backup og meta

7 สมุนไพรต้านไวรัส ที่คุณควรรีบหามาดูแลสุขภาพด่วน!

7 สมุนไพรต้านไวรัส ที่คุณควรรีบหามาดูแลสุขภาพด่วน!

ปัจจุบันมีการค้นพบเชื้อไวรัสมากกว่า 400 ชนิด ซึ่งก่อให้เกิดโรคติดเชื้อจากไวรัสต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีโบลา โรคพิษสุนัขบ้า โรคเมอร์ส (MERS) โรคซาร์ส (SARS) รวมถึงโรคโควิด-19 ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้คุณป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อไวรัสด้วยการฉีดวัคซีน การออกกำลังกาย เป็นต้น และอีกหนึ่งวิธีที่ Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้คุณลองก็คือ การบริโภค สมุนไพรต้านไวรัส 7 ชนิดนี้ เป็นประจำ ในปริมาณที่เหมาะสม รับรองทำแล้วร่างกายจะแข็งแรงขึ้น ความเสี่ยงในการติดไวรัสลดลงแน่นอน

7 สมุนไพรต้านไวรัส ที่คุณไม่ควรพลาด

1. ออริกาโน

ออริกาโน (Oregano) เป็นพืชตระกูลเดียวกับมินต์หรือสะระแหน่ และเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้อาหารตะวันตกหลากหลายเมนู ที่เราพบได้บ่อยๆ ก็น่าจะเป็นออริกาโนแห้งที่ใช้โรยหน้าพิซซ่านั่นเอง สมุนไพรชนิดนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติให้กับอาหารจานโปรดของคุณ แต่ยังขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา แพราะมีสารพฤกษเคมีมากมาย โดยเฉพาะคาร์วาครอล (carvacrol) ที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสและเชื้อรา โดยไม่รบกวนการทำงานของยาปฏิชีวนะอื่นๆ

ผลการศึกษาวิจัยในห้องทดลองชี้ว่า ทั้งน้ำมันออริกาโนและสารสกัดคาร์วอครอลช่วยลดการทำงานของโนโรไวรัส (Norovirus)ในหนูได้ภายในเวลาเพียงแค่ 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า โนโวไวรัสในหนูนั้นคล้ายคลึงกับโนโวไวรัสในมนุษย์ ฉะนั้น ผลลัพธ์ในมนุษย์ก็น่าจะใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ งานศึกษาวิจัยอีกหลายชิ้นยังชี้ให้เห็นว่า ออริกาโนนั้นมีฤทธิ์ต้านไวรัสได้อีกหลายชนิด เช่น ไวรัสเริมชนิดที่ 1 หรือ เอชเอสวี-1 (Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-1) ไวรัสโรต้าซึ่งเป็นสาเหตุของท้องร่วง ไวรัสอาร์เอสวีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

2. กระเทียม

บางคนอาจไม่ชอบกินกระเทียมเพราะมีกลิ่นฉุน แต่หากอยากให้คุณมองข้ามข้อเสียนี้และลองเปิดใจบริโภคกระเทียมดู เพราะกระเทียมเป็นอีกหนึ่ง สมุนไพรต้านไวรัส ชั้นยอด โดยงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ที่เป็นหูดหงอนไก่จำนวน 23 คน พบว่า การทาสารสกัดกระเทียมบริเวณหูดวันละ 2 ครั้ง ช่วยจำกัดหูดได้ภายใน 1-2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาวิจัยที่ระบุว่า กระเทียมอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอและสายพันธุ์บี ไวรัสเอชไอวี ไรโนไวรัส และโรคปอดอักเสบจากไวรัส อีกทั้งยังพบว่า กระเทียมช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยการช่วยเพิ่มเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถรับมือกับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้นอ

3. พืชตระกูลกะเพรา-โหระพา

พืชตระกูลกะเพรา-โหระพา เช่น โหระพา กะเพรา แมงลัก จัดเป็น สมุนไพรต้านไวรัส ที่เราสามารถหามาบริโภคได้ง่ายมาก จะนำไปประกอบอาหาร เช่น ผัดกระเพาะ แกงเลียง หรือกินเป็นผักแกล้มน้ำพริก ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกก็ได้

งานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณในการต้านไวรัสของพืชตระกูลนี้นั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาวิจัยในห้องทดลองชิ้นหนึ่งพบว่า สารสกัดโหระพามีสารประกอบ เช่น อะพิจีนีน (Apigenin) กรดยูโซลิก (Ursolic acid) ที่มีสรรพคุณในการต่อต้านไวรัสเริม ไวรัสตับอักเสบบี เอนเทอโรไวรัส

งานวิจัยอีกชิ้นพบว่า กะเพราช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน จึงอาจช่วยต้านการติดเชื้อไวรัสได้ เนื่องจากเมื่อนักวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจำนวน 24 คน กินอาหารเสริมสารสกัดกะเพราติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า จำนวนเซลล์ทีเฮลเปอร์ (T helper cell) และเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีกว่าเซลล์เม็ดขาวทั่วไปมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

4. ชะเอมเทศ

ชะเอมเทศ (Licorice) ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่ครั้งอดีต เนื่องจากมีสารประกอบหลายชนิดที่มีสรรพคุณในการต้านไวรัสได้ เช่น ไกลเซอร์ไรซิน (Glycyrrhizin) ลิไคริทิจีนิน (Liquiritigenin) กลาบิดิน (Glabridin)

อีกทั้งงานศึกษาวิจัยในห้องทดลองชิ้นหนึ่งยังพบว่า สารสกัดจากรากชะเอมเทศสามารถต้านไวรัสเอชไอวี ไวรัสอาร์เอชวี ไวรัสเริม และไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) ได้ด้วย

5. ขิง

ขิงเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ขึ้นชื่อเรื่องเป็น สมุนไพรต้านไวรัส เนื่องจากมีสารประกอบ เช่น จินเจอรอล (Gingerol) ซิงเจอโรน (Zingerone) ที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส และช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์

งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า สารสกัดขิงช่วยต้านไวรัสไข้หวัดนก ไวรัสอาร์เอสวี และไวรัสคาลิไซในแมว (FCV) ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโนโวไวรัสในคนได้ด้วย

6. เปปเปอร์มินต์

เปปเปอร์มินต์ (Peppermint) เป็นพืชในตระกูลเดียวกับสะระแหน่ มีสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ เช่น เมนทอล กรดโรสมารินิค (Rosmarinic Acid) ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นสารขับเหงื่อชั้นยอด จึงนิยมนำมาบริโภคเพื่อขับเหงื่อเวลาเป็นไข้ด้วย โดยคุณสามารถหาเปปเปอร์มินต์มาบริโภคได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ใบสด ใบแห้ง ชา น้ำมันหอมระเหย

7. โสม

โสมเป็นอีกหนึ่ง สมุนไพรต้านไวรัส ที่นิยมนำมาใช้ในตำราแพทย์แผนตะวันออก เนื่องจากมีสารประกอบกลุ่มจินเซนโนไซด์ (Ginsenoside) ที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสามารถต้านไวรัสได้หลายชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โนโรไวรัส ไวรัสตระกูลคอกแซกกี้ (Coxsackie virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อรุนแรง อย่างโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือใช้ยาบางชนิด เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจบริโภค สมุนไพรต้านไวรัส ทั้ง 7 ชนิดนี้ และควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะด้วย จะได้ช่วยเสริมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ

 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

15 Impressive Herbs with Antiviral Activity. https://www.healthline.com/nutrition/antiviral-herbs#3.-Basil. Accessed April 24, 2020

Prime Your Wellness: 10 Herbs Studied for Antiviral Activity. https://www.happyherbcompany.com/12-herbs-being-studied-for-antiviral-activity/. Accessed April 24, 2020

Top Ten Natural Anti-Viral Agents. https://oand.org/uncategory/top-ten-natural-anti-viral-agents/. Accessed April 24, 2020

Use Antiviral Herbs to Boost Immune System and Fight Viruses. https://draxe.com/nutrition/antiviral-herbs/. Accessed April 24, 2020

What Are Antiviral Herbs?. https://learningherbs.com/remedies-recipes/antiviral-herbs/. Accessed April 24, 2020

Chapter 7 – Herbal extracts as antiviral agents. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128147009000078. Accessed April 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/03/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็ดมือด้วยกระดาษชำระ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ เพื่อหยุดการกระจายเชื้อไวรัส

คุณมีโอกาสเสี่ยง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 17/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา