backup og meta

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers) คือ ยาลดความดัน ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคนี้อยู่ก็อาจจะคุ้นกับชื่อยานี้ก็ได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าทำไมคุณถึงต้องรับประทาน แล้วยานี้จะช่วยลดความดันลงได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความเรื่องนี้ จาก Hello คุณหมอ ค่ะ

ตัวอย่างของ ยาลดความดัน เบต้าบล็อกเกอร์

มี ยาเบต้าบล็อกเกอร์ หลายประเภท ที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดก็จะมีผลทั้งกับหัวใจของคุณ และหลอดเลือดของคุณ ขณะที่บางชนิดจะมีผลแค่เฉพาะหัวใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วคุณจะไม่ใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทั้งหมด แพทย์ของคุณจะเป็นคนจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ

ตัวอย่างของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์

  • ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่างเช่น เซคทราล (Sectral)
  • ยาอะทีโนลอล (Atenolol) อย่างเช่น เทนอร์มิน (Tenormin)
  • ยาเบตาโซลอล (Betaxolol) อย่างเช่น เคอร์โลน (Kerlone)
  • ยาบิโซโพรลอล(Bisoprolol) อย่างเช่น ซีเบต้า (Zebeta) หรือ ซีแอค (Ziac)
  • ยาคาร์ทีโอลอล ไฮโดรคลอไรด์ (Carteolol hydrochloride) อย่างเช่น คาร์ทรอล (Cartrol)
  • ยาคาร์วีดิลอล (Carvedilol) อย่างเช่น คอเร็ก (Coreg)
  • ยาเมโทโพรลอล ทาร์เทรต (Metoprolol tartrate) อย่างเช่น โลเพรสโซ (Lopressor)
  • ยาเมโทโพรลอล ซัคซิเนส (Metoprolol succinate) อย่างเช่น โทรโพรล-เอ็กซ์แอล (Toprol-XL)
  • ยานาโดลอล (Nadolol) อย่างเช่น คอร์การ์ด (Corgard)
  • ยาเนบิโวโลล (Nebivolol) อย่างเช่น บิสโทลิก (Bystolic)
  • ยาเพนบูโทลอล ซัลเฟต (Penbutolol sulfate) อย่างเช่น เลวาทอล (Levatol)
  • ยาพินโดลอล (Pindolol) อย่างเช่น วิสเคน (Visken)
  • ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) อย่างเช่น อินดีรัล แอลเอ (Inderal LA) หรือ อินโนพราน เอ็กซ์แล(InnoPran XL)
  • ยาโซโลทอล ไฮโดรคลอไรด์ (Solotol hydrochloride) อย่างเช่น เบต้าเพซ (Betapace)
  • ยาทิโมลอล มาลีเอท (Timolol maleate) อย่างเช่น โบลคาเดรน (Blocadren)

ทำไมถึงต้องใช้เบต้าบล็อกเกอร์

เราสามารถใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เพื่อรักษา ป้องกัน และควบคุมอาการต่างๆ เช่น

  • ความดันโลหิตสูง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หัวใจล้มเหลว
  • หัวใจวาย
  • เจ็บหน้าอก
  • ไมเกรน (ประเภทของการปวดหัวที่สามารถพัฒนาไปเป็นการปวดที่รุนแรงได้)
  • อาการสั่นบางประเภท

แพทย์อาจสั่งยาตัวอื่นให้ก่อน เช่น ยาขับปัสสาวะ แต่ถ้ายานั้นใช้ไม่ได้ผล คุณก็อาจขอให้แพทย์จ่ายยาเบต้าบล็อกเกอร์ให้แทน โดยอาจใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ร่วมกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น ๆ ได้ เช่น ACE inhibitors ยาขับปัสสาวะ และ Calcium Channel Blockers เพราะในบางครั้งเบต้าบล็อกเกอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าไม่ได้ใช้ร่วมกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น ๆ

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทำงานอย่างไร

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจช่วยหยุดยั้งผลกระทบของอะดรีนาลีน การเต้นของหัวใจ และเลือดที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจก็จะลดลงด้วย ส่งผลให้หลอดเลือดมีขนาดกว้างขึ้น จนสามารถลดความดันโลหิตให้คุณได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียงของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ มีอยู่หลายประการ ซึ่งบางคนอาจจะไม่พบผลข้างเคียงอะไรเลย แต่บางคนอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 

ส่วนอาการที่พบได้ไม่บ่อยก็คือ อาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หัวใจเต้นช้าลง อาการคล้ายโรคหอบหืด (ไอ หายใจหอบหืด หายใจสั้นลง เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก)

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจกระตุ้นอาการหอบในผู้ที่มีอาการหอบหืดได้  และอาจหยุดยั้งสัญญานของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ยังอาจทำให้มีระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วย การหยุดรับประทานยาเบต้าบล็อกเกอร์โดยทันที ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายได้

ใครบ้างที่ไม่ควรรับประทาน ยาเบต้าบล็อกเกอร์

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจจะทำงานได้ไม่ดีกับผู้สูงอายุและคนผิวสี คนที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ความดันโลหิตต่ำขั้นรุนแรง หัวใจเต้นช้า ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงที่ให้นมบุตรเอง หรือผู้หญิงที่พยายามตั้งครรภ์

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ สามารถปิดกั้นสัญญาณอาการน้ำตาลในเลือดตกได้ ฉะนั้นจึงควรทำการตรวจสอบน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

ข้อควรกังวลอื่น ๆ

มีข้อควรระวังบางประการในการใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ดังนี้

  • น้ำเกรปฟรุตเป็นน้ำผลไม้ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาเบต้าบล็อกเกอร์ได้
  • แสงแดดและอากาศเย็น ยาเบต้าบล็อกเกอร์อาจทำให้คุณไวต่อแสงแดด และอากาศเย็นๆได้ จึงควรป้องกันตัวเองไม่ให้มีอาการผื่นแดง อาการไหม้แดด และโรคหวัด

เราสามารถใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ สำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตลง ด้วยการทำให้หัวใจเต้นช้า และบีบหัวใจของคุณเอาไว้ อย่างไรก็ตามยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้เหมือนกัน  ฉะนั้นถ้ามีอาการรุนแรงใดๆ  เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Types of Blood Pressure Medications. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/PreventionTreatmentofHighBloodPressure/TypesofBloodPressureMedications_UCM_303247_Article.jsp. Accessed June 1, 2017.

BetaBlockers for High Blood Pressure. http://www.webmd.com/hypertensionhighbloodpressure/guide/hypertensiontreatmentbetablockers#1. Accessed June 1, 2017.

BetaBlockers for High Blood Pressure. http://www.webmd.com/hypertensionhighbloodpressure/betablockersforhighbloodpressure. Accessed June 1, 2017.

High blood pressure (hypertension) – Beta blockers. http://www.mayoclinic.org/diseasesconditions/highbloodpressure/indepth/betablockers/art20044522. Accessed June 1, 2017.

Migraine. https://medlineplus.gov/migraine.html. Accessed June 1, 2017.

Asthma. http://www.mayoclinic.org/diseasesconditions/asthma/basics/symptoms/con20026992. Accessed June 1, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/01/2024

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

5 วิธีธรรมชาติที่ช่วย ลดความดันโลหิต สำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา