backup og meta

แปลกแต่จริง โรคชอบจุดไฟ โรคอันตราย ที่อาจทำให้กลายเป็นนักลอบวางเพลิง

แปลกแต่จริง โรคชอบจุดไฟ โรคอันตราย ที่อาจทำให้กลายเป็นนักลอบวางเพลิง

จากข่าวปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ที่ออสเตรเลีย ที่สามารถรวบตัวผู้กระทำผิดฐานเจตนาลอบวางเพลิงได้มากถึง 24 คน และมีอีกกว่าร้อยคนที่ถูกจับเนื่องจากพัวพันกับการลอบวางเพลิง ทำให้เราทราบว่า แม้ว่าจะเกิดปัญหาใหญ่อย่างไฟป่า ที่ทำให้เกิดความเดือนร้อน และพรากชีวิตของสัตว์ป่าไปเป็นจำนวนมาก ก็ยังคงมีคนที่อยากจะร่วมลงมือจุดไฟ และทำให้ไฟป่านั้นลุกลามไปมากกว่าเดิมอยู่ดี โดยที่คนเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่เป็น โรคชอบจุดไฟ

โรคชอบจุดไฟ คืออะไร

โรคชอบจุดไฟ (Pyromania) เป็นความผิดปกติทางจิตที่หายากชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือ มักจะพยายามจุดไฟ ก่อไฟ หรือวางเพลิงโดยเจตนา และหลายครั้ง คนที่เป็นโรคชอบจุดไฟนั้นจะหลงใหลชื่นชอบในไฟและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจุดไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ พวกเขาจะรู้สึกพอใจ และได้ปลดปล่อยความเครียดจากการจุดไฟ

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับล่าสุด (DSM-5) ได้จำแนกโรคชอบจุดไฟให้อยู่ในกลุ่ม Disruptive, Impulse-Control, and Conduct Disorders หมายถึง กลุ่มโรคที่มีลักษณะเด่นคือ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เกิดความขัดแย้งกับสิทธิของผู้อื่น หรือบรรทัดฐานของสังคม

จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคชอบจุดไฟ

โรคชอบจุดไฟนั้น สามารถพบได้ทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่ และมักจะพบได้ในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ที่ขาดทักษะทางสังคม โดยการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟนั้น สามารถทำได้โดยการอิงตามเกณฑ์ของ DSM-5

DSM-5 ได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคชอบจุดไฟดังต่อไปนี้

  • ชื่นชอบไฟ
  • ชอบจุดไฟบ่อยๆ
  • รู้สึกตื่นเต้นอย่างรุนแรงก่อนที่จะจุดไฟ และจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นหลังจากจุดไฟ
  • ไฟที่จุดขึ้นนั้นไม่มีได้ก่อประโยชน์ หรือมีจุดประสงค์ใดเป็นพิเศษ
  • พกไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น
  • เผาสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ หรือกระดาษ

บางคนที่เป็นโรคชอบจุดไฟ อาจจะหมกหมุ่นอยู่กับไฟ จนชอบที่จะไปอยู่ในสถานที่ที่มีไฟ โดยเฉพาะบริเวณที่มีไฟไหม้ หรืออาจจะหมกหมุ่นอยู่กับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับไฟ เช่น พนักงานดับเพลิง และอาจจะชอบแจ้งเหตุไฟไหม้แม้ว่าจะไม่มีไฟไหม้เกิดขึ้นจริงก็ตาม

เป็นโรคชอบจุดไฟ ต้องกลายเป็นนักวางเพลิง จริงเหรอ

แม้ว่าผู้ที่เป็นโรคชอบจุดไฟ มักจะชอบพกไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก และอุปกรณ์สำหรับจุดไฟจำนวนมากติดตัวไว้ และชอบที่จะจุดไฟเผาสิ่งของต่างๆ จนทำให้ดูเหมือนคนน่าสงสัย ที่จะก่อคดีวางเพลิง แต่จริงๆ แล้ว การเป็นโรคชอบจุดไฟ ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะต้องก่อคดีลอบวางเพลิงเสมอไป

คนที่เป็นโรคชอบจุดไปส่วนใหญ่จะไม่มีความต้องการที่จะทำร้ายผู้อื่น การต้องการในการจุดไฟของพวกเขานั้นมาจากความชื่นชอบและสัญชาติญาณเพียงเท่านั้น แต่นักลอบวางเพลิงนั้นจะก่อเหตุขึ้นเพราะมีจุดประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อการล้างแค้น หรือเพื่อเงิน เป็นการกระทำที่มีเจตนาร้ายแฝงอยู่

รักษาอย่างไรจึงจะหายดี

โรคชอบจุดไฟนั้นไม่ใช่โรคที่สามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยาเพียงตัวเอง แพทย์มักจะเลือกใช้การรักษาในรูปแบบต่างๆ ผสมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

กุญแจสำคัญของการรักษา อยู่ที่การทำบำบัดโดยใช้เทคนิคการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) วิธีการนี้จะสอนให้ผู้ป่วยสามารถตระหนักถึงความรู้สึกที่อาจนำไปสู่ความต้องการในการจุดไฟ และเรียนรู้วิธีการปลดปล่อยความรู้สึกนั้นโดยใช้วิธีที่ปลอดภัยที่สุด

นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะให้ใช้ยาอื่นร่วมด้วย เช่น

การรีบรักษาผู้ที่เป็นโรคชอบจุดไฟตั้งแต่เริ่มสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ และการสูญเสียของผู้คนได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นคนในครอบครัวจึงควรคอยให้การสังเกตดูว่ามีใครในครอบครัวที่ชื่นชอบหรือหมกหมุ่นกับไฟเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างทันท่วงที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is Pyromania a Diagnosable Condition? What the Research Says https://www.healthline.com/health/pyromania.Accessed 16 January 2020
Pyromania https://www.psychologytoday.com/intl/conditions/pyromania.Accessed 16 January 2020
Pyromania Causes and Treatment https://www.verywellmind.com/what-is-a-pyromaniac-4160050.Accessed 16 January 2020
PYROMANIA https://www.gulfbend.org/poc/view_doc.php?type=doc&id=576&cn=114.Accessed 16 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง

ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา