การใช้ประโยชน์ ซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์ ใช้ทำอะไร ?
ซิลเวอร์คอลลอยด์ (Colloidal-silver) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง สามารถรักษาภาวะต่าง ๆอย่างภาวะติดเชื้อ, มะเร็ง , เบาหวาน, ข้ออักเสบ และอื่น ๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องยืนยันว่า การใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์นั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการรักษา
สภาวะโรคหรืออาการต่างๆ เหล่านี้ ที่ยังคงขาดการชี้ชัดว่าซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาได้
- การติดเชื้อที่ตา
- การติดเชื้อที่หู
- อาการผิดปกติอย่างเรื้อรังของปอด
- โรคหลอดลมอักเสบ
- การติดเชื้อรา
- โรคโรซาเชีย
- ไซนัสอักเสบ
- แผลในกระเพาะอาหาร
- การติดเชื้อยีสต์
- โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
- เอชไอวี (HIV) / เอดส์
- วัณโรค
- โรคอาหารเป็นพิษ
- โรคเหงือก
- การย่อยอาหาร
- ป้องกันไข้หวัดใหญ่และโรคหวัด
การทำงานของซิลเวอร์คอลลอยด์
มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของซิลเวอร์คอลลอยด์ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้โดยการจับและยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
ข้อควรระวังและคำเตือน
ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ ซิลเวอร์คอลลอยด์
ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้
- กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของซิบารูมา หรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ซิลเวอร์คอลลอยด์มีความปลอดภัยแค่ไหน
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำมารับประทาน ทาที่ผิวหนัง หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV) โดยไม่รับการอนุญาตจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
ระดับซิลเวอร์คอลลอยด์ที่เพิ่มขึ้นของสตรีตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ผิดปกติของอวัยวะแก่ทารก เช่น หู ใบหน้า และลำคอ
นอกจากนี้สารประกอบของซิลเวอร์คอลลอยด์ยังสามารถสะสมในร่างกายซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนสีผิวเป็นสีฟ้าซึ่งไม่สามารถกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ เป็นที่รู้จักกันในโรคอาร์จีเรีย (Argyria)
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์มีอะไรบ้าง
ซิลเวอร์คอลลอยด์จะสะสมอยู่ในอวัยวะที่สำคัญ เช่น ผิวหนัง, ตับ, ม้าม, ไต กล้ามเนื้อ และสมอง สามารถนำไปสู่เปลี่ยนสีผิวเป็นสีฟ้า และจะปรากฏที่แรกบริเวณเหงือก นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นการผลิตเมลานินในผิวหนังและบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดจะเปลี่ยนสีมากขึ้น
ผลข้างเคียงที่กล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตามอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงวิธีรักษาและป้องกันของผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับซิลเวอร์คอลลอยด์มีอะไรบ้าง
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับซิลเวอร์คอลลอยด์ ได้แก่
- ยาปฏิชีวนะ ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น ยาไซโปรฟลอกซาซิน ciprofloxacin (Cipro) ยานอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) (Chibroxin, Noroxin), และอื่นๆ
- กลุ่มยาเตตราไซคลีนบางชนิดไปรวมถึง ยาเดเมโคลไซคลีน demeclocycline (declomycin) ยามิโนไซคลีน minocycline (minocin) และเตตราไซคลีน tetracycline (achromycin)
- ยาเลโวไทรอกซีน (levothyroxine)
- ยาเพนิซิลลามีน Penicillamine (Cuprimine, Depen) ยาเพนิซิลลามีน ใช้สำหรับรักษาโรควิลสัน และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดปริมาณยาเพนิซิลลามีนที่ร่างกายดูดซึมและลดประสิทธิผลของยานี้ได้
ขนาดการใช้
ขนาดปกติของการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์อยู่ที่เท่าไร?
ขนาดและปริมาณการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบในปริมาณที่เหมาะสม
ซิลเวอร์คอลลอยด์มีรูปแบบใดบ้าง?
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจมีรูปแบบต่อไปนี้
- ซิลเวอร์คอลลอยด์ในรูปของเหลว
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]