 มก./วัน

อาการชักจากไพริดอกซีน

  • 10-100 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อและฉีดเข้าหลอดเลือด

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • วิตามินบี6 พบได้ในยาวิตามินรวม ได้แก่ ยาเม็ดแบบเคี้ยวสำหรับเคี้ยว และยาเหลวแบบหยด ยาวิตามินบีรวม (B complex vitamins) หรือแบบขายแยก มีอยู่หลายรูปแบบทั้งยาเม็ด ซอฟต์เจล และยาอม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vitamin B6 (Pyridoxine). http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-b6-pyridoxine. Accessed September 22, 2016.

Pyridoxine (Vitamin b6). http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-934-pyridoxine%20vitamin%20b6.aspx?activeingredientid=934&. Accessed September 22, 2016.

Vitamin B6. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/vitamin-b6/background/hrb-20058788. Accessed September 22, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของวิตามินบี สำหรับเด็กมีอะไรบ้าง ทำไมจึงจำเป็นต่อร่างกาย


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา