อ่านชื่อสูตรอาหารดูแล้วอาจทำความเข้าใจได้ค่อนข้างยากว่า ซอสถั่วลิสงนี้มีหน้าตาเป็นเช่นไร ซึ่งถ้าหากจะพูดให้เห็นภาพกันง่ายขึ้น นั่นก็คือ ซอสที่เอาไว้จิ้มกับหมูสะเต๊ะ ที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนั่นเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สูตรซอสถั่วลิสง ที่มาควบคู่กับคุณประโยชน์ดี ๆ ที่คุณควรรู้ พร้อมวิธีการทำแสนง่ายมาฝากทุก ๆ กันค่ะ
สูตรซอสถั่วลิสง
วัตถุดิบในการทำซอสถั่วลิสง
- ถั่วลิสงคั่วไม่ใส่เกลือ 1 ถ้วย
- น้ำสะอาด 1/3 ถ้วย
- กระเทียม 2 กลีบ (สับให้ละเอียด)
- ซีอิ๊วดำ ½ ช้อนชา
- น้ำมันงา 2 ช้อนชา
- น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว ½ ช้อนโต๊ะ
- พริกไทย 1 ช้อนชา
- กะทิ 1/3 ถ้วย
อุปกรณ์ในการทำ
- เครื่องปั่นไฟฟ้า
วิธีการทำซอสถั่วลิสง
ขั้นตอนในการทำซอสถั่วลิสงมีเพียงแค่คุณนำวัตถุดิบที่เตรียมทั้งหมด ลงไปในเครื่องปั่นไฟฟ้า และรอจนเนื้อซอสมีสีเนียนสวย ซึ่งคุณสามารถชิมรสชาติก่อนได้ว่าเป็นรสชาติที่คุณพึงพอใจหรือไม่ แล้วค่อยทำการปรุงเพิ่มให้ได้รสสัมผัสตามที่คุณต้องการ จากนั้นนำใส่ลงในภาชนะที่ทำการเตรียมไว้ทันที เพื่อนำไปรับประทานคู่กับอาหารแต่ละมื้อได้อย่างลงตัว
ประโยชน์ของการทานถั่วลิสง มีอะไรบ้าง
ถั่วลิสง เป็นแหล่งรวมวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญอย่างมากต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินอี วิตามินบี ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารดังกล่าวนั้น สามารถนำไปสู่การปรับปรุงที่ดีเยี่ยมแก่ปัญหาสุขภาพของคุณเหล่านี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
-
ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ
เนื่องจากถั่วลิสงมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งนับเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ จึงทำให้อาจส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจ อีกทั้งยังมีการศึกษาหนึ่งในปีค.ศ. 2014 พบว่า การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วลิสงในแต่ละวัน สามารถเข้าไปช่วยปรับปรุงการทำงานหัวใจได้ดีขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
-
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ถั่วลิสงมีสารอาหารยอดเยี่ยมที่สามารถช่วยควบคุมค่าดัชนีน้ำตาลในเลือด จึงทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้พุ่งสูงกว่าเดิม เพราะถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเมื่อใด ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเมื่อนั้น
-
ลดน้ำหนัก
ในการวิจัยหนึ่งได้ทำการทดสอบโดยให้อาสาสมัครที่ประสบกับโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วลิสง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผลการทดสอบพบว่า พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับน้ำหนักที่ลดลง
แต่ถึงอย่างไรการทานอาหารที่ดีนั้น ต้องรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายตามความถนัดของคุณร่วม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร และป้องกันภัยจากโรคอ้วนที่อาจตามมาได้
ถั่วลิสง สามารถส่งผลข้างเคียงได้อย่างไร
หากมีการรับประทานในปริมาณที่พอดี ล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร ก็อาจสามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้ แต่ก็ยังคงมีข้อกังวลเล็กน้อยสำหรับบางคน ซึ่งคุณจำเป็นอย่างมากที่ต้องรับรู้ไว้ถึงผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้เพื่อที่จะให้ได้รับการรักษาที่เท่าทันในกรณีที่อาการแพ้เกิดขึ้น
- แพ้พิษของอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ที่มาจากเชื้อราในถั่วลิสง
- ภูมิแพ้ถั่วลิสง (Peanut Allergy)
- ตับล้มเหลว
- ประสิทธิภาพการดูดซึมของอาหารลดลง
ทั้งนี้เมื่อใดที่คุณเกิดอาการแพ้อื่น ๆ ขึ้นนอกเหนือจากที่กล่าวมา โปรดรีบเข้ารักษาโดยแพทย์ในทันที เพราะหากเกิดปล่อยให้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้คุณนั้นเกิดอาการแพ้จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
[embed-health-tool-bmi]