ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

หลายคนอาจรู้จักโรคเกี่ยวกับประสาทและสมอง เช่น โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก แต่คุณรู้ไหม ยังมี ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น อีกมากมายที่คุณไม่ควรละเลย เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียหายถาวรได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

อาการเซ (Ataxia)

อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น คำจำกัดความอาการเซ (Ataxia) คืออะไร  อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น  พบได้บ่อยเพียงใด อาการเซสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะปรากฎอาการเหล่านี้ในผู้ที่มีอายุก่อน 25 ปี    อาการอาการเซ (Ataxia) อาการเซเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ดวงตาเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา ประสิทธิภาพการใช้กล้ามเนื้อลดลง เช่น การรับประทานอาหาร การเขียน การติดกระดุมเสื้อ การเคลื่อนไหว การทรงตัวไม่ดี เช่น มีอาการเซขณะเดิน หรือขณะลุกและนั่ง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการเซ (Ataxia) สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเซเกิดจากความเสียหายของเซลล์ส่วนประสาทในส่วนที่ควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลในการเคลื่อนไหว รวมถึงสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้  ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น […]

สำรวจ ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

10 พฤติกรรมทำลายสมอง ที่ควรหลีกเลี่ยงโดยด่วน

คนเราต่างก็มีกิจวัตรประจำวัน หรือกิจกรรมที่ชอบทำแตกต่างกันไป บางคนชอบนอนดึก บางคนเป็นนักดื่ม บางคนเป็นสายกิน แต่จะมีใครรู้บ้างว่า กิจวัตรประจำวัน หรือพฤติกรรมบางอย่างที่คุณทำนั้น หากทำบ่อยๆ เข้า อาจส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้สมองบกพร่องได้ และหากใครอยากให้ร่างกายแข็งแรง สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ควรหลีกเลี่ยง พฤติกรรมทำลายสมอง เหล่านี้โดยด่วน พฤติกรรมทำลายสมอง ที่ควรเลี่ยง 1. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนน้อย หรืออดนอน นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง อารมณ์แปรปรวนง่ายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้คุณไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออกด้วย ยิ่งถ้าคุณนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อสมองได้ในระยะยาว โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ และอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ ได้ด้วย ฉะนั้น หากคุณอยากให้สมองแข็งแรง ก็ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนนอนควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดคาเฟอีน พักสายตาจากหน้าจอมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ แล้วหันมาทำกิจกรรมผ่อนคลาย ช่วยให้หลับง่ายขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ แทน 2. อยู่คนเดียวมากเกินไป มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จึงควรหาเวลาพบปะสังสรรค์กับเพื่อนหรือคนรู้จักบ้าง ไม่ใช่แค่ติดต่อกันผ่านโซเชียลมีเดีย ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การใช้เวลาอยู่กับคนในครอบครัว เพื่อน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในโลกจริงจะช่วยให้คุณมีความสุขมากขึ้น ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมถอยได้ด้วย […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง มีเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองเป็นฝันร้ายของหลายๆคน เพราะเนื้องอกนั้นอาจจะกลายเป็นมะเร็ง และแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้ แต่เราสามารถลดโอกาสการลุกลามของเนื้องอกได้ หากเราสังเกตเห็นสัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมอง และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที วันนี้ Hello คุณหมอจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ สัญญาณเนื้องอกในสมอง สัญญาณเนื้องอกในสมอง ที่ควรสังเกต สัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมองนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน โดยขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และจุดที่มีเนื้องอกในสมอง สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้ อาการชา หากคุณมีเนื้องอกในสมองที่ในบริเวณก้านสมอง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสมองและกระดูกสันหลัง เนื้องอกนี้จะทำให้คุณสูญเสียความรู้สึกในบางส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชาที่แขนและขา อาการอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของคุณกำลังพยายามต่อสู้กับเนื้องอก ปวดหัว อาการปวดหัวอย่างรุนแรงนั้นเป็นอาการของเนื้องอกที่พบได้มาก เกิดขึ้นกับผู้ที่มีเนื้องอกในสมองมากกว่า 50% เนื้องอกในสมองนั้นจะเพิ่มความดันในเส้นประสาทและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือทำให้อาการปวดหัวที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น หรือเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น คุณอาจจะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง แต่ไม่เหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวอย่างหนักในตอนตื่นนอน อาจตามด้วยอาการอาเจียน อาการปวดหัวจะรุนแรงขึ้นหากคุณออกกำลังกาย ไอ หรือเปลี่ยนท่าทางการนั่งหรือนอน ยาแก้ปวดตามร้านขายยาไม่สามารถรักษาอาการปวดหัวนี้ได้ แม้ว่าอาการปวดหัวที่เปลี่ยนไป อาจจะเป็นสัญญาณของเนื้องอกในสมองได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาการปวดหัวทุกชนิดจะต้องหมายความว่าคุณเป็นเนื้องอกในสมองเท่านั้น หากคุณสังเกตเห็นอาการปวดหัวที่ผิดปกติไป ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจในทันที อาการชัก เนื้องอกนั้นจะดันและไปกดเส้นประสาทภายในสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อกระแสไฟฟ้าในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการชักได้ อาการชักนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคเนื้องอกในสมอง ผู้ที่มีเนื้องอกในสมองกว่า 50% อาจจะเคยมีอาการชัก อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง การเคลื่อนไหวผิดปกติ คุณอาจจะมีอาการซุ่มซ่ามมากขึ้น เดี๋ยวก็หกล้ม เดี๋ยวก็ทำของหล่น เดี๋ยวก็ไขกุญแจห้องไม่ได้สักที อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการที่แขน ขา หรือมือทำงานผิดปกติ เนื่องจากการส่งสัญญาณในสมอง นอกจากนี้คุณยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด การกลืน หรือการควบคุมการแสดงอารมณ์บนใบหน้า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในสมองและควรรับการตรวจโดยเร็วที่สุด คลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงระยะแรกของการมีเนื้องอกในสมอง คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการคลื่นไส้และอาเจียน เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล อารมณ์แปรปรวน เนื้องอกในสมองการส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

รับมืออย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง เป็นโรคเนื้องอกในสมอง

การได้รับผลวินิจฉัยว่าตัวคุณเป็น โรคเนื้องอกในสมอง นั้นนับได้ว่าเป็นข่าวร้าย ที่ไม่ว่าใครต่างก็ไม่อยากจะพบเจอกันทั้งนั้น เนื้องอกในสมองเป็นความผิดปกติของเซลล์ในสมอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เป็นอัมพาต และอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ การ รับมือ เมื่อต้องรับรู้ว่าตัวเองเป็น เนื้องอกในสมอง นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราสามารถทำได้บทความนี้ Hello คุณหมอ นำว่ารับมือกับตนเอง เมื่อเป็น โรคเนื้องอกในสมอง มาฝากกันค่ะ รับมือ เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็น เนื้องอกในสมอง ได้อย่างไร รับมือกับความรู้สึกของตัวเอง การได้รับข่าวร้ายว่าคุณมีเนื้องอกในสมองนั้นอาจทำให้คุณรู้สึกช็อค หวาดกลัว และกังวลใจ บางครั้งความรู้สึกหวาดกลัวนั้นอาจจะล้นหลามจนทำให้คุณสับสน งุนงง และทำอะไรไม่ถูก บ้างก็อาจจะเสียใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล โกรธเกรี้ยว และตั้งคำถามว่าทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง คุณอาจจะมีความรู้สึกที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น หรืออาจจะรู้สึกอย่างอื่นไปเลย คนเราแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองกับข่าวร้ายนี้แตกต่างกัน บางคนอาจจะเกิดความคิดบวก หาหนทางรักษา หรือพยายามใช้ชีวิตต่อไปอย่างเต็มที่ แต่บางคนก็อาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง หรือรู้สึกสิ้นหวังอย่างรุนแรง จนไม่ยอมทำอะไร การมีความรู้สึกเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ว่าใครต่างก็คงไม่อยากที่จะต้องพบเจอกับเรื่องเหล่านี้กันทั้งนั้น แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ผู้ป่วยเป็น โรคเนื้องอกในสมอง ทุกคนควรจะทำ คือการยอมรับความจริง จัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ และก้าวต่อไป บ่อยครั้งที่ความรู้สึกวิตกกังวลซึมต่อเนื้องอกในสมองและต่อการรักษาที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ แม้ว่าอาการนี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกเหล่านี้ก็อาจเพิ่มความตึงเครียด และอาจกลายเป็นอุปสรรคในการรักษาได้ ทางที่ดีคุณจึงควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาและจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ของคุณอย่างถูกต้อง รับมือกับผลข้างเคียงของการรักษา การรักษา […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอิทธิพลของหลายปัจจัยเสี่ยง นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะโรคบางอย่างเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็ง และนี่คือข้อมูลที่คุณควรรู้ ปัจจัยเสี่ยงทั่วไปของโรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงสูงมากเท่าใด คุณก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นเท่านั้น และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ อายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เพศ เพศชายพบโรคหลอดเลือดสมองพบมากกว่าเพศหญิง ประวัติมีสมาชิกในครอบครัวเคยเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และที่พบได้บ่อยเช่นกันก็คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภาวะโรค ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่นภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหลอดเลือดแข็งคืออะไร หลอดเลือดแดง (Arteries) คือหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจ ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หลอดเลือดแดงจะมีชั้นของเยื่อบุบางๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์เรียกว่า เอนโดธีเลียม (endothelium) โดยเอนโดธีเลียมจะทำให้ภายในหลอดเลือดมีความแข็งแรงและพื้นผิวที่เรียบลื่น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างคล่องตัวหากเอนโดธีเลียมเกิดความเสียหาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ความเสียหายนี้เกิดขึ้นได้จากภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การจับตัวกันเป็นคราบ (plaque) ทำให้หลอดเลือดตีบและผนังหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างอย่างช้าๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ภาวะหลอดเลือดแข็งนี้พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุทำให้หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ซึ่งทั้งหมดนี้มักเรียกรวมกันว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) มักไม่แสดงอาการจนกระทั่งล่วงเข้าวัยกลางคนหรือสูงวัย แต่เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดโลหิตติดขัด และอาจเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ ผนังภายในหลอดเลือดที่อุดตันยังอาจเกิดการฉีกขาดแบบเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดแดง ในบริเวณที่ฉีกขาดหรือแตก และนำไปสู่การอุดตันแบบเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงนั้น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และหัวใจวายเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงและอาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง แพทย์จะทำการพิจารณาประวัติทางการแพทย์ของคุณ หากคุณมีหนึ่งในภาวะทางสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คุณก็มีแนวโน้มที่เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ได้แก่ มีอาการเจ็บเค้นที่หัวใจ (Angina […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc)

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) อาจทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือ เมื่อยล้าบริเวณคอ ไหล่ อก แขน และมือ ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการปวดเสียวที่ส่วนอื่นของร่างกาย คำจำกัดความหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท คืออะไร หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) เกิดจากการที่ส่วนใดส่วยหนึ่งของกระดูกสันหลัง ไปกดทับหรือรบกวนเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง และอาจทำให้เกิดอาการปวด อาการชา หรืออาการอ่อนแรงที่แขนหรือขาได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่อาจจะไม่เกิดอาการจากการที่มีหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท และไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบบ่อยเพียงใด หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นในทุกส่วนของกระดูกสันหลังได้ แต่ที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนล่าง โรคนี้มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ อาการปวด ชา หรือ อาการเมื่อยล้าบริเวณ คอ ไหล่ อก แขน และมือ ในบางกรณี หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่มาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง มีอาการปวดเสียวผิดปกติบริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ควรไปพบหมอ หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณของอาการข้างต้น หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคุณต่อไป สาเหตุสาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท  อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกมีน้อยลง […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy)

โรคสมองจากโรคตับ เป็นอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพฤติกรรม ภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะตับล้มเหลว เกิดขึ้นในมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยตับแข็ง คำจำกัดความ โรคสมองจากโรคตับ คืออะไร โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy) หมายความถึงอาการที่เกิดความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพฤติกรรม ภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะตับล้มเหลว (liver failure) เชื่อกันว่าภาวะแอมโมเนียสูงในกระแสเลือดและสมองนั้นเป็นสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แบคทีเรียในกระเพาะอาหารและลำไส้จะทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย โดยปกติแล้ว ตับมักเผาผลาญแอมโมเนีย (ทำให้แอมโมเนียไม่เป็นอันตราย) แต่ผู้ป่วยโรคตับนั้นจะมีก๊าซแอมโมเนียมากกว่าเนื่องจากตับไม่ทำงาน ก๊าซแอมโมเนียส่วนเกินจะเข้าไปในเลือดและสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติโดยแทรกแซงการทำงานของสมอง โรคสมองจากโรคตับพบได้บ่อยเพียงใด โรคสมองจากโรคตับเกิดขึ้นในมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะหมดสติ และเสียชีวิตได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ อาการ โรคสมองจากโรคตับมีอาการอย่างไร อาการหลักของโรคสมองจากโรคตับ ได้แก่ ไม่มีสมาธิ หลงลืม และมึนงง ผู้ป่วยรู้สึกง่วงซึม และมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาการเฉื่อยชา สูญเสียความทรงจำ และแม้กระทั่งหมดสติ อาการอื่นๆ ได้แก่ ดีซ่าน มีปัญหาในการพูด ตัวสั่น กระวนกระวาย และมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ประสานกันของร่างกาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคตับ เช่น ดีซ่าน หน้าอกขยายและอัณฑะเล็กลง (ในผู้ชาย) มีน้ำคั่งในช่องท้อง และขาบวม โรคสมองจากโรคตับแบ่งออกเป็นระดับ 1 […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

โพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)

โพรงสมองคั่งน้ำ หรือน้ำคั่งในโพรงสมอง เป็นการที่มีในสมองมีของเหลวส่วนเกิน ที่เพิ่มขนาดของโพรงสมอง และมีแรงกดลงบนสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีขนาดหัวโตขึ้น บางทีก็เรียก โรคหัวบาตร คำจำกัดความ โพรงสมองคั่งน้ำคืออะไร โพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) หรือ น้ำคั่งในโพรงสมอง หรือน้ำท่วมสมอง เป็นการก่อตัวของของเหลวในโพรงสมอง ของเหลวส่วนเกินเพิ่มขนาดของโพรงสมองและมีแรงกดลงบนสมอง น้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) ไหลผ่านโพรงสมอง และหล่อเลี้ยงสมองและกระดูกสันหลัง แต่แรงดันของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังที่มากเกินไปที่สัมพันธ์กับภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สามารถสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อสมอง และทำให้เกิดระดับความเสียหายอย่างหนักต่อการทำงานของสมอง โพรงสมองคั่งน้ำพบได้บ่อยเพียงใด ถึงแม้ว่าภาวะโพรงสมองคั่งน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้มากกว่าในทารกและผู้สูงอายุ สถาบัน The National Institute of Neurological Disorders and Stroke (NINDS) ในสหรัฐฯ ประมาณการไว้ว่า จำนวน 1 ถึง 2 รายจากทารกทุกๆ 1,000 ราย เกิดมาโดยมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโพรงสมองคั่งน้ำคืออะไร สิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำโดยทั่วไปมีความหลากหลายตามช่วงอายุที่มีอาการ ทารก สิ่งบ่งชี้และอาการของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่พบได้ทั่วไปในทารก ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในศีรษะ ศีรษะใหญ่ผิดปกติ ขนาดศีรษะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว จุดอ่อน (ขม่อม) บนศีรษะนูนหรือแข็ง อาการทางร่างกาย อาเจียน ง่วงนอน หงุดหงิด ไม่มีความอยากอาหาร มีอาการชัก ตาตก กล้ามเนื้อขาดความตึงตัวและความแข็งแรง การตอบสนองต่อการสัมผัส และการเจริญเติบโตตามความเหมาะสม เด็กวัยหัดเดินและเด็กโต ในเด็กวัยหัดเดินและเด็กโต สิ่งบ่งชี้และอาการ ได้แก่ อาการทางร่างกาย ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดหรือเกิดภาพซ้อน สิ่งบ่งชี้ทางร่างกาย การขยายตัวที่ผิดปกติของศีรษะของเด็กวัยหัดเดิน อาการง่วงนอน มีปัญหาในการตื่นตัวหรือตื่นนอน คลื่นไส้หรืออาเจียน สมดุลร่างกายไม่คงที่ การประสานกันของอวัยวะร่างกายไม่ดี ขาดความอยากอาหาร มีอาการชัก การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและการรับรู้ อาการหงุดหงิด บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง สมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนลดลง มีทักษะที่เรียนรู้มาช้าลงหรือมีปัญหา เช่น การเดินหรือการพูด วัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน สิ่งบ่งชี้และอาการที่พบได้ในกลุ่มวัยนี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ มีปัญหาในการตื่นตัวหรือตื่นนอน สูญเสียการประสานงานกันหรือสมดุลของร่างกาย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปวดปัสสาวะบ่อย มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ความจำ สมาธิ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน