ในอดีต หลายสังคมถูกขับเคลื่อนด้วยแนวคิดชายเป็นใหญ่ ซึ่งส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของ ผู้ชาย และจำกัดสิทธิ์ของผู้หญิงไว้ อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าสู่ยุคปัจจุบันแล้ว แต่แนวคิดแบบชายเป็นใหญ่ยังคงมีอยู่ในสังคมซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทั้งผู้ชายและผู้หญิง ดังนั้น ผู้ชายจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่เชื่อมโยงกับแนวคิดชายเป็นใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมไม่ว่าจะเป็นเพศใด และใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของทุกคนในสังคม
[embed-health-tool-bmi]
ทำไมผู้ชายควรเปลี่ยนความคิด
ในอดีต หลาย ๆ สังคมในโลกปกครองและเติบโตภายใต้วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ กล่าวคือ เพศชายมีอภิสิทธิ์เหนือเพศหญิงและเพศทางเลือกในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง แม้ในปัจจุบัน อิทธิพลจากแนวคิดในอดีตจะลดบทบาทลงไปมาก แต่วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่ยังคงมีอิทธิพลอยู่ สังเกตได้จาการสั่งสอนให้เด็กผู้ชายเข้มแข็ง ห้ามร้องไห้ และเป็นผู้นำ รวมถึงการให้ความสำคัญกับเศรษฐีและผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
แม้วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่จะส่งเสริมให้ผู้ชายได้เปรียบ แต่ในทางกลับกัน การยึดถือวิธีคิดแบบนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงให้สุขภาพจิตของผู้ชายแย่ลง เพราะต้องแบกรับความคาดหวังของสังคม ว่าผู้ชายต้องเข้มแข็ง เป็นผู้นำ อาจทำให้รู้สึกกดดันและเพิ่มความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
ทั้งนี้ ในแต่ละปี มีผู้ชายชาวอเมริกันประมาณ 6 ล้านคนได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้า โดยอัตราฆ่าตัวตายของผู้ชายชาวอเมริกันสูงกว่าผู้หญิงถึง 3.5 เท่า
การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับทุกเพศอย่างเท่าเทียมกันนอกจากจะมีประโยชน์ต่อผู้ชายในการลดแรงกดดันจากสังคมแล้ว ยังทำให้สังคมดีขึ้นเนื่องจากลดการเอารัดเอาเปรียบ ลดพฤติกรรมที่นิยมความรุนแรง รวมทั้งสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงขึ้นมาเป็นผู้นำในสังคม
แนวคิดของ ผู้ชาย ที่ควรเปลี่ยน มีอะไรบ้าง
แนวคิดต่าง ๆ ของ ผู้ชาย ที่เชื่อมโยงกับวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่และควรเปลี่ยนอาจเริ่มต้นจากแนวคิดหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- ผู้ชายต้องเข้มแข็งหรือห้ามแสดงความอ่อนแอออกมา แนวคิดนี้เป็นสาเหตุหนึ่งให้ผู้ชายรู้สึกกดดันหรือมีปัญหาสุขภาพจิต และแนวคิดนี้ยังส่งผลให้ผู้ชายบางคนไม่กล้าพูดคุยกับคนรอบข้างหรือไปพบจิตแพทย์ ซึ่งทำให้สุขภาพจิตของผู้ชายแย่ลงกว่าเดิม หากปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่จะทำให้ผู้ชายเข้าถึงการรักษาปัญหาสุขภาพจิตได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายในผู้ชายได้
- ผู้ชายเป็นเพศที่อดทนและแข็งแกร่งกว่าผู้หญิง แนวคิดนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะแม้ผู้หญิงส่วนใหญ่อาจจะแรงน้อยกว่าผู้ชาย แต่กล้ามเนื้อของผู้หญิงนั้นทนทานต่อความเหนื่อยล้ามากกว่า ดังนั้น จึงทำงานหนักเท่ากันได้ในระยะเวลาที่นานกว่าผู้ชาย นอกจากนั้น ผู้หญิงยังอดทนกว่าผู้ชายเมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบาก งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชายในภาวะอดอยากหรือโรคระบาดรุนแรง ตีพิมพ์ในวารสาร Yearbook of Pediatric Endocrinology ปี พ.ศ. 2561 นักวิจัยได้ศึกษาอัตรารอดชีวิตของผู้หญิงและผู้ชายเมื่อเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารและโรคระบาด ผลปรากฏว่า ผู้หญิงในทุกช่วงวัยมีอัตรารอดชีวิตมากกว่าผู้ชาย
- ขนาดองคชาตเป็นเรื่องสำคัญ ความจริงแล้ว ช่องคลอดของผู้หญิงสามารถยืดหยุ่นให้สอดรับกับขนาดขององคชาตได้ สิ่งที่สำคัญกว่าขนาดองคชาตต่อการมีเพศสัมพันธ์คือ ผู้ชายควรใส่ใจความรู้สึกและรสนิยมของคู่นอน รู้จักสร้างบรรยากาศและเล้าโลมเพื่อให้เกิดอารมณ์ความต้องการ รวมทั้งควรใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
- ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ ความเชื่อที่ว่าผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงมีความเป็นผู้นำไม่เท่าผู้ชาย ผู้หญิงเหมาะกับงานบ้านมากกว่างานออฟฟิศ หรือผู้หญิงมีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าผู้ชาย มีส่วนทำให้ผู้หญิงได้รับเลือกเป็นผู้นำน้อยกว่าผู้ชาย ถือเป็นแนวคิดที่ล้าหลังแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้ ผู้นำหญิงที่โดดเด่นในสังคมโลกมีอยู่จำนวนไม่น้อย เช่น กมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา แคธริน เจนเซน (Kathrin Jansen) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาวัคซีนของไฟเซอร์ อังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนี