backup og meta

ไข้ลาสซา หนึ่งในโรคที่มาจากสัตว์ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ไข้ลาสซา หนึ่งในโรคที่มาจากสัตว์ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย

    ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ หรือสัตว์ขนาดเล็กก็ล้วนแต่เป็นพาหะนำโรคเข้ามาสู่มนุษย์ได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักในบ้านของเราที่เราอาจคิดว่าเราดูแลทำความสะอาดเขาเป็นอย่างดี แต่บางทีเชื้อโรคในตัวเขาก็อาจนำโรคบางอย่างมาให้ โดยอาจส่งผ่านทางการสัมผัสทางน้ำลาย การกอด การหอม เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งโรคจากสัตว์ที่ตอนนี้ก็กำลังเป็นที่ระบาดอย่าง ไข้ลาสซา มาฝาก เพื่อให้ทุก ๆ คนพึงระวัง และตระหนักกันมากขึ้น

    ไข้ลาสซา คืออะไร

    ไข้ลาสซา (Lassa fever) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้มากที่สุดในร่างกายของสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู ซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1969 ประเทศไนจีเรีย โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไข้ลาสซานี้เป็นผู้สอนศาสนาจำนวน 3 คน และได้เสียชีวิตลงเป็นเวลาต่อมา ทำให้ทีมวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกคนหันมาใส่ใจโรคนี้กันมากขึ้น

    การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้พบได้ทั่วไปในแถบแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมียอดคนติดเชื้อประมาณ 100,000 – 300,000 ราย ต่อปี และมีผู้เสียชีวิตราว ๆ 5,000 คนจากโรคร้ายนี้ และยังมีความเสี่ยงที่อาจกระจายไปยังประเทศใกล้เคียง หรือประเทศอื่น ๆ ได้

    อาการของไข้ลาสซา แสดงออกมาในรูปแบบใดได้บ้าง

    การส่งผ่านของอาการไข้ลาสซามักมาในรูปแบบการสูดดม การสัมผัส หรือเผลอรับประทานอาหารที่มีมูล หรือปัสสาวะของหนูเสียส่วนใหญ่ รวมถึงการรับเชื้อโรคผ่านทางผิวหนังโดยตรงเมื่อผิวหนังของคุณบริเวณนั้นมีแผลเปิด แผลสด ซึ่งเชื้อไวรัสจะเกิดขึ้นภายใน 6-21 วันหลังจากได้รับเชื้อ จึงสามารถส่งผลให้เกิดอาการเบื้องต้นได้ ดังต่อไปนี้

    • ปวดศีรษะ เป็นไข้
    • ไอ กลืนอาหารลำบาก
    • หายใจลำบาก
    • อาเจียน ท้องเสีย โดยอาจมีเลือดปะปนออกมา
    • ใบหน้าบวม
    • มีเลือดออกทางเหงือก จมูก และตา หรืออาจเป็นที่อื่น ๆ
    • โรคตับอักเสบ
    • สูญเสียการได้ยิน
    • อันตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
    • สมองอักเสบ
    • ชัก จนนำไปสู่ภาวะช็อก
    • อาการไขสันหลังอักเสบ
    • เยื้อหุ้มหัวใจบวม

    ภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างพบได้บ่อยในผู้ป่วยลาสซามักมีอาการของการสูญเสียการได้ยิน และสามารถเป็นได้อย่างถาวร ตามสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และนับได้ว่าเป็นโรคอันตรายสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ร้อยละ 95% เลยทีเดียว ซึ่งอาจทำให้คุณแม่เกิดการแท้งบุตรโดยไม่ทันตั้งตัว

    วิธีป้องกัน และรักษา ไข้ลาสซา โดยใช้เทคนิคทางการแพทย์

    ถึงแม้จะยังไม่พบข้อมูลถึงการทำงานของยาไรบาวิริน (Ribavirin) ที่แน่ชัด แต่ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายาชนิดนี้สามารถรักษากับไวรัสลาสซาได้ แพทย์ของคุณอาจใช้ยาไรบาวิรินทำการรักษาให้คุณ และยังคงอยู่ภายใต้การดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย ตามแต่ประวัติของโรคประจำตัวผู้ป่วย เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงกว่าเดิม

    ก่อนเกิดการติดเชื้อลาสซา คุณอาจเริ่มป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากสัตว์ขนาดเล็กนี้ก่อนได้ง่าย ๆ  ด้วยวิธีเหล่านี้

  • เก็บอาหารในภาชนะที่หนูไม่สามารถเข้าถึง หรือแทะขาดได้
  • รวบรวมขยะ หรือเศษอาหาร ไปทิ้งให้ไกลจากบ้านทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หรือหากจำเป็นที่ต้องสัมผัส โปรดใส่ถุงมือ สวมหน้ากากอนามัย แว่นตา และถอดทิ้งทุกครั้งในภาชนะที่รัดกุม รวมทั้งทำความสะอาดอวัยวะที่ได้รับการสัมผัสมาด้วย
  • เนื่องจากการกำจัดหนูไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถกำจัดให้สิ้นไปได้ทั้งหมด ดังนั้นเราควรจึงป้องกันตนเองไม่ให้สัตว์ขนาดเล็กนี้มาอาศัยร่วมกันภายในบ้านกับเรา โดยทำได้ดังวิธีข้างต้นที่กล่าวมา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา