backup og meta

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง

เคยดูข่าวแล้เกิดความสงสัยกันบ้างหมคะว่า บางคนรวยมาก มีทรัพย์สินเป็นพันล้าน บางคนเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงๆ แต่ยังมีข่าวเรื่องการขโมยของ ซึ่งสิ่งของที่ขโมยนั้นมีมูลค่าเพียงหลักร้อยถึงหลักพันเท่านั้น เป็นเพราะว่าเขาเหล่านั้นอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็น โรคชอบขโมยของ ฟังดูชื่อโรคแล้วอาจจะไม่คุ้นหู เป็นโรคที่แปลกและมีอยู่จริง แต่จะมีลักษณะอาการเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คืออะไร?

โรคชอบขโมยของ (Kleptomania) คือ อาการป่วยทางจิตเป็นโรคเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางสมอง  โดยสมองมีการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) น้อยลง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ไม่สามารถยับยั้งใจต่อแรงกระตุ้นที่จะลักขโมยได้ผู้ป่วยยังสามารถมีอาการทางจิตอื่นๆร่วมด้วยได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตหวาดระแวง เป็นต้น

ไขข้อข้องใจ สาเหตุอะไร ที่ทำให้เป็นโรคชอบขโมยของ

ผู้ป่วยโรคชอบขโมยของเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง จนอาจเสี่ยงเป็นโรคภาวะซึมเศร้า โดยมีสาเหตุดังนี้

อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคชอบขโมยของ

  • มีความสุขทุกครั้งที่ได้หยิบฉวยสิ่งของหรือขโมยของจากผู้อื่น
  • เวลาเครียด หรือ มีปัญหา เพียงได้ขโมยของเล็กๆน้อยๆ จะทำให้รู้สึกดีขึ้นมาทันที
  • หลังจากขโมยของไปแล้วจะมีความรู้สึกผิดทางใจ รู้สึกเสียใจทีหลังกับสิ่งที่ทำลงไป
  • ไม่สามารถห้ามใจตัวเองขณะหยิบของได้

วิธีการรักษา

ผู้ป่วยเป็นโรคชอบขโมยของมีวิธีการรักษา แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

  • การใช้ยาบำบัดร่วมกับการบำบัดทางจิตใจโดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา ใช้วิธีอธิบายถึงผลเสียของพฤติกรรมการลักขโมย ทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงพฤติกรรมดังกล่าวที่ส่งผลเสียต่อตนเอง
  • การใช้ยาในการบำบัดเพิ่มควบคุมการหลั่งสารเคมีในสมอง โดยสารเพิ่มเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ลดความเสี่ยงจากภาวะเครียด ซึมเศร้า อาจเป็นการเพิ่มความรู้สึกให้ผู้ป่วยรู้ถึงผลเสียของการขโมยของ

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมชอบขโมยของ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคชอบขโมยของเสมอไป แต่อาจจะเป็นคนที่มีนิสัยขี้ขโมยหรือชอบต่อต้านสังคม ดังนั้น หากคุณพบว่าตัวเองมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคชอบขโมยของ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของเรานะคะ

Hello Health Groupม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Kleptomania. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kleptomania/symptoms-causes/syc-20364732. Accessed 03 January, 2020

What is stealing? https://www.healthline.com/health/stealing. Accessed 03 January, 2020

Kleptomania and Potential Exacerbating Factors. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3225132/. Accessed 03 January, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

พฤติกรรมและอาการแปลกๆ สัญญาณเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่ โรคจิตเภท


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา