backup og meta

งาขี้ม้อน (Perilla)

งาขี้ม้อน (Perilla)

งาขี้ม้อน (Perilla) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Perilla frutescens (L.) Britton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum frutescens L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ส่วนต่างๆ ของต้นงาขี้ม้อนสามารถนำมาสกัดเป็นยาเพื่อใช้บรรเทาและรักษาอาการทางสุขภาพต่างๆ ได้

การใช้ประโยชน์ งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน (Perilla) ใช้ทำอะไร

ใบและเมล็ดของงาขี้ม้อนมีสรรพคุณทางยา สามารถนำมาทำเป็นยาเพื่อรักษาอาการทางสุขภาพ ดังนี้

  • โรคหอบหืด
  • คลื่นไส้
  • ไหม้แดด
  • เหงื่อออกมาก
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ป้องกันอาการภูมิแพ้
  • ต้านทานการอักเสบ
  • ภาวะผอมหุ้มกระดูก
  • ป้องกันมะเร็ง

งาขี้ม้อนอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของท่าน

การทำงานของงาขี้ม้อนเป็นอย่างไร

มีการศึกษาบางชิ้นชี้ว่างาขี้ม้อนมีสารเคมีซึ่งอาจลดอาการบวมและมีผลต่อสารเคมีอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด อย่างไรก็ตาม  งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของงาขี้ม้อนยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้งาน

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ งาขี้ม้อน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในงาขี้ม้อนยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับงาขี้ม้อนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

งาขี้ม้อนมีความปลอดภัยแค่ไหน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้งาขี้ม้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

งาขี้ม้อนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา

งาขี้ม้อนอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

งาขี้ม้อนอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณทานหรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนเสมอ

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับงาขี้ม้อน ได้แก่:

  • สูตรต้มใบงาขี้ม้อน: ขนาดยาที่แนะนำคือ 6 กรัมต่อวัน ขนาดยาที่แนะนำคือ 3 ถึง 12 กรัมต่อวันเมื่อต้มร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ
  • ยาต้มงาขี้ม้อน: ขนาดยาที่แนะนำคือ 3 ถึง 15 กรัมต่อวัน เมล็ดมักจะผัดและบดเพื่อช่วยให้สารส่วนประกอบละลายออกมา
  • ชาใบงาขี้ม้อน: ขนาดยาที่แนะนำคือ 16 กรัมของสมุนไพรใช้ดื่มตลอดทั้งวันเพื่อใช้รักษาอาการไข้หวัด เจ็บคอ และคัดจมูก
  • สารสกัดจากงาขี้ม้อน: สารสกัดที่มีสารโรสมารินิก (Rosmarinic) 200 มก. ใช้เพื่อรักษาอาการแพ้ตามฤดูกาล
  •  น้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อน: ใช้สำหรับรักษาโรคหอบหืดนานหลายสัปดาห์นานต่อเนื่องกัน

ขนาดการใช้งาขี้ม้อนอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้งาขี้ม้อนไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

ขนาดการใช้

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ปกติแล้วควรใช้งาขี้ม้อนในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้งาขี้ม้อนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

งาขี้ม้อนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • เจล
  • น้ำมัน
  • ชา
  • ยาต้ม
  • สารสกัด
  • ผง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Perilla. http://www.itmonline.org/articles/Perilla/Perilla.htm. Accessed December 6, 2016.

Perilla. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-477-Perilla.aspx?activeingredientid=477&activeingredientname=Perilla. Accessed December 6, 2016.

Perilla. https://www.drugs.com/npp/Perilla.html. Accessed December 6, 2016.

Perilla. http://www.naturalfoodproducts.net/ns/DisplayMonograph.asp?storeID=02356BF54A4A4148A27AB680810376CD&DocID=perilla. Accessed December 6, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/08/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เหงื่อออกมาก คุณอาจเป็นยิ่งกว่าขี้ร้อน

คลื่นไส้และอาเจียน (Nausea and Vomiting)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา