backup og meta

โทรลามีน ซาลิไซเลต (Trolamine salicylate)

โทรลามีน ซาลิไซเลต (Trolamine salicylate)

โทรลามีน ซาลิไซเลต (Trolamine Salicylate Cream) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยและอาการปวดระดับเบาที่บริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ เช่น อาการปวดเมื่อย

ข้อบ่งใช้

ยา โทรลามีน ซาลิไซเลต ใช้สำหรับ

โทรลามีน ซาลิไซเลต (Trolamine Salicylate Cream) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยและอาการปวดระดับเบาที่บริเวณกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ เช่น อาการปวดเมื่อย อันเนื่องมาจากโรคข้ออักเสบ ปวดหลัง หรืออาการแพลง

วิธีการใช้ยาโทรลามีน ซาลิไซเลต

ยานี้ใช้ทาบนผิวหนังเท่านั้น อย่าให้ยาเข้าดวงตา จมูกหรือปาก หรือภายในช่องคลอด หากยาเข้าไปในบริเวณเหล่านี้ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมาก

ทายาลงบริเวณที่มีอาการแล้วนวดเบาๆ ไม่ควรเกินวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง หลังจากทายาแล้วควรล้างมือให้สะอาด เว้นเสียแต่ว่าจะรักษาที่บริเวณมือ

อย่าทายานี้ลงบนผิวที่มีรอยถลอกหรือระคายเคือง อย่าพันผ้าพันแผลในบริเวณที่มีอาการหรือให้บริเวณนั้นสัมผัสกับความร้อน เช่น แผ่นให้ความร้อน เนื่องจากอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดสอบถามเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณเป็นนานกว่า 7 วัน หากอาการแย่ลง หรือหากอาการกำเริบเรื่อยๆ หากคุณคิดว่าคุณอาจจะมีปัญหาสุขภาพที่รุนแรงโปรดรับการรักษาในทันที

การเก็บรักษายาโทรลามีน ซาลิไซเลต

ยาโทรลามีน ซาลิไซเลตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโทรลามีน ซาลิไซเลตบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโทรลามีน ซาลิไซเลตลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโทรลามีน ซาลิไซเลต

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาโทรลามีน ซาลิไซเลต หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณเป็นโรคหอบหืด โรคริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ

ยานี้คล้ายกับยาแอสไพริน เด็กและวัยรุ่นไม่ควรใช้ยานี้หากกำลังเป็นโรคอีสุกอีใส โรคไข้หวัดใหญ่ หรืออาการป่วยที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอื่นๆ หรือหากเพิ่งรับวัคซีนมา ในกรณีนี้ยานี้อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่หายากแต่รุนแรง

ในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยานี้ควรจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และทำให้เกิดปัญหากับการคลอดบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโทรลามีน ซาลิไซเลต

หยุดใช้ยานี้และแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ทั้งอาการแผลพุพอง ผิวลอก และอาการระคายเคืองตรงบริเวณที่ทายา คลื่นไส้อาเจียน และมีเสียงอื้อในหู

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยา โทรลามีน ซาลิไซเลต อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโทรลามีน ซาลิไซเลตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโทรลามีน ซาลิไซเลตอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโทรลามีน ซาลิไซเลตสำหรับผู้ใหญ่

ทายาลงบริเวณที่มีอาการ ไม่ควรเกินวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง

ขนาดยาโทรลามีน ซาลิไซเลตสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาครีม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Trolamine Salicylate Cream. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-18450/trolamine-salicylate-topical/details#interactions. Accessed November 22, 2017

Trolamine Salicylate Cream. https://www.drugs.com/comments/trolamine-salicylate-topical/. Accessed November 22, 2017

Trolamine salicylate https://www.drugbank.ca/drugs/DB11079

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

7 ท่าบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวด ข้ออักเสบที่มือ

ยาชนิดไหนที่ช่วยอาการปวดกระดูกและข้อ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 13/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา