backup og meta

อะดาพาลีน (Adapalene)

อะดาพาลีน (Adapalene)

ข้อบ่งใช้

ยา อะดาพาลีน ใช้สำหรับ

ยาอะดาพาลีน (Adapalene) ใช้เพื่อรักษาอาการสิวโดยออกฤทธิ์ด้วยการลดการอักเสบและการบวมของผิวหนัง พร้อมฟื้นฟูสภาพเซลล์ผิว ควบคู่ไปกับการลดจำนวนและความรุนแรงของสิว ยาอะดาพาลีนจัดเป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoids)

วิธีการใช้ยาอะดาพาลีน

ใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด ควรอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ห้ามรับประทานยาอะดาพาลีน ยานี้ใช้เฉพาะกับผิวหนังเท่านั้น อย่าให้ยาเข้าปาก จมูก หรือดวงตา (อาจทำให้แสบได้)

หากยาเข้าในบริเวณเหล่านี้ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ห้ามทายาลงบนผิวหนังที่มีรอยบาด รอยถลอก รอยผื่นผิวหนังอักเสบ หรือบริเวณผิวหนังที่บาดเจ็บ

ห้ามทายาลงบนผิวที่โดนแดดเผา

ล้างมือก่อนและหลังจากใช้ยา

ทำความสะอาดบริเวณที่มีอาการและเช็ดให้แห้งก่อนทายา

ทายาบางๆ ลงบนบริเวณผิวหนังที่มีอาการแล้วนวดเบาๆ

การเก็บรักษายาอะดาพาลีน

ยาอะดาพาลีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอะดาพาลีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอะดาพาลีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อะดาพาลีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาอะดาพาลีน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

โปรดแจ้งให้ผู้ดูแลสุขภาพทั้งหมดของคุณทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์

ผิวของคุณอาจจะดูแย่ลงก่อนที่อาการจะดีขึ้น

คุณอาจจะโดนแดดเผาได้ง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด โคมไฟแสงอาทิตย์ และเตียงอาบแดด ควรทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันและสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันจากแสงแดด

สภาวะอากาศบางอย่างอาจจะทำให้ผิวระคายเคืองได้ โปรดปรึกษากับแพทย์

อย่าทำการแว็กซ์ขนบริเวณที่มีอาการเพราะจะทำให้ผิวระคายเคืองได้

การใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวอื่นๆ ขณะที่กำลังใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น

โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาอื่นหรือผลิตภัณฑ์อื่นกับผิวหนัง

อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเห็นผลของยาอย่างเต็มที่

ยานี้อาจเป็นอันตรายหากกินเข้าไป หากคุณกินยาอะดาพาลีนโปรดติดต่อแพทย์หรือศูนย์พิษวิทยาทันที

อย่าใช้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีโดยไม่ปรึกษากับแพทย์ก่อน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ คุณอาจจะต้องปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังให้นมบุตร คุณจะต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อลูกของคุณ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาอะดาพาลีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหรือรับการรักษาหากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

  • สัญญาณของอาการแพ้ เช่น ผดผื่น ลมพิษ คัน รอยแดง บวม แผลพุพอง หรือผิวลอกโดยมีหรือไม่มีไข้ หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอกหรือลำคอ หายใจติดขัด เสียงแหบผิดปกติ หรือมีอาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลำคอ
  • อาการระคายเคืองที่รุนแรงมากบริเวณที่ทายาอะดาพาลีน

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะดาพาลีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะดาพาลีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอะดาพาลีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอะดาพาลีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาสิว

ขนาดยาปกติ ทายาบางๆ ลงบริเวณที่มีอาการวันละครั้งก่อนนอน

ขนาดยาอะดาพาลีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาสิว

อายุ 12 ปีขึ้นไป

ขนาดยาปกติ ทายาบางๆ ลงบริเวณที่มีอาการวันละครั้งก่อนนอน

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาทาเฉพาะที่

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Adapalene. https://www.drugs.com/cdi/adapalene.html. Accessed September 14, 2017

Adapalene. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-6442/adapalene-topical/details. Accessed September 14, 2017

Adapalene. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a604001.html. Accessed November 28, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา