backup og meta

ไวรัสฮันตา เชื้อร้ายจากสัตว์ฟันแทะ ที่อาจส่งผลทำลายสุขภาพปอด

ไวรัสฮันตา เชื้อร้ายจากสัตว์ฟันแทะ ที่อาจส่งผลทำลายสุขภาพปอด

มนุษย์เราทุกวันนี้ล้วนแต่เผชิญกับสภาวะของโรคต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันกับไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจและปอดนั้นได้รับความเสียหายอย่างหนัก และเชื้อ ไวรัสฮันตา เองก็ถือเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ไวรัสชนิดนี้ก็อาจทำให้สุขภาพปอดของคุณถูกทำลายลงได้ แต่เราจะมีวิธีรับมือ หรือป้องกันอย่างไร ร่วมติดตามไปพร้อมกันได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอค่ะ

ไวรัสฮันตา มีที่มาจากอะไร

ไวรัสฮันตา (Hantaviruses) เป็นหนึ่งในไวรัสที่มีที่มาจากสัตว์ฟันแทะเสียส่วนใหญ่ หรือจำพวกหนูเป็นหลัก ซึ่งมันสามารถแพร่เชื้อนี้ผ่านทางของเหลว เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น เมื่อมีบุคคลใดเผลอสัมผัสและนำเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจก่อให้เกิดการพัฒนาสร้างความเสียหายให้แก่ระบบทางเดินหายใจ ปอด ตับ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

มากไปกว่านั้นแล้ว ไวรัสฮันตาเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน ไปยังคนสู่คนได้ ดังนั้นเมื่อผู้ใดได้รับเชื้อเพียงหนึ่งคนแล้ว อาจกลายเป็นพาหะที่แพร่เชื้อกระจายในวงกว้างแก่ประชากรหมู่มากได้อีกด้วย

อ้างอิงจากการรายงานของกรมควบคุมโรคของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า ผู้ที่ป่วยได้รับเชื้อไวรัสฮันตามีอาการเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจอย่างรุนแรง และส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบจนถึงขั้นเสียชีวิตถึง 38% เลยทีเดียว

อาการของไวรัสฮันตา ที่ทุกคนควรรู้

ในระยะแรกของไวรัสฮันตา อาจมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

  • มีไข้
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ อาเจียน
  • ปวดเมื่อยตัวทั่วทั้งร่างกาย
  • ท้องเสีย

หลังจาก 4-10 วันไปแล้ว จากอาการธรรมดาแค่ข้างต้นจะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจก่อให้เกิดเป็นอาการเหล่านี้

  • ไอ
  • หายใจถี่ขึ้น
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • รู้สึกเหมือนมีของเหลวอยู่ภายในช่องปอด

หากคุณรู้สึกตัวว่าเคยสัมผัสวัตถุที่อาจมีเชื้ออยู่ หรือสัมผัสกับสัตว์ประเภทฟันแทะโดยตรง โปรดเช็กจากอาการข้างต้น หรือทำการตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ในทันที เพื่อที่จะรับการรักษาอย่างทันท่วงที และเป็นหยุดการแพร่เชื้อต่อไป

เราสามารถป้องกันตนเองจาก ไวรัสฮันตาได้อย่างไร

สำหรับการป้องกันหรือรับมือกับสัตว์ฟันแทะอย่าง หนู ซึ่งเป็นต้นเหตุที่นำพาหะเชื้อไวรัสนี้เข้ามา คุณอาจปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบบริเวณบ้าน

เพราะบางซอกบางมุมในบ้านคุณอาจเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เมื่อคุณพบเห็นรู ณ จุดใดจุดหนึ่ง ให้รีบทำการอุดปิดกั้นไว้ เพื่อไม่ให้พวกมันกัดแทะเล็ดลอดเข้ามาได้ โดยอาจใช้อุปกรณ์ประเภทโลหะ หรือปูน แทนการใช้ไม้จะเป็นการดี

  • กำจัดเศษอาหาร

หลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วทุกครั้ง คุณควรทำความสะอาดภาชนะที่ใส่อาหารในทันที และเก็บภาชนะในที่ที่มีฝาปิด ส่วนเศษอาหารในขยะนั้น ควรหาวัตถุมาครอบบนถังให้มิดชิด หรือนำเศษอาหารมัดใส่ถุงให้แน่น เพื่อป้องกันหนูเข้ามาหาอาหารกิน

  • ทำความสะอาดภายในบ้าน-นอกบ้าน

สังเกตรอบ ๆ อาคารบ้านเรือนของคุณอย่างสม่ำเสมอว่าสกปรก ณ บริเวณใดหรือไม่ พร้อมทั้งทำความสะอาดจัดของให้เป็นระเบียบ ไม่ให้รกร้างจนเกินไป และหากใครมีสวนหย่อมส่วนตัวอยู่รอบบ้านนั้น โปรดดูแลตัดตกแต่งหญ้าให้สั้นมองเห็นพื้นดินได้ง่าย เพราะไม่เช่นนั้นพวกมันอาจใช้บริเวณนี้ปักฐานสร้างรังก็เป็นได้

สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าในบ้านตนเองมีหนู หรือสัตว์จำพวกฟันแทะอยู่หรือไม่ คุณอาจลองตั้งกับดักไว้ ที่เป็นอุปกรณ์หาซื้อได้ง่ายตามทั่วไปมาตั้ง หรือติดต่อบริษัทรับกำจัดหนูเข้ามาช่วยตรวจสอบเพิ่มเติม ก็ถือว่าเป็นวิธีรับมืออีกข้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการกำจัดพวกมันออกไปให้ไกลห่างจากครอบครัวของคุณได้ไม่น้อยเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hantaviruses https://www.cdc.gov/hantavirus/index.html Accessed May 29, 2020

Hantavirus pulmonary syndrome https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hantavirus-pulmonary-syndrome/symptoms-causes/syc-20351838 Accessed May 29, 2020

What Is Hantavirus? https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=229363 Accessed May 29, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง ที่คุณควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

ไข้ลาสซา หนึ่งในโรคที่มาจากสัตว์ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา