backup og meta

รู้หรือไม่? การ สวดมนต์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

รู้หรือไม่? การ สวดมนต์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

การ สวดมนต์ ถือว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาหลักธรรมในรูปแบบของการสวดมนต์ นอกจากนี้เสียงที่เปล่งออกมาขณะนั่งสวดมนต์ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ ค่ะ

สวดมนต์ พุทธคุณบำบัดจิตใจ 

การ สวดมนต์ ในทางศาสนพุทธ  หรือทางภาษาธรรมที่เรียกว่า พุทธวจนะ คือการสวดมนต์เพื่อถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเราสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเช้า-เย็น ไม่เพียงแต่ส่งผลดีทางด้านสุขภาพจิตใจ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม การสวดมนต์ของทุกศาสนา ถือได้ว่าเป็นการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยอานิสงส์ของการสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะในศาสนาไหนก็ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ฝึกสมาธิ บำรุงสุขภาพหัวใจ ปรับสมดุลระบบการหายใจ  ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเศร้า ช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจ เป็นต้น 

สวดมนต์บำบัดสุขภาพกาย-สุขภาพใจ

ดร.นพ.ธวัชชัย อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การสวดมนต์นั้น ถือเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะบำบัดโรคได้  ซึ่งการสวดมนต์นั้นไม่ได้เพียงแต่จะช่วยบำบัดทางด้านสุขภาพใจแต่ยังบำบัดทางด้านสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี 

 การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy เป็นการใช้คุณสมบัติของคลื่นเสียงบางคลื่นที่มีความสม่ำเสมอมาบำบัดความเจ็บป่วย หากสวดมนต์ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีคุณสมบัติ ช่วยควบคุมความหิว ควบคุมอารมณ์  

อย่างไรก็ตาม ได้มีผลการศึกษา การวิจัยที่ระบุว่า หลักการของ Vibrational Therapy ในการสวดมนต์ สามารถช่วยบำบัดสุขภาพได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น รักษาโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ภาวะเครียด ซึมเศร้า เป็นต้น 

เคล็ดลับในการสวดมนต์ 

เคล็ดลับในการสวดมนต์ มีดังต่อไปนี้ 

  • หลีกเลี่ยงการสวดมนต์หลังรับประทานอาหารเสร็จทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายผ่อนคลาย (เวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าและก่อนเข้านอน)
  • สถานที่ที่ใช้ในการสวดมนต์ ควรเป็นสถานที่ที่สงบ 

จากบทความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าอานุภาพของการสวดมนต์นั้นมีมากมายจริง ๆ แต่ถึงแม้ว่าการสวดมนต์จะมีคุณประโยชน์มากเพียงใด เราก็ต้องปฏิบัติตั้งอยู่ในความสม่ำเสมอและพอดี เช่น เลือกสวดมนต์ในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เคร่งครัดตัวเองมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

ทั้งนี้ ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สากล ที่ยืนยันว่าการสวดมนต์สามารถบำบัดสุขภาพกายและใจได้ ตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ในต่างประเทศได้มีงานวิจัยที่ใกล้เคียงกัน ที่น่าจะเป็นต้นแบบในงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการสวดมนต์ต่อร่างกายในอนาคตต่อไป

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในเวบไซต์ PLoS One ในปี ค.ศ. 2017 กล่าวว่าผู้ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำ มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้เข้าโบสถ์ถึง 55% โดยติดตามวัดผลเป็นเวลาถึง 18 ปี

และงานวิจัยในเวบไซต์ JAMA Internal Medicine ในปี ค.ศ. 2016 กล่าวว่าหญิงที่ไปโบสถ์อย่างต่ำสัปดาห์ละครั้ง มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่ค่อยได้เข้าโบสถ์ถึง 33% โดยติดตามวัดผลเป็นเวลาถึง 16 ปี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Does Prayer Help or Harm Your Health?. https://www.healthline.com/health-news/does-prayer-help-or-harm-your-health#:~:text=And%20there’s%20research%20showing%20that,more%20serious%20complications%2C%20including%20death.

. Accessed  December 14 2020.

The Benefits of the Metta Prayer. https://www.yogaflavoredlife.com/the-benefits-of-the-metta-prayer/ Accessed  December 14 2020.
How Prayer Strengthens Your Emotional Health

https://www.everydayhealth.com/emotional-health/power-of-prayer.aspx Accessed  December 14 2020.

แพทย์แผนไทยปลุกกระแสประชาชนรวมพลังคนสวดมนต์กว่า 1,000 คน. https://www.dtam.moph.go.th/index.php/en/news/dtam-news/603-pr0316.html. Accessed  December 14 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/12/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ อาหารที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง มีอะไรบ้าง?

การเมตตาตนเอง (Self-Compassion) กุญแจสำคัญ สู่ชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา