backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ไทรเพเลนนามีน (Tripelennamine)

ไทรเพเลนนามีน (Tripelennamine)

ยา ไทรเพเลนนามีน (Tripelennamine) เป็นยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ยาไทรเพเลนนามีนจะปิดกั้นผลของฮิสตามีนที่เกิดตามธรรมชาติภายในร่างกาย

ข้อบ่งใช้

ยา ไทรเพเลนนามีน ใช้สำหรับ

ยาไทรเพเลนนามีน (Tripelennamine) เป็นยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ยาไทรเพเลนนามีนจะปิดกั้นผลของฮิสตามีนที่เกิดตามธรรมชาติภายในร่างกาย

ยาไทรเพเลนนามีนใช้เพื่อรักษาอาการจาม น้ำมูกไหล คัน น้ำตาไหล ลมพิษ ผดผื่น และอาการแพ้และโรคหวัดอื่นๆ

ยาไทรเพเลนนามีนยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากในคู่มือการใช้ยา

วิธีการใช้ยา ไทรเพเลนนามีน

ใช้ยาไทรเพเลนนามีนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด หากคุณไม่เข้าใจวิธีการใช้ยาโปรดสอบถามเภสัชกร พยาบาล หรือแพทย์

รับประทานยาพร้อมกับดื่มน้ำหนึ่งแก้ว

ยาไทรเพเลนนามีนสามารถรับประทานพร้อมกับอาหารเพื่อลดอาการท้องไส้ปั่นป่วนได้

อย่าบด เคี้ยว หรือหักยาไทรเพเลนนามีนที่เป็นรูปแบบปลดปล่อยยาอย่างช้า (Sustained-release) ควรกลืนยาลงไปทั้งเม็ด ยานี้เป็นรูปแบบพิเศษที่จะปลดปล่อยยาอย่างช้าๆ ภายในร่างกาย

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับขนาดยาที่ถูกต้อง ควรตวงยาไทรเพเลนนามีนรูปแบบอีลิกเซอร์ (Elixir) โดยใช้ช้อนหรือถ้วยสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนธรรมดา หากคุณไม่มีอุปกรณ์สำหรับตวงยาโปรดสอบถามเภสัชกร

อย่าใช้ยานี้มากกว่าที่กำหนด ยารูปแบบออกฤทธิ์ปกตินั้นสามารถใช้ได้ถึงวันละ 6 ครั้ง (1 ครั้งทุกๆ 4 ชั่วโมง) ขนาดยาสูงสุด 600 มก. สำหรับผู้ใหญ่ ยาเม็ดแบบปลดปล่อยยาอย่างช้า สามารถใช้ได้วันละ 2-3 ครั้ง (ทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง) ขนาดยาสูงสุดถึง 300 มก. สำหรับผู้ใหญ่

การเก็บรักษายา ไทรเพเลนนามีน

ยาไทรเพเลนนามีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไทรเพเลนนามีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไทรเพเลนนามีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไทรเพเลนนามีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไทรเพเลนนามีน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

อย่าใช้ยาไทรเพเลนนามีนหากคุณเพิ่งใช้ยาใน กลุ่ม MAOI (Monoamine oxidase inhibitor) เช่น ยาไอโซคาร์โบซาซิด (Isocarboxazid) อย่างมาร์แพลน (Marplan) ยาฟีเนลซีน (Phenelzine) อย่างนาร์ดิล (Nardil) หรือยาทรานิลไซโพรมีน (Tranylcypromine) อย่างพาร์เนต (Parnate) ภายใน 14 วันที่ผ่านมาเนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาของยาที่อันตรายและนำไปสู่ผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

คุณอาจจะไม่สามารถใช้ยาไทรเพเลนนามีน หรือต้องปรับขนาดยาหรือรับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษระหว่างการรักษาหากคุณมีสภาวะดังกล่าว

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายาไทรเพเลนนามีนเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ หากคุณตั้งครรภ์อย่าใช้ยาไทรเพเลนนามีนโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน

ยาไทรเพเลนนามีนอาจเป็นอันตรายกับทารก หากคุณกำลังให้นมบุตรอย่าใช้ยาไทรเพเลนนามีนโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน

หากคุณอายุมากกว่า 60 ปี คุณอาจจะมีผลข้างเคียงของยาไทรเพเลนนามีนมากกว่า และอาจต้องปรับลดขนาดยา

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับแพทย์เสมอเพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนใช้ยานี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไทรเพเลนนามีน

หยุดใช้ยาไทรเพเลนนามีนและรับการรักษาฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีอาการแพ้ หายใจติดขัด คอปิด มีอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือใบหน้า หรือมีอาการลมพิษ

ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรงน้อยกว่าอาจจะพบได้มากกว่า ควรใช้ยาไทรเพเลนนามีนและปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไทรเพเลนนามีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไทรเพเลนนามีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไทรเพเลนนามีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไทรเพเลนนามีนสำหรับผู้ใหญ่

ยารูปแบบออกฤทธิ์ปกติสามารถรับประทานได้สูงสุดวันละ 6 ครั้ง (ทุกๆ 4 ชั่วโมง) ขนาดยาสูงสุดที่ 600 มก. สำหรับผู้ใหญ่ ยารูปแบบปล่อยยาอย่างช้าๆ สามารถรับประทานได้วันละ 2 หรือ 3 ครั้ง (ทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง) ขนาดยาสูงสุดที่ 300 มก. สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาไทรเพเลนนามีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tripelennamine. https://www.drugs.com/mtm/tripelennamine.html. Accessed November 22, 2017

Tripelennamine. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00792. Accessed November 22, 2017

Tripelennamine Cream https://www.webmd.com/drugs/2/drug-75329/tripelennamine-topical/details

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/10/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา