ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (Cerebral venous sinus thrombosis หรือ CVST) เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไปอุดตันภายในโพรงหลอดเลือดดำในสมอง (brain’s venous sinuses) จึงทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากสมองได้ และอาจส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแตกตัว หรือมีเลือดออกในสมองของคนที่คุณรักได้อีกด้วย บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอพาทุกคนมารูจักกับ สัญาณเตือนแรกเริ่มของภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน ให้มากขึ้น เพื่อให้คุณรับมือได้อย่างเท่าทัน
สัญญาณเตือนของ ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน
เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่อายุน้อยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) จาก ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน อาจจะมีสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้น
- พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการพูด และทำความเข้าใจกับประโยคง่าย ๆ ผิดปกติ
- ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาข้างเดียว หรืออาจได้รับผลกระทบกับตาทั้งสองข้าง
- มีอาการมึนงง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
- มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยมี หรือไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย
- มีอาการอ่อนแรง รู้สึกชาที่บริเวณใบหน้า แขน หรือขา โดยปกติจะเกิดขึ้นเพียงด้านหนึ่งของร่างกาย
เด็กทารกที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตันอาจแสดงสัญญาณที่แตกต่างออกไปจากข้างต้นเล็กน้อย ดังนี้
- มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการชักอาจมีลักษณะเป็นอาการกระตุกที่ใบหน้า แขน ขา หรืออาการชักแบบตาค้าง
- เด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการตื่นนอนเป็นอย่างมาก และอาจมีอาการตื่นตัวในระหว่างวัน นอกเหนือจากเวลานอนตามปกติ
หากผู้ปกครองท่านใด สำรวจ และสังเกตลูกรักของตนเองแล้วว่า มีอาการคล้ายข้างต้น หรืออาการอื่น ๆ แทรกซ้อนรุนแรง โปรดพานำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยของคุณในทันที มิควรปล่อยไว้เพื่อรอดูอาการ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตของเด็ก ๆ
สาเหตุที่อาจทำให้เกิด ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน
ในบางครั้งภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่กับเด็กที่มีสุขภาพดีแข็งแรง หรือเด็กที่มีภาวะร่างกายค่อนข้างอ่อนแอก็เป็นได้ ส่วนใหญ่แล้วนั้นอาจมีสาเหตุมาจากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อาการขาดน้ำ หรือมีน้ำภายในร่างกายไม่เพียงพอ
- อาการติดเชื้อบางอย่างที่ศีรษะ หรือลำคออย่างรุนแรง
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ความผิดปกติของลิ่มเลือด
- อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- อาการขาดธาตุเหล็ก ภาวะโลหิตจาง
- การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
- โรคอื่นๆ ในเด็ก
การรักษาภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน
การรักษาภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตันนั้นมีเป้าหมาย เพื่อลดอาการบาดเจ็บในสมองที่เกิดจากภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน และป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น
โดยการรักษาอาจมีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มเลือดยิ่งขึ้น ซึ่งอาจใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด 1 ชนิด หรือมากกว่านั้น ตัวอย่างยาที่ใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่
- ยาวาร์ฟาริน (wafarin) สำหรับรับประทาน
- ยาเฮพาริน (heparin) สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ยาเฮพารินขนาดโมเลกุลเล็ก สำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
การทดสอบเมื่อมีภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน
เมื่อเด็กมีภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน แพทย์อาจจะสั่งให้ทำการทดสอบบางประเภทเพื่อตรวจหาโรค และติดตามผลการรักษา โดยอาจจะต้องทำการทดสอบหลายครั้งดังนี้ หลังจากที่ได้ทำการรักษาตามขั้นตอน เพื่อให้สังเกตถึงพัฒนาการว่าเด็กจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเวลาผ่านไป
- การทดสอบระบบประสาท
การทดสอบระบบประสาทจะดูว่าสมองลูกของคุณนั้นทำงานเป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง สมองนั้นสามารถส่งสารไปที่ร่างกายได้ดีแค่ไหน
- การทำงานของเลือด
การทดสอบเลือดช่วยให้แพทย์เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าทำไมลูกของคุณถึงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หากลูกของคุณกำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะต้องได้รับการทดสอบเพื่อหาว่ายาเหล่านั้นทำงานได้ดีแค่ไหน การทดสอบนี้จะบอกได้ว่าจะต้องเปลี่ยนขนาดของยาที่ใช้อยู่หรือไม่
- การทำซีที สแกน (Computerized Tomography Scan)
การทำซีที สแกนโดยการถ่ายภาพบริเวณที่หลอดเลือดตีบตันในสมองอย่างละเอียด การทดสอบนี้อาจบอกได้ว่ามีหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้นหรือไม่ และยังสามารถบอกได้ว่าเป็นหลอดเลือดตีบตันประเภทอะไร และเนื้อเยื่อส่วนใดที่ได้รับผลกระทบ
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging ;MRI)
การตรวจ MRI สามารถบอกได้ว่ามีหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้นหรือไม่ และอาจยังบอกได้อีกว่าเกิดหลอดเลือดตีบตันขึ้นเมื่อใด หรือร้ายแรงแค่ไหน
- การเจาะน้ำไขสันหลัง
การทดสอบนี้จะมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการอักเสบในระบบประสาทของลูกคุณ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตัน การเจาะน้ำไขสันหลังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเจาะหลัง
ภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตันนี้สามารถกลับมามีโอกาสเป็นได้ทุกเมื่อ ขึ้นอยู่กับการดูแลตันเอง ปัญหาทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงผลการรักษาของแต่ละบุคคล หากคุณมีข้อสงสัย หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดสอบถามแพย์ผู้เชี่ยวชาญ ถึงรายละเอียด เพื่อรับคำแนะนำเสริมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
[embed-health-tool-bmi]