backup og meta

ต้นขี้กาเทศ (Colocynth)

ต้นขี้กาเทศ (Colocynth)

การใช้ประโยชน์ ต้นขี้กาเทศ

ต้นขี้กาเทศ (Colocynth) ส่วนมากผู้คนนิยมนำผลที่สุกแล้วมาปรุงคู่กับอาหารเพื่อรับประทาน หรือนำมาสกัดเป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย ทั้งนี้ต้นขี้กาเทศสามารถใช้รักษาอาการท้องผูก ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับ โรคตับ โรคถุงน้ำดี และลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ หรืออาจเป็นไปตามการพิจารณาจากทางการแพทย์ที่เห็นสมควร

การทำงานของ ต้นขี้กาเทศ เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอต่อการอธิบายการทำงานของอาหารเสริม ประเภทสมุนไพรชนิดนี้โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นคว้าพบว่าส่วนประกอบของสารคูเคอร์บิเทซิน( Cucurbitacin ) ในต้นขี้กาเทศ ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อผนัง และเมือกในกระเพาะอาหาร รวมถึงลำไส้ ดังนั้นหากมีความจำเป็นที่ต้องรับประทานควรทราบถึงปริมาณ และทานให้เหมาะสมไม่ควรเพิ่มปริมาณเองก่อนแพทย์ หรือเภสัชกรอนุญาต

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ต้นขี้กาเทศ

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากต้นขี้กาเทศ หรือแพ้ยาหรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆคุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้อื่นๆ เช่น อาหาร, สารแต่งสี, สารกันเสีย, หรือสัตว์บางชนิด

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดอกรักนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นขี้กาเทศมีปลอดความภัยแค่ไหน

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ต้นขี้กาเทศ ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ถึงอย่างไรก็ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์เสียก่อน

สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัด

ควรหยุดใช้ต้นขี้กาเทศ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อน ก่อนถึงการนัดหมายวันผ่าตัด รวมทั้งงดใช้สมุนไพรชนิดนี้หลังการผ่าตัดด้วยเช่นกัน จนกว่าแพทย์การรักษาคุณจะอนุญาตอีกครั้ง

 

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ ต้นขี้กาเทศ มีอะไรบ้าง

  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
  • ส่งผลกระทบต่อความเสียหายของไต
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • อาการชัก
  • อัมพาต ร่างกายเคลื่อนไหวยาก
  • เสียชีวิต

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้ต้นขี้กาเทศ

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับต้นขี้กาเทศมีอะไรบ้าง

สมุนไพรชนิดนี้ อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือโรคประจำตัวปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้เสมอ

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับต้นขี้กาเทศ ได้แก่

  • ยาไดจอกซิน (Digoxin)
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
  • ยาขับน้ำ (ยาขับปัสสาวะ) เช่น คลอทาลิโดน (Chlortalidone) , ฟูโรซีไมด์ (furosemide) , ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) และอื่นๆ

ปกติแล้วควรใช้ต้นขี้กาเทศในปริมาณเท่าใด

ปริมาณที่แนะนำสำหรับอาการอักเสบของลำไส้อย่างรุนแรง

ควรใช้ในปริมาณ 300-800 มิลลิกรัม

สำหรับผู้ใหญ่ 

รับประทาน 10 หยด วันละ 3 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์

สำหรับเด็ก

เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ให้รับประทาน 10 หยด วันละ 3 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของแพทย์

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานเท่านั้น

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

ต้นขี้กาเทศอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ต้นขี้กาเทศชนิดผง
  • ต้นขี้กาเทศชนิดยาน้ำ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Colocynth. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-798-colocynth.aspx?activeingredientid=798&activeingredientname=colocynth. Accessed March 26, 2017.

Colocynth. https://examine.com/supplements/citrullus-colocynthis/. Accessed March 26, 2017.

Colocynth https://www.rxlist.com/colocynth/supplements.htm Accessed March 26, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถังเช่า (Cordyceps)

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา