เมื่อพูดถึง ยาต้านฮิสตามีน หลายคนก็อาจจะงง ไม่รู้จัก แต่ก็อาจจะร้องอ๋อในทันที หากเราบอกว่า มันคือ ยาแก้แพ้ ที่แพทย์หรือเภสัชกรมักจะสั่งจ่ายให้ เวลาที่เรามีอาการแพ้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับยาต้านฮิสตามีน ว่ามีการทำงานอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง มาฝากทุกคนกันค่ะ
[embed-health-tool-heart-rate]
สารฮิสตามีนคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับภูมิแพ้
สารฮิสตามีน (Histamine) คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้น มีส่วนสำคัญในการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ขยายหลอดเลือด อีกทั้งทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และกลายมาเป็น อาการแพ้ อย่างที่เราพบเห็นกันทั่วไป
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เช่น ฝุ่นควัน ขนสัตว์ หรือเกสรดอกไม้ ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะตอบสนองโดยการหลั่งสารฮิสตามีนออกมา เพื่อจัดการกับสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น สารฮิสตามีนนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายบวมขึ้น จนนำไปสู่อาการแพ้ต่าง ๆ เช่น คัดจมูก จาม หรือลมพิษ
- คันที่ผิวหนัง
- ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ
- น้ำมูกไหล
- เหนื่อยล้า
หากสารต้านฮิสตามีนมีมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงได้
ยาต้านฮิสตามีน ทำงานยังไง
จุดประสงค์หลักของยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) คือการยับยั้งหรือลดการทำงานของสารฮิสตามีน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
ยาต้านฮิสตามีน รุ่นที่ 1
มีฤทธิ์ระงับประสาท ทำงานโดยการผูกเข้ากับตัวรับสารฮิสตามีน (histamine receptor) ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับสารฮิสตามีนได้ จึงไม่เกิดอาการแพ้ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 1 นี้อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหน่วยรับความรู้สึก และทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้
นอกเหนือจากรักษาอาการแพ้แล้ว ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 1 ยังอาจใช้เพื่อบรรเทาอาการ ดังต่อไปนี้
- ไข้ละอองฟาง
- ลมพิษ ผื่นผิวหนัง
- น้ำมูกไหล
- โรคหวัด
- แมลงสัตว์กัดต่อย
- เมารถเมาเรือ
- วิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2
ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 ไม่มีฤทธิ์ระงับประสาท และไม่ส่งผลต่อการทำงานของหน่วยรับความรู้สึก ทำให้ไม่เกิดอาการง่วงซึม ทั้งยังไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น จึงถูกจัดว่าเป็น ยาแก้แพ้ ที่ปลอดภัยกว่ายาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 1
นอกเหนือจากรักษาอาการแพ้แล้ว ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 ยังอาจใช้เพื่อบรรเทาอาการ ดังต่อไปนี้
- แสบร้อนกลางอก
- กรดไหลย้อน
- แผลในกระเพาะอาหาร
- ปวดศีรษะ
- อาการแพ้อย่างรุนแรง
- อาการปวดกระดูกบางประเภท
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านฮิสตามีน
แม้ยาต้านฮิสตามีนจะจัดว่าเป็น ยาแก้แพ้ ที่ค่อนข้างปลอดภัย และใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การใช้ยาต้านฮิสตามีนก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ง่วงซึม
- ปากแห้ง
- วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อยู่ไม่สุข
- มองเห็นไม่ชัด
- สับสน
คุณไม่ควรกินยาต้านฮิสตามีนที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมก่อนการขับรถ หรือการทำงานที่ต้องใช้สติสัมปชัญญะ นอกจากนี้ หากคุณมีสภาวะบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ไต หรือตับ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาต้านฮิสตามีน