backup og meta

ปวดต้นคอ บ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ รีบรักษาก่อนสายเกินไป

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/05/2020

    ปวดต้นคอ บ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ รีบรักษาก่อนสายเกินไป

    สำหรับใครที่ประสบปัญหาปวดบริเวณต้นคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน เชื่อว่าต้องประสบกับปัญหานี้อย่างแน่นอน บางรายเมื่อเกิดอาการปวด จึงซื้อยามารับประทาน เพียงไม่กี่วันก็กลับมาหายเป็นปกติ แต่บางราย กินยาหลายครั้งก็ไม่หายขาดสักที เป็น ๆ หาย ๆ ตลอด นั่นเป็นเพราะคุณอาจกำลังรักษาผิดวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาบอกถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา ของอาการ “ปวดต้นคอ” กันค่ะ หากรักษาอย่างถูกต้อง รับรองได้เลยว่าอาการปวดที่เป็นอยู่นั้นจะบรรเทาลงอย่างแน่นอน

    ปวดต้นคอ (Neck Pain) คืออะไร

    ปวดต้นคอ เป็นอาการปวดบริเวณต้นคอที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ รวมถึงการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นคอ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการปวดคอหากไม่ร้ายแรงมาก อาการจะหายไปเองในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการรุนแรงติดต่อกันนานถึง 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษา

    5 สาเหตุ ที่ทำให้คุณมีอาการปวดต้นคอ

    สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้

    • การได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การชน อาจทำให้เนื้อเยื่ออ่อนของคอเกิดอาการตึง รวมถึงการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
    • การเนื้อแข็งตึง พฤติกรรมในการใช้กล้ามเนื้อที่ผิดท่าและใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นนานมากเกินไป อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการแข็งตึง และรู้สึกปวดได้ เช่น การนั่งหลังค่อมทำงาน การนั่งเล่นโทรศัพท์
    • โรค ที่อาจส่งผลกระทบทำให้รู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน เป็นต้น
    • นอนผิดท่า หากคุณนอนหลับผิดท่า ตื่นเช้ามาอาจส่งผลให้คุณรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ

    อาการที่บ่งบอกว่าคุณปวดต้นคอ             

    ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณต้นคอ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะของอาการดังต่อไปนี้

    • ปวดบริเวณต้นคอ
    • คอเคล็ด
    • มีไข้
    • ยกสิ่งของหรือจับสิ่งของลำบาก
    • ความสามารถในการขยับศีรษะลดลง
    • แขนชาและรู้สึกเสียว
    • ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึง
    • ปวดศีรษะ

    วิธีการรักษา

    การรักษาอาการปวดคอนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ นอกเหนือจากการตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้ว แพทย์อาจทำการทดสอบโดยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN) เพื่อหาสาเหตุของการปวด โดยมีวิธีในการรักษาดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยยา แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดของคุณ
  • ฉีดยา แพทย์จะทำการฉีดยายาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อยับยั้งการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ไดอะซีแพม (Diazepam) เป็นต้น
  • นอกจากการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว คุณควรจะดูแลตัวเองและปรับรูปแบบการใช้ชีวิตเพิ่มด้วย เช่น นอนให้ถูกท่า ไม่นั่งหลังโก่งหรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา