ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

นอกจากฟันผุ ปวดฟัน หรือฟันคุด ยังมี ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ดังนั้น เราจึงรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น มาให้ทุกคนได้ศึกษากัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ร้อนในเกิดจาก สาเหตุอะไร รักษาได้อย่างไร

ร้อนใน เป็นแผลในช่องปากบริเวณริมฝีปากด้านใน เหงือก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม มักทำให้รู้สึกเจ็บ รวมทั้งอาจทำให้กลืนอาหารยากหรือพูดได้ลำบาก หากถามว่า ร้อนในเกิดจาก อะไร? คำตอบคือ ร้อนในเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรงเกินไป การเผลอกัดปากหรือลิ้นของตนเอง การขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารที่เป็นกรด หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย [embed-health-tool-bmi] ร้อนในคืออะไร ร้อนใน เป็นแผลในปากที่มักเกิดขึ้นบริเวณริมฝีปากทั้งด้านนอกและผนังด้านใน เหงือก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม เมื่อเป็นแผลร้อนในมักทำให้รับประทานอาหารได้ไม่สะดวกหรือพูดคุยได้ลำบาก ร้อนใน สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ ดังนี้ ร้อนในขนาดเล็ก เป็นร้อนในชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ขอบเป็นรูปวงกลม และอาจหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ร้อนในขนาดใหญ่ เป็นร้อนในที่มักพบในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีหรือการทำเคมีบำบัด ร้อนในขนาดใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1-3 เซนติเมตร ขอบไม่เป็นวงกลม และอาจหายได้เองภายใน 3-6 สัปดาห์ แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม (Herpetiform Ulcer) เป็นร้อนในชนิดที่พบได้น้อยที่สุด โดยเป็นแผลขนาดเล็กจำนวนมากที่รวมกันเป็นแผลใหญ่แผลเดียว ลักษณะคล้ายกับอาการของโรคเริมแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยทั่วไป ร้อนในชนิดนี้มักหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ถึง […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

แผลร้อนในในช่องปาก อาการเจ็บปวดที่พบบ่อย จัดการยังไงได้บ้าง

โรคแผลร้อนใน เป็นแผลเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในช่องปาก และส่งผลทำให้เรารู้สึกปวด แสบ เวลารับประทานอาหาร บางครั้งก็สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ บางครั้งที่เรานอนดึก ภูมิต้านทานไม่ดี เครียด ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ แผลร้อนในก็สามารถขึ้นได้ หลายๆ คนก็คงเคยมีอาการใช่ไหมคะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับแผลร้อนในมาฝากกันค่ะ ทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน สาเหตุของแผลร้อนในนั้นมีอยู่มากมาย หากคุณเป็นแผลร้อนในเป็นครั้งคราว สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ การแปรงฟัน แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ และอย่าลืมขัดฟันด้วยไหมขัดฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ยาสีฟัน เปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่มีไม่ส่วนผสมของโซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium lauryl sulfate) เนื่องจาก ยาสีฟันที่มีสารนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในและทำให้เกิดแผลกำเริบซ้ำๆ ลดความเครียด คนส่วนใหญ่มักจะเกิดแผลร้อนในขณะที่มีความเครียด หรือกำลังมีเรื่องทุกข์ใจอย่างรุนแรง ให้ความสนใจกับอาหารการกินเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน อาหารที่คุณรับประทานสามารถบอกได้ว่า แผลร้อนในของคุณจะดีขึ้นหรือแย่ลง ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด มีฤทธิ์เป็น กรด พริก อาหารรสจัด และน้ำอัดลม รวมถึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้และผักบางชนิด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว พวกมะนาว ส้ม แอปเปิ้ล ลูกฟิก มะเขือเทศ สับปะรด และสตรอเบอร์รี่ เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในมากยิ่งขึ้น พยายามอย่าทำให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องปาก แผลร้อนในเกี่ยวข้องกับรอยบาด และรอยแผลเปิดที่บริเวณผิวหน้าในปาก ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้คือ เหล็กดัดฟัน หากคุณกำลังใส่เหล็กดัดฟัน ควรระวังไม่ให้บาดผิวในปาก […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus)

ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) คือภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวภายในปาก ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนและอาการไม่สบายอื่นๆ มักพบในหญิงมากกว่าชาย พบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี   คำจำกัดความไลเคนพลานัสในช่องปาก คืออะไร ไลเคนพลานัสในช่องปาก (Oral Lichen Planus) คือภาวะอักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุผิวภายในปาก โรคไลเคนพลานัสในช่องปากอาจจะมีลักษณะเป็นรอยฝ้าสีขาว เนื้อเยื่อบวมแดง หรือแผลเปิด ซึ่งแผลเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนและอาการไม่สบายอื่นๆ ไลเคนพลานัสในช่องปากพบได้บ่อยแค่ไหน ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะพบโรคนี้มากในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี แต่เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก อาการอาจจะค่อยๆ มา หรือเกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว คุณอาจจะมีอาการปากแห้ง หรือปวดแสบปวดร้อน มีรสชาติเหมือนโลหะอยู่ในปาก แล้วก็จะเริ่มเห็นรอยฝ้าขาวบนลิ้น แก้ม และบนเหงือกซึ่งอาจจะเป็นจุดเล็กๆ หรือเส้นเป็นลายตาข่าย และคุณอาจจะมีรอยปื้นแดง หรืออาการบวมเกิดขึ้น ในบางครั้งมันอาจจะลอกหรือเป็นแผลพุพอง แผลนี้อาจจะทั้งแสบร้อนและปวด จะเจ็บมากเวลาที่คุณรับประทานอาหารที่เผ็ด เค็ม เป็นกรด (เช่น น้ำส้ม หรือมะเชือเทศ) หรือดื่มแอลกอฮอล์ ขนมกรอบๆ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน คุณหมอจะวินิจฉัยโรคไลเคนพลานัสในช่องปากได้ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ ในปากของคุณเพื่อส่งเข้าห้องแล็ปไปหาสาเหตุของปัญหา คุณอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาปัญหาอื่น ๆ อีกด้วย อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

ช่องปากแห้ง สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลที่คุณควรรู้

ช่องปากแห้ง หรือภาวะน้ำลายน้อย อาจส่งผลต่อความสะอาดและการย่อยอาหารในช่องปากได้ เนื่องจากน้ำลายมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก ฉะนั้น ถ้าใครรู้สึกว่าปากแห้ง มีน้ำลายน้อย Hello คุณหมอ มีข้อควรรู้ในเรื่องนี้มาฝากค่ะ สาเหตุของอาการ ช่องปากแห้ง อาการปากแห้ง หรือช่องปากแห้ง จะเกิดขึ้นเวลาที่ต่อมน้ำลายในปากผลิตน้ำลายออกมาไม่เพียงพอต่อการทำให้ภายในช่องปากเปียกหรือแฉะอยู่เสมอ ซึ่งการที่ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติอาจเป็นผลมาจาก… การใช้ยา มียาอยู่มากมายหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปากแห้ง ซึ่งยาที่มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหานี้ ได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง และโรควิตกกังวล รวมทั้งยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวด อายุมากขึ้น ผู้สูงวัยมักจะมีอาการปากแห้งเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นการใช้ยาบางชนิด ความสามารถในการดูดซึมยาลดลง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นเวลานาน ยาเคมีบำบัดโรคมะเร็ง ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ธรรมชาติของน้ำลายเปลี่ยนไป รวมทั้งทำให้การผลิตน้ำลายลดลงด้วย อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราว ซึ่งเมื่อใช้ยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว น้ำลายก็จะกลับมาตามปกติ นอกจากนี้ การฉายรังสีบริเวณศีรษะและคอ ก็อาจทำให้ต่อมน้ำลายเกิดความเสียหาย จนร่างกายผลิตน้ำลายได้น้อยลง อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีและบริเวณที่มีการฉายรังสี เส้นประสาทได้รับความเสียหาย เกิดจากอุบัติเหตุหรือศัลยกรรมที่ทำให้เส้นประสาทบริเวณศีรษะและคอเกิดความเสียหาย และส่งผลให้เกิดอาการปากแห้งได้ มีปัญหาทางด้านสุขภาพ อาการปากแห้งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก การติดเชื้อราในช่องปาก โรคอัลไซเมอร์ โรคที่เป็นผลมาจากการแพ้ภูมิตัวเอง (เช่น โรคในกลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s syndrome) โรคเอดส์ ) นอกจากนี้ การนอนกรนและการหายใจทางปาก ก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ด้วย การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ […]


ปัญหาสุขภาพช่องปากแบบอื่น

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

คำจำกัดความ เยื่อบุช่องปากอักเสบคืออะไร เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) คือ อาการเจ็บหรืออักเสบที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบหลักๆ สองประเภทคือ เริมในช่องปาก (Herpes Stomatitis หรือ ​Cold Sore) และ แผลร้อนใน (Aphthous stomatitis) เยื่อบุช่องปากอักเสบพบได้บ่อยได้แค่ไหน ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นอย่างไร อาการทั่วไปมีดังนี้ มีแผลในช่องปากเป็นชั้นสีขาวหรือเหลือง ฐานเป็นสีแดง ปกติแล้วจะพบได้ที่ด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือบนลิ้น มีรอยปื้นสีแดง มีตุ่มพอง บวม ความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน โดยปกติแผลจะหายภายใน 4-14 วัน และมักจะกลับมาเป็นอีกครั้ง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุ สาเหตุของเยื่อบุช่องปากอักเสบ การติดเชื้อไวรัส herpes simplex 1 (HSV-1) คือสาเหตุของโรคเริม พบมากในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม