backup og meta

5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน

 5 ท่าบริหารหัวเข่า แก้อาการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน

เคยไหมเวลานั่งทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมง พอจะลุกขึ้นแต่ละทีก็ทำให้ร่างกายของเราปวดเมื่อยไปหมด โดยเฉพาะหัวเข่าของคุณที่ถูกงอค้างไว้ขณะอยู่ในท่านั่งนานจนเกินไปไม่มีการลุกออกมายืดเส้นยืดสายบ้าง บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขอนำ ท่าบริหารหัวเข่า ง่าย ๆที่สามารถทำได้ทุกที่ยามว่าง มาฝากทุกคนกันค่ะ

ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย

หากหัวเข่าของคุณได้รับการงอจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ เอ็นเชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูกคุณเกิดภาวะบวม หรืออักเสบได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลด้านสุขภาพในระยะยาวจนทำให้คุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ดังนั้น การสละเวลาเล็กน้อยออกมาบริหารร่างกายบ้างคงจะได้ประโยชน์ไม่ใช่น้อย ซึ่งมี 5 ท่าง่าย ๆ ที่คุณสามารถปฏิบัติตาม ท่าบริหารหัวเข่า บรรเทาอาการปวดเมื่อย ที่เรานำมาฝากกัน ดังนี้

  1. ท่าดันกำแพง

การบริหารท่านี้มีเป้าหมายที่จะให้กล้ามเนื้อส่วนล่างของคุณ โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่า และน่องได้รู้สึกคลายเส้นลง

  • แรกเริ่มให้ยืนหันหน้าเข้ากำแพง และยืดแขนทั้ง 2 ข้าง ออกมาด้านหน้าพร้อมกับหงายมือตั้งขึ้นเตรียมดันกำแพง หรือผนังบ้านที่มีพื้นผิวเรียบ
  • นำขา และเท้าข้างที่ถนัดออกมาด้านหน้าในก้าวที่ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับย่อเข่าโน้มตัวไปทางด้านหน้ากำแพง ขั้นตอนนี้ให้คุณดันตัวเข้า-ออกเล็กน้อยให้ครบ 30 วินาที
  • ทุก ๆ ครั้งที่ครบ 30 วินาที ให้คุณสลับเปลี่ยนขาอีกข้างหนึ่งในท่าทาง และทำตามขั้นตอนการบริหารเดียวกัน
  1. ท่างอขาไปด้านหลัง

ในท่านี้นอกจากคุณจะได้บริหารหัวเข่าแล้ว ยังอาจได้กล้ามเนื้อส่วนสะโพกที่แข็งแรงตามมาอีกด้วย โดยเริ่มจากขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ยืนตัวตรง และนำมือเท้าเอวไว้เพื่อสร้างการทรงตัว พร้อมกับแยกเท้า หรือหัวเข่าให้ห่างกันเล็กน้อย ประมาณ 1-2 นิ้ว
  • ยกขาด้านในด้านหนึ่งที่คุณถนัด งอขึ้นไปด้านหลังจนสุด และค้างไว้ประมาณ 5 วินาที จากนั้นนำลงมาวางไว้ที่เดิม
  • เมื่อทำอีกข้างเสร็จ ให้คุณยกขาอีกข้างทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งการบริหารในท่างอขาไปด้านหลังนี้คุณทำสลับไปมาได้ จนกว่าจะรู้ว่าเส้นเอ็นบริเวณหัวเข่าได้รับการยืด และหายปวดเมื่อยแล้ว
  1. ท่ายืนเขย่งตัว

การบริหารท่านี้อาจช่วยเสริมความแข็งแรงบริเวณด้านหลัง ส่วนล่างของคุณ เพื่อให้ทนต่อการงอหัวเข่าเป็นเวลานานได้ โดยเริ่มจาก

  • ยืนตัวตรง นำมือเท้าเอวไว้เพื่อการทรงตัว
  • แยกเท้าออกมาเล็กน้อย แล้วเริ่มเขย่งตัวขึ้นด้วยการออกแรงส่วนปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง พร้อมกัน
  • จากนั้นนำกลับเข้าสู่ท่ายืนท่าเดิม ซึ่งท่ายืนเขย่งตัวนี้ควรทำอย่างน้อย 2-3 เซ็ต เซ็ตละ 10 ครั้ง
  1. ท่านั่งยกขา

นับได้ว่าท่านี้อาจเหมาะสำหรับใครหลาย ๆ คนมากที่สุด เพราะการที่เรายุ่งอยู่กับงานบนโต๊ะตลอดเวลา จึงทำให้เรามีเวลาน้อยมากที่จะลุกเดินไปยืดเส้นยืดสาย ซึ่งการบริหารหัวเข่าท่านี้คุณสามารถเริ่มได้ทันทีแม้ว่าจะอยู่กับที่ หรือนั่งอยู่บนเก้าอี้ก็ตาม เพียงแค่คุณเริ่มจากการนั่งตัวตรง และยกขาขึ้นไปด้านหน้า  สลับกันไปมาเท่านั้น

  1. ท่าสควอทแบบพิงกำแพง

กล้ามเนื้อที่คุณอาจจะได้ความแข็งแรงเพิ่มในท่านี้ร่วมกับการบริหารหัวเข่า คงจะเป็นในส่วนบั้นท้าย และสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ทำครั้งเดียวแต่ได้ประโยชน์ทั้ง 3 ส่วน เพียงแค่คุณ ยืนตัวตรง แยกเท้าเล็กน้อย พร้อมกับหันหลังเข้าพิงกำแพงที่มีผิวเรียบ และย่อตัวลงไปไม่ให้หัวเข่าของคุณเกินปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5 วินาที จากนั้นดันตัวคุณขึ้นกลับมาในท่าทางเดิม

เคล็ดลับเพิ่มเติม สำหรับการบรรเทา อาการปวดหัวเข่า

คุณสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดได้โดยตรง หากมีอาการปวดหัวเข่าเรื้อรัง เพราะการที่คุณปล่อยให้เกิดการสะสมเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้ร่างกายคุณเกิดการเสื่อมสภาพลง ไม่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วอย่างเดิมได้

ดังนั้น ทันทีที่คุณรู้สึกปวดเมื่อยหัวเข่า ให้รีบหาผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง และประคบไว้บริเวณที่ปวดเป็นเวลา 20 นาทีต่อข้าง และหลีกเลี่ยงการแบก ยก ของหนัก แต่ถ้ามีอาการปวดเพียงเล็กน้อย คุณสามารถหาซื้อยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาโดยเภสัชกรได้ เพื่อลดอาการบวมอักเสบภายใน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Knee pain from squatting: What to do https://www.medicalnewstoday.com/articles/325246 Accessed June 04, 2020

How to strengthen your knee https://www.medicalnewstoday.com/articles/325804 Accessed June 04, 2020

10 Exercises to Help Relieve Knee Pain https://www.healthline.com/health/exercises-for-knee-pain#strengthening-exercises Accessed June 04, 2020

Exercises for Strengthening Knees https://www.verywellfit.com/knee-pain-exercises-p2-1231449 Accessed June 04, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/06/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

บริหารก้น ด้วย 5 ท่าง่ายๆ เสริมกล้ามเนื้อก้นให้ดูสวย เฟิร์ม แข็งแรง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 25/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา