backup og meta

อาการแบบไหนที่บ่งบอกถึง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เป็นอันตราย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    อาการแบบไหนที่บ่งบอกถึง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เป็นอันตราย

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะที่ร่างกายมีการหยุดหายใจในขณะที่กำลังหลับ โดยเราจะหายใจและหยุดหายใจสลับกันเป็นระยะๆ และวนซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นตลอดทั้งคืน ซึ่งเป็นภาวะที่ร้ายแรง ส่งผลต่างๆ กับร่างกายและสมองของเรา หากคุณมีอาการกรนดัง และตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกเหนื่อย เพลีย แม้จะนอนเต็มอิ่มทั้งคืน อาจจะเสี่ยงมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ วันนี้ Hello คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักกับภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ ว่ามีสาเหตุมาจากไหน และควรรับมืออย่างไร

    อาการของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ 

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะที่สมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ออกซิเจนน้อยลง ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่ อาจมีอาการง่วงในตอนกลางวัน รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้าสัญญาณที่พบบ่อยๆ ในภาวะนี้ก็คือ

    • กรนเสียงดัง
    • มีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ
    • หายใจเฮือกใหญ่ เป็นระยะ
    • ตื่นขึ้นอย่างกะทันหันและหายใจไม่ทั่วท้อง
    • รู้สึกเจ็บคอ หรือปากแห้งเมื่อตื่นนอน
    • ปวดหัวในตอนเช้า
    • รู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษในระหว่างวัน
    • อารมณ์ฉุนเฉียวหรือโกรธง่าย
    • นอนไม่หลับ

    ประเภทของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

    1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณด้านหลังลำคอที่เคยตึงหย่อนตัวลง ทำให้ระบบทางเดินหายใจแคบลง หรืออาจจะปิดขณะหายใจเข้า จึงไม่สามารถรับอากาศได้อย่างเพียงพอ หายใจลำบากขึ้น ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอขณะนอนหลับ คนที่น้ำหนักเกินมักจะมีปัจจัยเสี่ยงในภาวะนี้ เพราะไขมันรอบทางเดินหายใจ อาจจะทำให้หายใจได้ลำบาก นอกจากนี้คนที่ต่อมทอนซิล (Tonsil)หรือ ต่อมอดีนอยด์ (Adenoid) โตก็มีส่วน นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย
    2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากความผิดปกติของการสั่งการของสมอง (Central sleep apnea) เกิดจากความผิดพลาดที่สมองไม่ส่งสัญญาณเพื่อสั่งการหายใจในขณะที่หลับ ซึ่งทำให้คุณหายใจได้น้อยลง
    3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดผสม (Complex sleep apnea syndrome) เป็นภาวะที่เกิดทั้งชนิดที่อุดตันและความผิดปกติของการสั่งการของสมอง

    หยุดหายใจขณะหลับทำให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง

  • รู้สึกเมื่อยล้าในเวลากลางวัน  การที่เราต้องตื่นนอนซ้ำๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ร่างกายจึงไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดอาการง่วง เมื่อยล้าในเวลากลางวัน บางครั้งอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียวด้วย หากเป็นมากๆ เราอาจจะไม่มีสติในการทำอะไรเลย บางครั้งอาจจะหลับไปขณะทำงาน ดูโทรทัศน์ หรือขับรถ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วย
  • มีผลต่ออารมณ์ คุณอาจรู้สึกว่าอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า หากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเกิดกับเด็กหรือวัยรุ่นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่ทำ และมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม
  • ระบบไหลเวียนเลือดและหลอดเลือดหัวใจ การหยุดหายใจขณะหลับมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาโรคอ้วน และความดันโลหิตสูง ซึ่งการลดลงอย่างรวดเร็วของระดับออกซิเจนในเลือดที่เกิดขึ้นขณะหยุดหายใจตอนนอนหลับช่วยเพิ่มความดันโลหิต ซึ่งจะเพิ่มความเครียดของระบบหัวใจ และอาจมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เช่นภาวะหัวใจห้องบนผิดผิดปกติ เป็นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจล้มเหลว
  • การเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดตันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเรื้อรัง หลอดเลือดในสมอง และหัวใจเต้นผิดปกติ หากคุณเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว การขาดออกซิเจนขณะหลับอีกอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้
  • โรคเบาหวานประเภทที่ 2 การที่ร่างกายหยุดหายใจขณะหลับจะมีแนวโน้มที่จะต้านทานอินซูลินซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเซลล์ของคุณไม่ใช้อินซูลินเท่าที่ควรระดับน้ำตาลในเลือดของคุณเพิ่มขึ้น และพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • Metabolic syndrome ความผิดปกตินี้ยังรวมถึงความดันโลหิตสูง ระดับคอเรสเตอรอลที่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง และรอบเอวที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ คนที่หยุดหายใจขณะนอนหลับอาจมีปัญหาเกี่ยวกับตับ อาจจะมีความผิดปกติและเกิดเป็นแผลซึ่งเป็นภาวะไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และเอนไซม์ตับสูงกว่าระดับปกติ
  • ระบบทางเดินหายใจ เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนในขณะนอนหลับอาจทำให้อาการหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลง (COPD) ซึ่งอาจทำให้หายใจไม่ออกหรือมีปัญหาในการออกกำลังกายมากกว่าปกติ
  • การหยุดหายใจขณะหลับช่วยลดความต้องการในการมีเซ็กส์ได้ ในผู้ชายอาจส่งผลต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและส่งผลต่อความสามารถในการมีลูกได้
  • รักษาได้อย่างไรบ้าง

    เมื่อมีสัญญาณเตือนมากมายว่าคุณเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้ปรึกษาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญ คุณจะได้คำแนะนำและวิธีการรักษา หรือบางครั้งอาจจะต้องตรวจสุขภาพการนอนซึ่งจะช่วยวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ การทดสอบนี้จะตรวจสอบสิ่งต่างๆ เช่นคลื่นสมอง การเคลื่อนไหวของดวงตา การหายใจและระดับออกซิเจนในเลือด นอกจากนี้ยังมีการวัดการนอนกรนและการอ้าปากค้างตลอดจนการหยุดหายใจขณะนอนหลับด้วย หรืออาจจะได้รับคำแนะนำเรื่องการรักษาโดยอาจะเริ่มจากการลดน้ำหนัก หรือบำบัดด้วยท่าทาง ผู้ป่วยบางคนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเมื่อนอนหงาย อาจจะใช้การเปลี่ยนไปนอนในตำแหน่งอื่นๆ หรือใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจ (Positive Airway Pressure) ซึ่งมี 2 แบบคือ Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) และ Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP หรือ BPAP)

  • CPAP เป็นการรักษาขั้นแรกของการรักษา OSA โดยจะสวมหน้ากากในเวลากลางคืน โดย CPAP จะช่วยการเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ้งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างเพียงพอและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้เป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล
  • BiPAP หรือ BPAP หากใช้หน้ากากแบบ CPAP ไม่ได้ผลก็จะเปลี่ยนมาใช้แบบ BPAP ซึ่งเป็นเครื่องให้ความดันบวกคงที่ โดย BPAP เครื่องจะอัดก๊าซหรือลมด้วยความดันสูงในช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้า และผ่อนความดันลงในช่วงหายใจออก ทำให้มีการขยายตัวของปอดเหมือนกับการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบดั้งเดิม แต่ผู้ป่วยจะได้รับขึ้นกับความแตกต่างของระดับความดันทั้งสองระดับ compliance ของปอดและความต้านทานของทางเดินหายใจ
  • การใช้ยาแก้คัดจมูก (Nasal Decongestants) ที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดในเยื่อจมูก/เยื่อเมือกบุโพรงจมูกหดตัวจึงช่วยลดอาการบวมของเยื่อจมูกที่ช่วยบรรเทาอาการกรนของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
  • ศัลยกรรม Uvulopalatopharyngoplasty (UPPP) เกี่ยวข้องกับการกำจัดเนื้อเยื่อเสริมออกจากด้านหลังลำคอ UPPP เป็นชนิดที่พบมากที่สุดสำหรับการผ่าตัดสำหรับ OSA และช่วยบรรเทาอาการกรน อย่างไรก็ตามการผ่าตัดนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถขจัดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยสิ้นเชิงและอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้
  • ท่อหลอดลม (Tracheostomy) อาจทำเป็นขั้นตอนสุดท้ายได้ Tracheostomy punctures เป็นการเปิดในหลอดลมที่ข้ามสิ่งกีดขวางในลำคอเพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าสู่หลอดลมและปอดโดยไม่ต้องผ่านช่องจมูกและลำคอส่วนบน
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา