backup og meta

ประโยชน์ของ รอยยิ้ม ที่ให้มากกว่าความสุข

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

    ประโยชน์ของ รอยยิ้ม ที่ให้มากกว่าความสุข

    โดยปกติแล้ว คนเรามักจะยิ้มเมื่อมีความสุข และรู้หรือไม่ว่า รอยยิ้ม ของคุณนั้น สามารถทำให้คนอื่นยิ้มตามและรู้สึกดีไปกับคุณได้ นอกจากนั้นแล้วรอยยิ้มยังเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดสำหรับคนอื่น ๆ รอบตัวคุณอีกด้วย แต่ความจริงแล้วประโยชน์ของรอยยิ้มนั้นไม่ได้มีแต่การสร้างความสุขให้กับตัวคุณเองและคนอื่น มันยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องของรอยยิ้มมาฝากกัน

    ประโยชน์ของรอยยิ้ม การยิ้ม

    รอยยิ้ม มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    จากการศึกษาหลายๆ ชิ้น ชี้ให้เห็นว่า การยิ้มนั้นสามารถยกระดับอารมณ์ของคุณและอารมณ์ของคนรอบข้างได้ นอกจากนั้นมันยังเชื่อมโยงกับสุขภาพที่ดี และการมีอายุยืน การยิ้มสามารถทำให้คุณได้รับประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพของคุณ ซึ่งนี่คือประโยชน์ทั้งหมดของรอยยิ้ม

    • รอยยิ้มเป็นเหมือนกาวที่ช่วยยึดความสัมพันธ์เอาไว้

    คนที่ใจดีและยิ้มแย้ม ถือเป็นคนที่น่ารัก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ชอบขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นการยิ้มยังทำให้ความสัมพันธ์ของชีวิตคู่นั้นยืนยาวขึ้นอีกด้วย ยิ่งถ้ายิ้มด้วยอารมณ์เชิงบวกจะทำให้ชีวิตการแต่งงานนั้นดีขึ้นอีกด้วย

    • รอยยิ้มทำให้คุณน่าสนใจ

    โดยปกติแล้ว คนเรามักจะถูกดึงดูดด้วยรอยยิ้ม ซึ่งมันเป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีการเชื่อมโยงกับการยิ้ม จึงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ ถ้าคนที่ชอบแสดงออกทางสีหน้าเชิงลบ เช่น ขมวดคิ้ว หน้าซีด และหน้าตาบูดบึ้ง จะเกิดผลตรงกันข้าม คือ ผลักดันคนให้ออกห่างจากตัวเรา ดังนั้น รอยยิ้มจึงใช้สำหรับการดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาหา นั่นเอง

    จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า รอยยิ้มนั้นอาจทำให้คนอื่นๆ มองว่าคุณอายุน้อยกว่าความเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว ผู้สูงวัยที่ยิ้มอย่างมีความสุขบนใบหน้า ยังดูอ่อนกว่าวัยอีกด้วย ส่วนคนที่หน้านิ่วคิ้วขมวด ใบหน้าของพวกเขามักจะดูแก่กว่าวัย

    • รอยยิ้มทำให้หัวใจมีความสุข

    เมื่อคุณมีรอยยิ้มปรากฏบนใบหน้า นั่นก็จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขตามไปด้วย นอกจากนั้น ยังทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง การผลิตฮอร์โมนคอร์ดิซอร์ (Cortisol) ลดลง ความเครียดลดลง และอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ชั่วคราวด้วย

    • รอยยิ้มช่วยบรรเทาความเครียด

    ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้จากทุกเรื่องที่อยู่รอบตัวคุณ และมันสามารถปรากฏขึ้นบนใบหน้าของคุณได้ รอยยิ้มไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันคุณจากอาการเหนื่อยล้า แต่มันยังสามารถช่วยลดความเครียดได้ด้วย เมื่อคุณเครียดลองใช้รอยยิ้มในการลดความเครียดของคุณและคนรอบข้างดูสิ

  • รอยยิ้มช่วยให้อายุยืน
  • ยิ่งคุณยิ้มมากเท่าไหร่ คุณก็จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นเท่านั้น จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเวย์นสเตต (Wayne State University) พบว่า รอยยิ้มนั้นนอกจากจจะทำให้คุณดูอ่อนกว่าวัยแล้ว ผู้ที่ยิ้มบ่อยๆ ดูเหมือนจะมีอายุมากขึ้นอย่างช้าๆ ประมาณ 3 ปี เมื่อเทียบกับผู้ที่มักจะยิ้มน้อย

    เมื่อคุณรู้สึกแย่ ลองพยายามยิ้มออกมา ซึ่งมันมีโอกาสที่จะทำให้คุณมีอารมณ์ที่ดีขึ้น เนื่องจากการยิ้มนั้นสามารถหลอกร่างกายของคุณ เพื่อช่วยในการยกระดับอารมณ์ของคุณ เพราะการยิ้มทางกายภาพนั้น เป็นการกระตุ้นการรับส่งข้อความในสมองของคุณ

    นอกจากนั้น รอยยิ้มที่เรียบง่าย ยังสามารถกระตุ้นการสื่อสารของระบบประสาท รวมถึงสารสื่อประสาทที่กระตุ้นอารมณ์ เช่น โดพามีน (Dopamine)  เซโรโทนิน (Serotonin) และเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งเอนเดอร์ฟินนั้นทำหน้าที่ในการบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติ และช่วยให้ร่างกายหลับได้ง่ายขึ้น บางครั้งรอยยิ้มก็เหมือนเป็นยาแก้ซึมเศร้าตามธรรมชาติอีกด้วย

  • รอยยิ้มช่วยให้การติดต่อสื่อสารดีขึ้น
  • รอยยิ้มถือเป็นภาษาที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ดี โดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษา และสัญชาติ เมื่อคุณยิ้มให้กับผู้คน หรือแม้กระทั่งคนแปลกหน้า พวกเขาก็มักจะยิ้มกลับมาเสมอ ซึ่งนั่นถือเป็นการกระจายความสุขและความปรารถนาดีต่อกัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้รอยยิ้มกับเด็ก ๆ เนื่องจากเด็ก ๆ มักจะยิ้มบ่อยตามธรรมชาตินั่นเอง

    • รอยยิ้มช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

    การยิ้มสามารถทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้น ทั้งยังช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเมื่อยิ้มแล้วคุณจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้นมันยังทำให้ความดันโลหิตลดลงได้อีกด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 05/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา