backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อาการเซ (Ataxia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/03/2021

อาการเซ (Ataxia)

อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น

คำจำกัดความ

อาการเซ (Ataxia) คืออะไร 

อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น 

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการเซสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะปรากฎอาการเหล่านี้ในผู้ที่มีอายุก่อน 25 ปี 

อาการ

อาการเซ (Ataxia)

อาการเซเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้ 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการเซ (Ataxia)

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเซเกิดจากความเสียหายของเซลล์ส่วนประสาทในส่วนที่ควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลในการเคลื่อนไหว รวมถึงสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและหลอดเลือดฝอยพอง โรควิลสัน โรคสูญเสียการทรงตัว เป็นต้น 
  • อุบัติเหตุจากการได้รับบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ เลือดออกในสมอง สมองพิการ การขาดวิตามินอี  เป็นต้น 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการเซ (Ataxia)

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติอาการผู้ป่วย และทำการทดสอบทางกายภาพ รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อทำการยืนยันวินิจฉัยโรค ดังนี้ 

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)  และการทำซีที สแกน (Computerized Tomography Scan : CT Scan) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติโครงสร้างบริเวณสมองและกระดูกไขสันหลัง

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจทำการทดสอบไขสันหลัง ด้วยการสอดเข็มเข้าไปที่ด้านหลังส่วนล่างและดึงของเหลวออกมา 

การรักษาอาการเซ (Ataxia)

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล หากเกิดจากสาเหตุการขาดวิตามินแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริม

ในกรณีผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำอุปกรณ์เพื่อช่วยเสริมให้เคลื่อนไหวได้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีช้อนส้อมเฉพาะที่ช่วยให้เรารับประทานได้ง่ายขึ้น 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเซ 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการเซ มีวิธีดังต่อไปนี้

  • ปรึกษาแพทย์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม 
  • ทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา