backup og meta

ไซโลเมตาโซลีน (Xylometazoline Nasal)

ไซโลเมตาโซลีน (Xylometazoline Nasal)

ไซโลเมตาโซลีน  (Xylometazoline Nasal) ใช้เพื่อรักษาอาการคัดจมูกเนื่องจากโรคภูมิแพ้ อาการระคายเคืองที่ไซนัส (Sinus) หรือโรคหวัด

ข้อบ่งใช้

ยา ไซโลเมตาโซลีน(Xylometazoline Nasal) ใช้สำหรับ

ยาไซโลเมตาโซลีน (Xylometazoline Nasal) ใช้พ่นจมูกเพื่อรักษาอาการคัดจมูกเนื่องจากโรคภูมิแพ้ อาการระคายเคืองที่ไซนัส (Sinus) หรือโรคหวัด ยาไซโลเมตาโซลีนอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่อยู่ในคู่มือการใช้ยาอีกด้วย ที่ทำให้หลอดเลือดภายในโพรงจมูกหดตัวลง หลอดเลือดที่ขยายตัวนั้นสามารถทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้

วิธีการใช้ยา ไซโลเมตาโซลีน 

ใช้ยาตามที่กำหนดบนฉลากยาหรือตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่แนะนำ การใช้ยานี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่โพรงจมูกซึ่งนำไปสู่อาการคัดจมูกเรื้อรังได้ โดยมีวิธีการใช้ ดังต่อไปนี้

  • สั่งน้ำมูกเบาๆ ตั้งหัวให้ตรงแล้วค่อยๆ สอดปลายขวดยาเข้าในรูจมูกข้างหนึ่งแล้วปิดรูจมูกอีกข้าง หายใจเข้าเร็วๆ พร้อมกับค่อยๆ พ่นยาเข้าในจมูก พ่นยาซ้ำกับรูจมูกอีกข้างหนึ่ง
  • อย่าสั่งน้ำมูกเป็นเวลานานหลายนาทีหลังจากใช้ยาพ่นจมูก
  • อย่าใช้ยานี้มากกว่าวันละ 3 ครั้ง (ทุกๆ 8 ถึง 10 ชั่วโมง)
  • เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ อย่าใช้ยาพ่นจมูกนี้ร่วมกับผู้อื่น

โปรดติดต่อแพทย์หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาไปแล้ว 5 วัน

การเก็บรักษายา ไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูก

ยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูก ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาพ่นจมูกไซโลเมตาโซลีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูกลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูก

คุณไม่ควรใช้ยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูกหากคุณแพ้ต่อยานี้

โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงความปลอดภัยในการใช้ยานี้หากคุณกำลังมีสภาวะอื่นๆ โดยเฉพาะ

  • โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
  • โรคต้อหิน
  • โรคตับหรือโรคไต
  • ภาวะต่อมลูกหมากโต (Enlarged prostate) ปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ
  • โรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (thyroid disorder)

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูกจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไซโลเมตาโซลีน 

หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้จากการใช้ยาไซโลเมตาโซลีน เช่น ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ แม้ว่าความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยาไซโลเมตาโซลีนนั้นจะต่ำเมื่อใช้สำหรับพ่นจมูก แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้หากยานี้ซึมเข้าสู่กระแสเลือด คุณควรหยุดใช้ยานี้และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการ ดังนี้

  • ปวดหัว วิงเวียน ประหม่า
  • หัวใจเต้นเร็วหรือรัว.
  • มองเห็นไม่ชัด
  • รู้สึกหน้ามืดคล้ายจะหมดสติ
  • หายใจมีเสียงหวีด หายใจติดขัด
  • อาการแย่ลง

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • จมูกแห้ง แสบจมูก หรือปวดจมูก
  • จาม
  • น้ำมูกไหล

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไซโลเมตาโซลีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ตามปกติแล้วยาอื่นที่คุณรับประทานหรือฉีดนั้นมักจะไม่มีผลใดๆ ต่อยาพ่นจมูกไซโลเมตาโซลีนที่ใช้ทางจมูก แต่ยาจำนวนมากนั้นสามารถมีปฏิกิริยาต่อกันได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ หาที่หาซื้อเอง วิตามิน และสมุนไพรต่างๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไซโลเมตาโซลีน อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับพ่นจมูกอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับผู้ใหญ่

  • ใช้ยาตามที่กำหนดบนฉลากยาหรือตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่แนะนำ

ขนาดยาไซโลเมตาโซลีน สำหรับเด็ก

  • ยาพ่นจมูกไซโลเมตาโซลีนร้อยละ 0.05
  • อายุ 2 ถึง 12 ปี พ่นยา 1 ถึง 2 ครั้งเข้าในรูจมูกแต่ละข้าง ทุกๆ 8 ถึง 10 ชั่วโมง ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง ไม่ควรใช้ยานานเกิน 3 วัน

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาพ่นจมูก

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

xylometazoline nasal. https://www.drugs.com/mtm/xylometazoline-nasal.html. Accessed December 20, 2017.

What Is Xylometazoline Nasal? https://www.everydayhealth.com/drugs/xylometazoline-nasal. Accessed December 20, 2017.

Xylometazoline Spray, Non-Aerosol https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6311-9214/xylometazoline-nasal/decongestant-spray-nasal/details. Accessed December 26, 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันและ วิธี รักษา ไข้หวัดใหญ่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา