ผ่าฟันคุด การดูแลตัวเอง และภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวัง
ฟันคุด เป็นหนึ่งในฟันกรามส่วนหลังที่อยู่ใต้เหงือก ซึ่งอาจไม่สามารถขึ้นมาได้อย่างเต็มรูปแบบ และอาจส่งผลกระทบกันฟันซี่ข้าง ๆ การผ่าฟันคุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดปวดเหงือก ติดเชื้อ และอาจทำให้ฟันซี่อื่นเสียหายได้ ทำไมจึงต้อง ผ่าฟันคุด ฟันคุด เป็นฟันกรามที่อยู่ใต้เหงือก ที่ไม่สามารถผุดขึ้นมาได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นฟันที่โผล่แค่เพียงบางส่วน ฟันที่ไม่โผล่ขึ้นมาเลย หรือฟันที่ขึ้นในรูปแบบแนวทะแยงขวาง ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก และอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น ๆ จึงควรผ่าฟันคุดออก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นได้รับความเสียหาย อีกทั้งฟันคุดที่โผล่ออกมาเป็นบางส่วนยังอาจทำความสะอาดได้ยาก ทำให้เศษอาหารและแบคทีเรียสะสม จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อในช่องปาก ฟันผุ โรคเหงือก และซีสต์ในช่องปาก ขั้นตอนการผ่าฟันคุด การผ่าฟันคุดอาจใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันคุด โดยขั้นตอนอาจเริ่มจากการฉีดยาชาบริเวณเหงือก เมื่อยาชาเริ่มออกฤทธิ์จะทำการกรีดเหงือกเพื่อเปิดช่อง และกรอกระดูกให้เข้าถึงรากฟัน จากนั้นแบ่งส่วนของฟันคุดเป็นชิ้น ๆ ให้ง่ายต่อการนำฟันคุดออก และทำความสะอาดแผล เย็บปิดแผลผ่าตัด และวางผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด เมื่อผ่าตัดฟันคุดเสร็จทันตแพทย์อาจนัดหมายวันตัดไหมอีกครั้ง ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าฟันคุด มีดังนี้ มีไข้ หายใจลำบาก เลือดออกมาก กลืนอาหารลำบาก กระดูกเบ้าฟันอักเสบ มีหนองไหล การติดเชื้อจากแบคทีเรีย และเศษอาหารในแผล อาจส่งผลอันตรายต่อเส้นประสาทในปาก ฟัน และกราม การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด หลังจากผ่าฟันคุด ควรดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ ดังนี้ วันแรกหลังการผ่าฟันคุดอาจมีเลือดออกในปริมาณมาก ควรกัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด และเปลี่ยนผ้าก๊อซตามคำแนะนำของคุณหมอ รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการผ่าตัด เช่น อะเซตามิโนเฟน ไทลินอล ลดอาการบวมช้ำด้วยการใช้ถุงน้ำแข็ง หรือเจลเย็นประคบบริเวณแก้มบ แถวแผลผ่าฟันคุด ดื่มน้ำให้มาก […]