backup og meta

จิตแพทย์ งานที่มากกว่าการรักษาและบำบัดผู้ป่วยจิตเวช

จิตแพทย์ งานที่มากกว่าการรักษาและบำบัดผู้ป่วยจิตเวช

องค์การอนามัยโลกนิยามความหมายของคำว่า “สุขภาพจิต” ไว้ว่า “สุขภาวะทางสังคม จิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหรือร่างกายไม่อ่อนแอเท่านั้น” โดยปกติ หากพบว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องอารมณ์ หรือสุขภาพทางจิต ควรต้องไปปรึกษา จิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แต่ปัจจุบันยังมีคนอีกมากมายที่ไม่กล้าเข้าพบจิตแพทย์ เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าตัวเองเป็นบ้า ดังนั้น Hello คุณหมอจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาชีพจิตแพทย์ให้มากขึ้น เพราะความจริงแล้ว จิตแพทย์ ไม่ใช่แค่รักษาหรือบำบัดคนบ้าอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ

[embed-health-tool-heart-rate]

จิตแพทย์ คือใคร

จิตแพทย์ ตามคำนิยามของแพทยสภา คือ แพทย์ผู้ที่ผ่านการอบรม สอบได้วุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตรทางด้านจิตเวช ส่วนความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ

จิตแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการรับมือกับโรคหรือปัญหาด้านจิตวิทยา ที่มีปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นองค์ประกอบ เมื่อพูดถึงการรักษาโรค หลายคนยังเข้าใจผิดว่า จิตแพทย์รักษาเฉพาะ “คนบ้า” หรือ “คนสติไม่ดี” เท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่แบบนั้น เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานกับภาพหลอนต่าง ๆ และเป็นเพียงส่วนน้อยของผู้ป่วยด้านจิตเวช ที่จริงแล้ว คนจำนวนมากมีโรคทางจิตบ้างไม่มากก็น้อยอยู่แล้ว และอาการเหล่านี้ก็สามารถรักษาได้โดยจิตแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเพียงเล็กน้อยสามารถหายได้และไม่กลับมาเป็นอีก

หลายคนมักพบจิตแพทย์เวลาที่เจอปัญหาในที่ทำงาน มีปัญหาเรื่องคู่ครองหรือความสัมพันธ์ และแม้แต่มีข้อกังวลเกี่ยวกับยา คนไข้เหล่านี้อาจประสบกับอาการต่าง ๆ รวมถึง ความวิตกกังวล ความเศร้า รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรงและเหนื่อยล้า หรืออารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อาการอย่างอื่นอาจรวมถึงการนอนหลับยาก ไม่มีสมาธิหรือกินไม่เป็นเวลา ในบางกรณี อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้น และอาจรวมถึงการสร้างภาพหลอน หรือการฆ่าตัวตาย หรือลงมือก่อคดีฆาตกรรม

ใครบ้างที่ควรไปพบ จิตแพทย์

จิตแพทย์ให้บริการได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการจัดการ และการรักษาที่เกี่ยวกับปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ จากการพูดคุยกับคนไข้และการรักษาครั้งแล้วครั้งเล่า จิตแพทย์สามารถระบุถึงต้นตอปัญหาได้ และยังแนะช่องทางในการรักษา หากช่องทางนั้นเหมาะสำหรับคนไข้

ยิ่งไปกว่านั้น จิตแพทย์ยังมีความรู้ในการอธิบายความเสี่ยงและประโยชน์ในการรักษาด้วยยา และปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นต่อยาอื่นๆ ที่คนไข้กำลังใช้ จิตแพทย์สามารถตรวจสุขภาพร่างกาย และการตรวจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เพื่อตรวจดูว่า มีเหตุผลด้านร่างกายอื่นๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุของการป่วย หรือความไม่สมดุลย์ของสารเคมีในร่างกายอันนำไปสู่ความเครียดด้านอารมณ์หรือไม่ กระนั้น จิตแพทย์ยังสามารถทำการรักษาตามที่เห็นสมควรได้อีกด้วย

สุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโดยจิตแพทย์อาจรวมถึง

  • ความวิตกกังวล (Anxiety)
  • โรคซึมเศร้าและโรคบุคคลสองบุคคลิก (Depression and Bipolar Disorder)
  • ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
  • โรคกลัว อาการกลัวหรือโฟเบีย
  • โรคเกี่ยวกับการกินอาหาร (เช่น โรคอะนอเร็กเซีย หรือ โรคคลั่งผอม และโรคบูลิเมีย หรือโรคล้วงคอหลังกินอาหาร)
  • โรคเกี่ยวกับการนอน (เช่น โรคนอนไม่หลับ)
  • โรคทางเพศ
  • การติดสุราหรือยาเสพติด
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD)
  • ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ
  • โรคจิตเภทและหวาดระแวง

จิตแพทย์อาจให้กำลังใจแก่คนไข้ที่มีโรคทางด้านร่างกาย ในบางกรณี จิตแพทย์พบได้ว่า คนไข้บางรายจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาบำบัดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

กล่าวโดยสรุปก็คือ จิตแพทย์รักษาโรคและความผิดปกติทางด้านจิตใจในหลากหลายมิติ และหลายระดับอาการ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงและเรื้อรัง การจัดการกับคนไข้ อาจขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของคนไข้เอง การรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญมาก และการขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นอันตรายต่อคนไข้อย่างยิ่ง และจะทำให้การรักษาปัจจุบันไม่มีประสิทธิผลอีกด้วย การให้บริการทางจิตเวชโดยจิตแพทย์หรือแผนกจิตเวชที่ให้ต่อชุมชนนั้น รวมถึงการเฝ้าสังเกตุและติดตามพฤติกรรมคนไข้ การตรวจสุขภาพ การพูดคุยให้คำปรึกษาในชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต และช่วยให้คนไข้หายจากอาการทางจิตต่างๆ และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

การให้บริการของจิตแพทย์หรือแผนกจิตเวชในคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ มุ่งช่วยเหลือให้คนไข้จัดการความเจ็บป่วยของตัวเอง เพื่อที่ว่า คนไข้เองจะได้ใช้ชีวิตอย่างปกติ ถึงแม้ว่า ยังมีอาการเจ็บป่วยอยู่บ้างก็ตาม และทำประโยชน์ต่อสังคมและไม่ถูกรังเกียจจากสังคม

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Psychiatry. https://www.psychiatry.org/patients-families/what-is-psychiatry. Accessed December 21, 2016

Psychiatry, Psychology, Counseling, and Therapy: What to Expect. http://www.webmd.com/mental-health/guide-to-psychiatry-and-counseling. Accessed December 21, 2016

Psychologist. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/serviceprofiles/psychologist-service. Accessed August 3, 2023.

Clinical psychologist. https://www.healthcareers.nhs.uk/explore-roles/psychological-therapies/roles/clinical-psychologist. Accessed August 3, 2023.

What do practicing psychologists do? https://www.apa.org/topics/psychotherapy/about-psychologists. Accessed August 3, 2023.

Psychiatrists and psychologists. https://www.healthdirect.gov.au/psychiatrists-and-psychologists. Accessed August 3, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/08/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา