backup og meta

มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง เป็นแล้วจะรับมือกับสภาพจิตใจอย่างไรดี

มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง เป็นแล้วจะรับมือกับสภาพจิตใจอย่างไรดี

บางคนอาจจะคิดว่า มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง คือการลงทัณฑ์รอบที่สอง เนื่องจากจะต้องทรมานจากโรคมะเร็งเต้านม และผลข้างเคียงจากการรักษามาแล้วครั้งหนึ่ง มาตอนนี้ยังต้องเจอกับความทรมานเป็นรอบที่สองอีก ความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติ Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาดูกันว่า จะมีความรู้สึกแบบไหนเกิดขึ้นบ้าง และคุณจะรับมือกับความรู้สึกเหล่านั้นอย่างไรดี

คุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อมีอาการ มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง

หากคุณกำลังเป็นโรคมะเร็งเต้านมครั้งที่สอง นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะกลับไปพบเจอกับสถานะทางอารมณ์ ที่คุณคิดว่าได้ผ่านไปแล้วหลังจากการเกิดมะเร็งเต้านมครั้งแรก คุณอาจจะรู้สึกกลัว โกรธ กระวนกระวาย และหดหู่ เริ่มกังวลว่าผลข้างเคียงของการรักษาจะเพิ่มมากขึ้นไปอีกหรือเปล่า

คุณจะหัวเสียกับหมอของคุณ หรือผู้ให้บริการด้านการแพทย์คนอื่นๆ และแม้แต่ตัวเอง คุณอาจเริ่มสงสัยว่าหมอที่รักษาคุณนั้นไม่ดีพอ และคุณจะไม่สามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้ บางทีคุณอาจจะรู้สึกโกรธ แล้วถามตัวเองว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมฉันถึงต้องทรมานกับเรื่องนี้ถึงสองครั้งด้วย” หรือในบางกรณี คุณอาจจะสามารถยอมรับความจริงได้ และรับมือกับการวินิจฉัยด้วยความคิดในแง่บวก

ปฏิกิริยาและความรู้สึกจะแตกต่างไปตามแต่ละคน ไม่มีทางไหนถูกหรือผิด เพราะมันเป็นแค่สภาพอารมณ์ของคุณเท่านั้น

คุณจะรับมือได้อย่างไร

ถึงแม้ว่าความคิดและความรู้สึกในแง่ลบ จะเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อคุณเผชิญกับมะเร็งเต้านมครั้งที่สอง สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ หากจัดการได้ไม่ดีพอ ในบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความหวาดกลัว แต่ก็มีเทคนิคและวิธีการบำบัดอยู่มากมาย ที่จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสภาพอารมณ์เหล่านี้ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การปรึกษามืออาชีพ คุณสามารถหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้ การปรึกษามักจะอยู่ในห้องที่เป็นส่วนตัว อบอุ่น สบาย และปลอดภัย ทำให้คุณสามารถเปิดเผยความรู้สึกของคุณได้ ผู้ให้คำปรึกษาจะช่วยเปิดเผยอารมณ์ของคุณ หาสาเหตุของอารมณ์เหล่านั้น และช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นได้ อย่าอาย และจงกล้าที่จะพูดปัญหาของคุณออกมา เพื่อให้ที่ปรึกษาสามารถช่วยคุณได้
  • การเบี่ยงเบนความสนใจ คุณสามารถมุ่งเน้นความสนใจไปที่สิ่ง ๆ อื่นได้ อย่าไปโฟกัสกับโรคมะเร็งครั้งที่สอง ซึ่งคุณกำลังเป็นอยู่ ให้คิดถึงความสุขทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณแทน
  • การผ่อนคลาย หยุดคิด แล้วล้มตัวลงนอน หรือแช่น้ำอุ่น และการนวดตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่เลว ที่จะช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของคุณได้
  • เปิดใจ คิดถึงแต่ปัจจุบัน คิดถึงสิ่งที่คุณมี ว่าสิ่งไหนที่ทำให้คุณมีความสุข โฟกัสไปที่กลิ่น สัมผัส และเสียงรอบตัว ชีวิตของคุณนั้นยังสวยงาม คุณจึงต้องเอาชนะโรคมะเร็งนี้ให้ได้

หากคุณไม่รู้สึกดีขึ้น หรือยังมีปัญหามากกว่านี้ เช่น เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกถึงความสนุก ขาดความสนใจ นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาในการรวบรวมสมาธิ ควรปรึกษากับแพทย์ให้เร็วที่สุด

เมื่อคุณเป็นมะเร็งเต้านมครั้งที่สอง นั่นหมายถึงว่า คุณจะต้องเผชิญกับความรู้สึกและความคิดในด้านลบถึงสองครั้ง คุณอาจจะรู้สึกไม่มีความสุข  แต่อย่าปล่อยให้อารมณ์ด้านลบมาครอบงำชีวิตของคุณได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anxiety and depression with secondary breast cancer. https://www.breastcancercare.org.uk/information-support/secondary-metastatic-breast-cancer/living-secondary-breast-cancer/anxiety-depression-secondary-breast-cancer. Accessed February 12, 2017

Your Feelings About Recurrent or Metastatic Breast Cancer. http://www.breastcancer.org/symptoms/types/recur_metast/living_metast/feelings. Accessed February 12, 2017

Common feelings for women with metastatic breast cancer. https://canceraustralia.gov.au/affected-cancer/cancer-types/breast-cancer/living-breast-cancer/issues-women-whose-breast-cancer-has-spread/feelings-when-breast-cancer-has-spread/common-feelings. Accessed February 12, 2017

Living with metastatic breast cancer. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK361014/. Accessed August 17, 2021

Breast Cancer – Metastatic: Coping with Treatment. https://www.cancer.net/cancer-types/breast-cancer-metastatic/coping-with-treatment. Accessed August 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/08/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณและอาการของ มะเร็งเต้านมระยะที่ 4

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก



เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา