backup og meta

คุณมีโอกาสเสี่ยง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    คุณมีโอกาสเสี่ยง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง

    ไวรัสตับอักเสบ คือ เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานของตับโดยเฉพาะ และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของการเป็นมะเร็งตับ ตัวโรคอาจเกิดขึ้นได้จากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมถึงเกิดจากภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานต่ำ รวมทั้งมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

    พฤติกรรมเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

    ต่อไปนี้คือพฤติกรรมที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

    • ใช้ยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น ก็จะทำให้สัมผัสกับเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบได้
    • การติดเชื้อ HIV คนเราสามารถติดเชื้อ HIV ได้ผ่านการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หรือเป็นการรับเลือดที่มีการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ก็ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นตับอักเสบเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรับของเหลวใดๆก็ตามเข้าสู่ร่างกายคือความเสี่ยงสูงสุด ไม่ใช่เพียงเพราะมีเชื้อ HIV
    • การสัก การเจาะร่างกาย และการใช้เข็มกับร่างกายชนิดอื่นๆ หากคุณกำลังคิดจะไปสัก เจาะร่างกาย หรือแม้แต่ไปฝังเข็ม หากพบเจอร้านที่ไม่ได้ใช้เข็มใหม่หรือสะอาดสำหรับลูกค้าทุกคน ดังนั้น ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่คุณจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ รวมถึงโรคติดต่อร้ายแรงที่มากับเลือด เช่น HIV
    • มีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย (ทั้งทางทวารหนักและปาก) ถึงแม้ว่าไวรัสตับอักเสบเอและอี จะเป็นชนิดที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน แต่กิจกรรมทางเพศทั้งทางทวารหนักและปาก ก็อาจแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบได้เช่นกัน
    • อยู่ร่วมอาศัยกับคนที่ป่วยเป็นติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    • มีอาชีพเป็นผู้ดูแลด้านสุขภาพ โดยอาชีพนี้มีปัจจัยเสี่ยงจากการสัมผัสเลือดคนไข้ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา เป็นต้น
    • การเดินทางไปต่างประเทศ ก็มีความเสี่ยงต่อการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้

    โรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากไวรัส

    โรคตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์

    ตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากเกินพอดี อย่างไรก็ตาม กลไกที่แท้จริงของการทำลายตับชนิดนี้ยังคงไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัด แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้ตับบวมโตและเจ็บปวด แต่การรับประทานยาบางชนิดมากเกินไปหรือการรับพิษเข้าสู่ร่างกายก็อาจเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบได้เช่นกัน

    ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ร่างกายจะดูดซับแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้กลายเป็นสารอนุพันธุ์ที่มีความเป็นพิษสูง
  • สารเคมีที่มาจากแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดการอักเสบ และทำลายเซลล์ตับ
  • เมื่อเวลาผ่านไป เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะกลายเป็นแผลซึ่งจะเข้าไปแทนที่เนื้อเยื่อตับที่แข็งแรง ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรคตับแข็ง คือระยะสุดท้ายของโรคตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
  • นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดโรคตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่

    ถ้าผู้ป่วยตับอักเสบชนิดอื่นดื่มแอลกอฮอล์ แม้จะเป็นในจำนวนปานกลางก็ตาม อย่างเช่น ถ้าในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ดื่มแอลกอฮอล์ ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคตับแข็ง และขาดสารอาหารได้ การขาดสารอาหารก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ตับ โดยมักพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มหนักหลายรายขาดสารอาหาร เนื่องจากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมถึงแอลกอฮอล์เข้าไปขัดขวางร่างกายไม่ให้ดูดซึมสารอาหารนั่นเอง

    โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง (autoimmune hepatitis)

    ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะทำหน้าที่โจมตีไวรัส แบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่ก่อโรคชนิดอื่นๆ ในบางกรณี ก็เป็นไปได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีและทำอันตรายตับโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลให้การทำงานของตับเสื่อมถอยลง การที่ภูมิคุ้มกันร่างกายกลับไปโจมตีเซลล์ตับนี้ ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ตับอย่างต่อเนื่อง โดยอาการเหล่านี้เรียกว่าโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง

    ปัจจุบัน แพทย์ได้แบ่งรูปแบบของโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองเป็น 2 ชนิด ดังนี้

    • โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองชนิดที่ 1 จะป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานชนิดอื่นด้วย เช่น โรคเซลิแอค โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล
    • โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองชนิดที่ 2 ถึงแม้โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเองชนิดที่ 2 จะเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ แต่กลับสามารถพบได้ทั่วไปในกลุ่มเด็กเล็กและคนหนุ่มสาว ผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานชนิดอื่นด้วยเช่นกัน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา