backup og meta

กลูโคซามีน (Glucosamine)

กลูโคซามีน (Glucosamine)

กลูโคซามีน (Glucosamine) เป็นสารเคมีที่พบในร่างกายมนุษย์ ซึ่งร่างกายใช้สารนี้เพื่อผลิตสารเคมีต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมสร้างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูโคซามีน มักใช้สำหรับรักษาโรคข้อเสื่อม ต้อหิน ภาวะน้ำหนักลดผิดปกติ ปวดข้อต่อจากการใช้ยา

ข้อบ่งใช้

กลูโคซามีน ใช้สำหรับ

กลูโคซามีน (Glucosamine) ใช้สำหรับรักษาโรคข้อเสื่อม ต้อหิน ภาวะน้ำหนักลดผิดปกติ ปวดข้อต่อจากการใช้ยา กระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ ปวดกราม ปวดข้อต่อรวมถึงเข่า ปวดหลัง โรคปลอกประสาทอักเสบชนิดเอ็มเอส หรือโรคเอ็มเอส (Multiple Sclerosis) และการติดเชื้อเอชไอวี

กลูโคซามีนยังเป็นสารที่มีอยู่ในยานวดบางชนิด ใช้เพื่อควบคุมอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ ครีมเหล่านี้มักจะมีส่วนผสมของการบูร และส่วนผสมอื่นนอกเหนือจากกลูโคซามีนด้วย

การทำงานของ กลูโคซามีน

กลูโคซามีนเป็นสารเคมีที่พบในร่างกายมนุษย์ ร่างกายใช้สารนี้เพื่อผลิตสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และของเหลวความหนาแน่นสูงรอบ ๆ ข้อต่อ

ข้อต่อจะมีของเหลวและกระดูกอ่อนอยู่โดยรอบ มีหน้าที่ช่วยกันกระแทก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนจะกร่อนและบางลง ส่งผลให้กระดูกข้อต่อเกิดการเสียดสีกันมากขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บและเมื่อยล้า

นักวิจัยเชื่อว่า การใช้กลูโคซามีนเสริม อาจเพิ่มการสร้างกระดูกอ่อนและของเหลวรอบ ๆ ข้อต่อ และช่วยป้องกันความเสียหายต่อข้อต่อและอวัยวะโดยรอบได้

กลูโคซามีนอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ กลูโคซามีน

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกรหาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง หรือสมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากกรดไขมันโอเมก้า 6 หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเรสเตอรอลสูง โรคไต มีแผลในกระเพาะอาหาร โรคซึมเศร้า โรคผิวหนัง หรือผู้ที่จำเป็นต้องจำกัดการรับประทานโพแทสเซียม
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะภูมิแพ้อาหารทะเล

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมโอเมก้า 6 ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กลูโคซามีนระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ

การผ่าตัด

หยุดใช้กลูโคซามีนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากกลูโคซามีนอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และอาจขัดขวางการควบคุมน้ำตาลในเลือด ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กลูโคซามีน

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของการใช้กลูโคซามีน มีดังนี้

ผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อย มีดังนี้

  • ง่วงซึม
  • นอนไม่หลับ
  • อาการทางผิวหนัง
  • ปวดศีรษะ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูโคซามีน อาจทำมาจากเปลือกของสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาหารทะเลเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง กั้ง ปู ปลาหมึก หอย จึงควรใช้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ เพราะอาจทำให้เกิดอการภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ ผื่นผิวหนัง มีอาการบวมที่ลำคอ ริมฝีปาก และลิ้น คัดจมูก ปวดท้อง อาเจียน ได้

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กลูโคซามีนอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง รวมถึงสมุนไพรด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือยาคูมาดิน (Coumadin)

ยาวาร์ฟารินใช้เพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด รายงานจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การใช้ยานี้ร่วมกับกลูโคซามีนจะเพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการฟกช้ำ หรือเลือดออก ซึ่งอาจถึงขั้นรุนแรงได้ คุณจึงไม่ควรใช้กลูโคซามีนหากคุณกำลังใช้ยาวาร์ฟาริน

ยารักษามะเร็ง (ยาเคมีบำบัดที่ยับยั้งไมโตซิส)

ยารักษามะเร็ง เช่น ยาอีโทโพไซด์ (Etoposide) ยาเทนิโพไซด์ (Teniposide) ยาด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin) ยาเอเดรียไมซิน (Adriamycin) ออกฤทธิ์โดยลดความเร็วในการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง แต่กลูโคซามีนอาจทำให้เซลล์เนื้องอกแบ่งตัวเร็วขึ้น การใช้กลูโคซามีนร่วมกับยารักษามะเร็งจึงอาจลดประสิทธิภาพของยากลุ่มยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้

ยาอะซีตามิโนเฟน (Acetaminophen) 

บางคนเชื่อว่า การใช้ยากลูโคซามีนร่วมกับยาอะซีตามิโนเฟน อาจส่งผลต่อฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน ไม่ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด

ยารักษาเบาหวาน (Anti-diabetes Drugs)

บางคนเชื่อว่า กลูโคซามีนอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และอาจทำให้ยารักษาเบาหวานมีประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า การใช้กลูโคซามีนอาจไม่ได้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และอาจไม่ได้ขัดขวางฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน แต่เพื่อความปลอดภัย หากคุณใช้กลูโคซามีนและเป็นเบาหวาน ก็ควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

ตัวอย่างยารักษาเบาหวาน เช่น

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกลูโคซามีน

สำหรับผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคที่กระดูก

รับประทานยากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ครั้งละ 480 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน หรือรับประทานยาครั้งละ 750 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาปัญหาการไหลเวียนโลหิต 

รับประทานยาในขนาดยา 48 มิลลิกรัม 72 มิลลิกรัม หรือ 96 มิลลิกรัม

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาคอเลสเตอรอลสูง

รับประทานยากลูโคซามีน 1,500 มิลลิกรัม ยากลูโคซามีนซัลเฟต 1,527 มิลลิกรัม (เทียบเท่ากับยากลูโคซามีน 1,200 มิลลิกรัม) หรือยากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 750 มิลลิกรัม (เทียบเท่ากับยากลูโคซามีน 625 มิลลิกรัม) ทุกวัน ไม่เกิน 14 สัปดาห์

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อม

รับประทานยากลูโคซามีนซัลเฟต 300-500 มิลลิกรัม หรือยากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 480 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน ไม่เกิน 12 สัปดาห์

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

รับประทานยากลูโคซามีน 1500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน

อาจให้ยากลูโคซามีนซัลเฟตชนิดครีม 3 มิลลิลิตรหรือยากลูโคซามีน 3 มิลลิลิตรผ่านผิวหนังโดยใช้ประจุไฟฟ้า (Iontophoresis) ผลักตัวยาเข้าสู่ผิวหนัง หรือนวดบนผิว 15 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

รับประทานยากลูโคซามีนซัลเฟต 1000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม (โดยทั่วไป)

ใช้ยากลูโคซามีน กลูโคซามีนซัลเฟต หรือกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อวันในรูปแบบยาเม็ด แคปซูลหรือผงผลึก ไม่เกิน 18 เดือน

อาจใช้ยากลูโคซามีนไม่เกิน 400 มิลลิกรัมฉีดเข้าที่ข้อต่อ เส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อในระยะเวลาที่ต่างกัน

สำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

รับประทานยากลูโคซามีน 420 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 14 วัน

สำหรับเด็ก

ไม่แนะนำให้ใช้กลูโคซามีนในเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลข้างเคียงในคนกลุ่มนี้อย่างเพียงพอ

รูปแบบของกลูโคซามีน

กลูโคซามีน อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูโคซามีน ชนิด 500 มิลลิกรัม 750 มิลลิกรัม 1,000 มิลลิกรัม และขนาด 1,500 มิลลิกรัม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Glucosamine. https://www.drugs.com/cdi/glucosamine.html. Accessed November 10, 2016

Glucosamine. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/glucosamine/related-terms/hrb-20059572. Accessed November 10, 2016

Glucosamine. https://medlineplus.gov/druginfo/natural/807.html. Accessed November 10, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2021

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาชนิดไหนที่ช่วยอาการปวดกระดูกและข้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ ส่วนผสมอันตราย ที่ห้ามรับประทานพร้อมกัน เด็ดขาด!


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา