backup og meta

โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น หรือเป็นเพียงความเชื่อผิด ๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น หรือเป็นเพียงความเชื่อผิด ๆ

    โรคลำไส้แปรปรวน หรือที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นในชื่อ IBS ซึ่งย่อมาจาก Irritable bowel syndrome เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการท้องผูก ท้องเสีย บางคนก็มีทั้งอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน ซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากหลายอย่างทั้ง ความเครียด อาหารที่รับประทาน หรือแม่แต่พฤติกรรมที่ทำอยู่ทุก ๆ วันนั้นก็มีผลกระทบกับอาการลำไส้แปรปรวนได้ แต่มีความเชืjอที่ว่า โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ได้ โดยการรักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ใครที่สงสัยว่า โปรไบโอติกนั้นดีต่ออาการลำไส้แปรปรวนจริงหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาให้อ่านกันแล้วค่ะ

    โปรไบโอติก คืออะไร

    โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นแบคทีเรียที่มีชีวิตและยีสต์ที่ดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะดีกับระบบย่อยอาหาร หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าโปรไบโอติกนั้นเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ร่างกายเกิดโรค แต่จริง ๆ แล้วในร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีและชนิดที่ดี

    โปรไบโอติกนั้นจัดเป็นแบคทีเรียชนิดที่ดีและมีประโยชน์กับร่างกาย เพราะช่วยลำไส้แข็งแรงขึ้น ซึ่งโปรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารบางชนิดอย่าง โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง กิมจิ และอาหารหมักดองอื่น ๆ เมื่อร่างกายได้รับแบคทีเรียที่ดีอย่าง โปรไบโอติก ก็จะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกายเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างที่ควรจะเป็น

    โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ได้จริงหรือไม่

    อาการลำไส้แปรปรวนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เช่น ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวนจะมี แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และ ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) น้อย แต่มีปริมาณแบคทีเรียสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcus) เชื้ออีโคไล (E. coli) และ คลอสทริเดียม (Clostridium) ที่สูง ซึ่งเชื้อเหล่านี้เป็นเชื้อที่เป็นอันตราย การเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของอาการลำไส้อักเสบ

    นอกจากนี้ยาบางชนิดที่ใช้รักษาอาการลำไส้อักเสบยังอาจทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ได้อีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียต่าง ๆ นั้นอาจเพิ่มการอักเสบ เพิ่มปริมาณของแก๊สในกระเพาะอาหาร ลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเปลี่ยนแปลงการย่อยอาหาร ซึ่งโปรไบโอติกนั้นมีส่วนช่วยในการปรับปรุงอาการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ดังนี้

    • ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค
    • เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    • ต่อสู้กับการอักเสบ
    • ลดการเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร

    แต่อย่างไรก็ตามโปรไบโอติกชนิดต่างๆ นั้นก็จะมีความแตกต่างกันและส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท

    โปรไบโอติก ช่วยให้ลำไส้แปรปรวนดีขึ้น ได้อย่างไรบ้าง

    ช่วยให้อาการโดยรวมของลำไส้อักเสบดีขึ้น

    จากการวิจัยเบื้องต้นพบว่ามีโปรไบโอติกถึง 10 สายพันธ์ุ ที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงอาการโดยรวมของลำไส้อักเสบให้ดีขึ้นได้ งานวิจัยที่ศึกษาเรื่องโปรไบโอติกช่วยให้อาการลำไส้แปรปรวนนั้นดีขึ้นได้หรือไม่ยังมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นที่จtต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์เรื่องนี้

    ช่วยเรื่องอาการปวดท้อง

    อาการปวดท้อง เป็นอีกหนึ่งอาการสำคัญที่มักจะพบได้ในผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการปวดท้องส่วนล่างหรือส่วนล่างหลังการขับถ่าย ซึ่งมีโปรไบโอติกถึง 7 ประเภทที่ช่วยให้อาการปวดท้องที่เกิดจากลำไส้แปรปรวนนั้นดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์

    ลดอาการท้องอืดและมีแก๊สมาก

    การผลิตแก๊สมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป จากการตรวจสอบข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานของอังกฤษ (British Dietetic Association; BDA) ในปี 2559 มีเพียงงานวิจัยสองชิ้นที่พบว่าโปรไบโอติกลดอาการท้องอืดเป็นพิเศษและมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่พบว่าพวกมันลดปริมาณแก๊สในกระเพาะ ซึ่งโปรไบโอติกสายพันธุ์ L. plantarum มีส่วนช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการท้องอืดเมื่อเทียบกับการให้ยาหลอกในตัวอย่างการศึกษา

    ช่วยลดอาการท้องผูกและท้องเสีย

    จากการศึกษาพบว่าโปรไบโอติกมีส่วนช่วยลดอาการท้องเสียและอาการท้องผูกที่เกิดจากอาการลำไส้แปรปรวน แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการรักษามากนัก จึงยังจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อยืนยันข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา