backup og meta

ฮอร์โมนเกรลิน ฮอร์โมนแห่งความหิว ที่เราควรรู้จัก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/10/2020

    ฮอร์โมนเกรลิน ฮอร์โมนแห่งความหิว ที่เราควรรู้จัก

    ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่หลักคือการควบคุมความอยากอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยต่อมใต้สมองในการควบคุมอินซูลิน (Insulin) และช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับฮอร์โมนเกรลิน ว่ามีหน้าที่ทำอะไร และส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

    การทำงานของ ฮอร์โมนเกรลิน

    ฮอร์โมนเกรลินเป็นฮอร์โมนที่รู้จักกันดีในชื่อ “ฮอร์โมนแห่งความหิว” ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย แต่หน้าที่ของฮอร์โมนเกรลินที่ถูกพูดถึงมากคือ กระตุ้นความอยากอาหารและทำให้ร่างกายรู้สึกหิว การผลิตและการปล่อยฮอร์โมนเกรลินนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังสมอง ทำให้สมองสั่งการให้ร่างกายรู้สึกหิวและอยากอาหาร

    หน้าที่หลัก ๆ ของฮอร์โมนเกรลินคือการเพิ่มความอยากอาหารทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น เมื่อร่างกายได้รับอาหารมากก็จะได้รับแคลอรี่และมีไขมันกักเก็บได้มากตามไปด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หากมีการหลั่งฮอร์โมนเกรลินมากเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก

    สาเหตุที่ทำให้ ฮอร์โมนต์เกรลิน เพิ่มสูงขึ้น

    ฮอร์โมนแห่งความหิว เกรลิน เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาจากกระเพาะอาหารเมื่อเราท้องว่าง ช่วยกระตุ้นทำให้เรารู้สึกหิว แต่สำหรับบางคนที่รู้สึกหิวบ่อย ๆ หิวง่าย หรือแม้กระทั่งรู้สึกหิวแม้จะจะเพิ่งรับประทานอาหารเข้าไป อาจเป็นเพราะว่าฮอร์โมนเกรลินหลั่งมากขึ้น ซึ่งตัวการที่ทำให้ฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มขึ้นคือความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ ความวิตกกังวล

    ควบคุม ฮอร์โมนแห่งความหิว อย่างไรให้สมดุล และปกติ

    ฮอร์โมนเกรลินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญกับความหิวและความอิ่ม การลดระดับฮอร์โมนเกรลินอาจทำให้ร่างกายรู้สึกอยากอาหารน้อยลงและส่งผลทำให้น้ำหนักนั้นลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเกรลินเพียงอย่างเดียว อาจไม่ช่วยตัวชี้วัดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนัก แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับฮอร์โมนเกรลินลงนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติเหล่านี้

    ลดการบริโภคฟรุกโตส

    การบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟรุกโตส (Fructose) สูง อาจทำให้ฮอร์โมนเกรลินนั้นเพิ่มขึ้น เมื่อระดับฮอร์โมนเกรลินที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นในระหว่างมื้ออาหารหรือรู้สึกหิวหลังรับประทานอาหารได้ไม่นาน

    รับประทานอาหารบางอย่างมากขึ้น

    การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการยับยั้งฮอร์โมนเกรลินได้

    ออกกำลังกาย

    ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า การออกกำลังกายนั้นสามารถลดหรือเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกายได้หรือไม่ แต่จาการทบทวนการศึกษาในปี ค.ศ. 2018 พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบเข้มข้น อาจลดระดับของเกรลินได้ ในขณะที่อีกการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายแบบเซอร์กิตเทรนนิ่งอาจเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกายได้ แต่อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายบางรูปแบบอาจเพิ่มระดับเกรลิน แต่ก็อาจจะไม่ส่งผลต่อความรู้สึกหิว อีกทั้งการออกกำลังกายยังส่งผลต่อฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น อินซูลินและเลปติน (Leptin) แถมยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

    นอนหลับให้เพียงพอ

    การนอนหลับที่ไม่เพียงพออาจจะเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลิน ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากอาหารมากกว่าคนทั่วไป และอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย

    ลดความเครียด

    ความเครียดในระดับสูง และความเครียดเรื้อรัง อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเกรลินเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความเครียดมากเกินไป อาจกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกหิวและรับประทานอาหารมากขึ้น

    อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ฮอร์โมนเกรลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เพื่อควบคุมกระบวนการรับประทานอาหารของร่างกาย สำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับฮอร์โมนเกรลินตามธรรมชาติ ควรลดหรืองดเว้นการบริโภคฟรุกโตส ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและพยายามลดระดับความเครียดให้น้อย นอกจากจะสามารถลดระดับฮอร์โมนเกรลินตามธรรมชาติ ได้แล้ว ยังมีผลดีกับสุขภาพของคุณเองด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา