backup og meta

รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง และวิธีป้องกัน


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

    รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง และวิธีป้องกัน

    ตากุ้งยิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บริเวณต่อมน้ำมันที่เปลือกตาส่งผลให้เกิดก้อนนูน บวม เต็มไปด้วยหนองที่เปลือกตาคล้ายสิว การ รักษาตากุ้งยิง อาจทำได้ด้วยตัวเองในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากเกิดการอักเสบ ติดเชื้อรุนแรง หรือรู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก ควรเข้าพบคุณหมอทันที

    ตากุ้งยิง คืออะไร

    ตากุ้งยิง คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณขอบหนังตาจากเแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) ที่เจริญเติบโตอยู่บริเวณรอบเปลือกตา รวมถึงการสะสมสิ่งสกปรก น้ำมันส่วนเกิน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เข้าไปอุดตันในต่อมไขมันที่อยู่รอบขนตา จนส่งผลให้เกิดตุ่มนูน บวม แดง และมีหนองอยู่ภายใน โดยอาการของตากุ้งยิง สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง

    ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เป็นตากุ้งยิงได้บ่อยซ้ำ ๆ ได้แก่

    • นำมือไปสัมผัสกับดวงตาบ่อย ๆ
    • ใส่คอนแทคเลนส์โดยไม่ล้างมือให้สะอาด
    • ไม่ล้างเครื่องสำอางก่อนนอน หรือทิ้งไว้ข้ามคืน
    • ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ
    • มีเกล็ดกระดี่ตามขอบเปลือกตา
    • โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย

    รักษาตากุ้งยิง ด้วยตัวเอง

    ปกติแล้วตากุ้งยิงอาจสามารถหายไปได้ภายใน 2-3 วัน ถึงอย่างไรก็อาจรักษาตากุ้งยิง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ด้วยตัวเองได้ ดังนี้

    • ประคบอุ่นที่ตากุ้งยิง วิธีนี้อาจทำให้บรรเทาอาการอักเสบ และอาการปวด โดยการนำผ้าสะอาดแช่น้ำอุ่นก่อนนำมาประคบ หรือเลือกลูกประคบ มาประคบไว้บริเวณตากุ้งยิงอย่างเบามือประมาณ 10-15 นาที 2-4 ครั้งต่อวัน หลังจากประคบเสร็จ ควรล้างมือให้สะอาดและนวดบริเวณตากุ้งยิง เพื่อช่วยให้น้ำมันที่อุดตันในเปลือกตาออกมา บางคนหากไม่มีลูกประคบอาจสามารถใช้ถุงชาแช่ในน้ำอุ่นมาประคบแทนได้ แต่อาจยังไม่มีงานวิจิยที่มากเพียงพอว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ผ้าสะอาด
    • น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แบคทีเรีย และเชื้อรา ทำให้อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบของตากุ้งยิงได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้ควรนำน้ำมะพร้าวชุบกับคอตตอนบัต หรือนิ้วมือที่สะอาด นวดบริเวณเปลือกตาประมาณ 15 นาที และล้างน้ำมันออกด้วยอุ่น ควรทำซ้ำกันประมาณ 3-5 ครั้งต่อวัน
    • ยาปฏิชีวนะรูปแบบทา หรือยาหยอดตา หากไม่มั่นใจว่าควรใช้ยาชนิดใดจึงจะเหมาะสม สามารถเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอด้านจักษุแพทย์ เพราะผู้ป่วยบางคนอาจได้รับยาเม็ดมารับประทาน

    วิธีป้องกันตากุ้งยิง

    วิธีป้องกันการติดเชื้อบริเวณเปลือกตา นำไปสู่ตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ไม่นำมือไปสัมผัสดวงตา
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือก่อนสัมผัสกับดวงตา
  • ทำความสะอาดเปลือกตาเป็นประจำ
  • ทิ้งเครื่องสำอางหมดอายุ และล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาดก่อนเข้านอน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่คอนแทคเลนส์
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นตากุ้งยิง
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา