backup og meta

ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน

ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน

อากาศ นับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถขาดได้ จำเป็นต้องหายใจรับอากาศเข้าไป เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ฝุ่นควันและมลภาวะที่มาพร้อมกับอากาศนั้น อาจสร้างปัญหาให้กับร่างกายได้ โดยเฉพาะ ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ แต่ควันอย่างไหนที่เป็นอันตรายต่อเรามากกว่ากัน

[embed-health-tool-bmi]

ควันบุหรี่กับควันรถยนต์ อย่างไรอันตรายกว่ากัน

ควันในอากาศที่หายใจเข้าไป สามารถเป็นอันตรายอย่างมากต่อปอด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจรับควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าไป หรือหายใจรับฝุ่นควันรถยนต์ตามท้องถนน ต่างก็ส่งผลร้ายต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรัง และเสียชีวิตได้ในที่สุด

ในปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่มีข้อมูล ที่บ่งชี้อย่างแน่ชัดว่า ควันแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรามากกว่า ระหว่างควันบุหรี่และควันรถยนต์ แต่เราสามารถศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากควันพิษเหล่านี้ได้

นักวิจัยหลายท่านอาจลงความเห็นว่า ควันบุหรี่ เป็นอันตรายมากกว่าควันรถยนต์ เนื่องจากควันบุหรี่มือสูดเข้าไป อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยและความผิดปกติเรื้อรังอย่างรุนแรงมากกว่าควันรถยนต์ในอากาศ

อันตรายจากควันรถยนต์

แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตผู้เสียชีวิตจากควันบุหรี่ อาจจะมากกว่าควันรถยนต์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าควันรถยนต์นั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ควันรถยนต์ นั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ ตั้งแต่โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

การสูดดมควันรถยนต์ในระยะยาว สามารถทำลายถุงลมที่อยู่ภายในปอด และทำให้เกิดสภาวะที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคถุงลมโป่งพองนั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและอาจนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงกว่า เช่น ปอดแฟบ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ผู้ที่สูดดม ควันบุหรี่ เป็นเวลานานสามารถเสียชีวิตด้วยโรคเดียวกันกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานาน แม้ว่าจะไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลยก็ตาม

ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างของควันรถยนต์ก็คือ การที่ควันรถยนต์นั้นหลีกเลี่ยงได้ยากกว่าควันบุหรี่ แทบทุกคนที่ต้องใช้ถนนมักจะต้องสูดดมอากาศที่มีควันรถยนต์ปะปนอยู่ด้วยแทบจะตลอดเวลา ยิ่งโดยเฉพาะคนในเมืองที่ต้องเจอกับฝุ่นควันพิษมากเป็นพิเศษ

Arden Pope  ผู้เชี่ยวชาญด้านควันพิษได้กล่าวว่า “การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีควันพิษสูงก็เหมือนกันอาศัยอยู่กับคนที่สูบบุหรี่วันละสองสามซอง” การหลีกเลี่ยงควันรถยนต์ในอากาศนั้นทำได้ยากกว่าการหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อควันรถยนต์เหล่านั้นมักจะไม่มีสัญญาณเตือนว่าเราได้สูดดมเข้าไปแล้วจนกระทั่งควันเหล่านี้ได้ทำร้ายร่างกายของเรา

วิธีการป้องกันตัวเองจากควันพิษในอากาศ

  • พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น จุดพักสูบบุหรี่ต่าง ๆ และหากคนในครอบครัวของคุณมีคนที่สูบบุหรี่ พยายามอย่าให้เขาสูบบุหรี่ในบ้าน เพราะ ควันบุหรี่ เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย หากเป็นไปได้ควรเลิกบุหรี่อย่างถาวร
  • คอยตรวจเช็คมลภาวะในอากาศเป็นประจำ ในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้สามารถตรวจเช็ค ค่ามลภาวะในอากาศในแต่ละวันของบริเวณที่เราอาศัยอยู่ได้ ทำให้ง่ายต่อการเตรียมตัว
  • อย่าออกกำลังกายนอกบ้านหากมีค่ามลภาวะในอากาศสูง หากสถานที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่ติดกับถนนที่มีรถยนต์หนาแน่น หรือมีจุดที่คนสูบบุหรี่อยู่เยอะ ควรหลีกเลี่ยงและเปลี่ยนสถานที่ไปออกกำลังกายในจุดอื่นจะดีกว่า หรือไม่ก็เปลี่ยนมาเป็นออกกำลังกายในบ้านแทน
  • สวมหน้ากากอนามัย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นควันพิษได้ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้สูดดม ควัน เข้าร่างกายมากจนเกินไป หน้ากากอนามัยเหล่านี้สามารถช่วยคัดกรองฝุ่นควันที่อยู่ในอากาศได้ประมาณหนึ่ง หากเป็นไปได้ควรเลือกใช้เป็นหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้จะดีที่สุด แต่หากไม่มี หน้ากากอนามัยธรรมดาก็ยังพอมีประโยชน์ในการป้องกันควันพิษได้เช่นกัน
  • เปลี่ยนมาปั่นจักรยานแทนการขับรถ การเปลี่ยนพาหนะในการเดินทางมาเป็นจักรยาน หรืออาจจะเดินทางด้วยการเดินหรือการวิ่งแทนจะช่วยลดการสร้าง ควัน และมลภาวะในอากาศได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Air pollution is not ‘the new smoking’: comparing the disease burden of air pollution and smoking across the globe, 1990–2017. https://tobaccocontrol.bmj.com/content/early/2019/10/29/tobaccocontrol-2019-055181. Accessed April 30, 2023.

Long-term exposure to air pollution is like smoking a pack of cigarettes a day. https://www.weforum.org/agenda/2019/08/exposure-to-air-pollution-like-smoking/. Accessed April 30, 2023.

Air Pollution Kills as Many People as Cigarettes. https://www.webmd.com/lung/news/20191008/air-pollution-kills-as-many-people-as-cigarettes. Accessed April 30, 2023.

How can I reduce exposure to air pollution? https://www.lung.org/our-initiatives/healthy-air/outdoor/air-pollution/10-tips-to-protect-yourself.html. Accessed April 30, 2023.

What are the health consequences of air pollution on populations? https://www.who.int/news/item/15-11-2019-what-are-health-consequences-of-air-pollution-on-populations. Accessed April 30, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภูมิแพ้อากาศ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ฝุ่น มลพิษ PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง รับมืออย่างไรให้ห่างไกลโรค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา