backup og meta

สายตาสั้นเกิดจาก อะไร วิธีดูแลถนอมดวงตาให้สุขภาพดี

สายตาสั้นเกิดจาก อะไร วิธีดูแลถนอมดวงตาให้สุขภาพดี

สายตาสั้น (Nearsightedness หรือ Myopia) เป็นภาวะสายตาผิดปกติที่พบได้บ่อย ผู้ที่มีสายตาสั้นจะสามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัด แต่เมื่อมองในระยะไกลภาพจะไม่ชัดเจน แตกต่างจากคนที่มีสายตาปกติ (Emmetropia) การเรียนรู้ว่าภาวะสายตาผิดปกติมีกี่ประเภท สาเหตุของ สายตาสั้นเกิดจาก อะไร อาจช่วยให้สามารถดูแลถนอมดวงตา และชะลอปัญหาสุขภาพตาที่อาจเกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-bmr]

ภาวะสายตาผิดปกติมีกี่ประเภท  

คนที่สายตาปกติจะเกิดการมองเห็น เมื่อแสงจากวัตถุวิ่งผ่านกระจกตาและเลนส์ตาไปตกพอดีบนจอประสาทตา แล้วจอประสาทตาจะส่งภาพซึ่งอยู่ในรูปของคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองแปลเป็นภาพที่มองเห็น หากตกบนจอประสาทตาพอดี ภาพนั้นจะชัดเจน เห็นได้อย่างคมชัด แต่หากการรวมแสงของตาไม่ตกพอดีที่จอประสาทตา จะทำให้เกิดภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

  1. สายตาสั้น (Nearsightedness หรือ Myopia)
  2. สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness หรือ Hyperopia)
  3. สายตาเอียง (Astigmatism)
  4. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)

สายตาสั้นเกิดจาก อะไร   

ผู้ที่มีสายตาสั้น แสงจากวัตถุจะหักเหและไปรวมภาพตกกระทบที่หน้าจอประสาทตาหรือเรตินา ก่อนถึงจุดรับภาพ สายตาสั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • สายตาสั้นเกิดจากกระจกตามีความโค้งสูงหรือมีความโค้งมากเกินไป
  • สายตาสั้นเกิดจากลูกตายาวมากกว่าปกติ หรือบางรายมีกระบอกตายาวกว่าปกติ 

การมองเห็นภาพบนจอประสาทตาจึงไม่คมชัด เพราะดวงตาที่ได้รับแสงที่หักเหไปไม่ตกกระทบโดยตรงที่จอประสาทตา แต่จุดรวมแสงไปตกกระทบที่ข้างหน้าจอประสาทตาแทน ทำให้ผู้ที่มีสายตาสั้นนั้นมองวัตถุระยะไกลไม่ชัดเจน ภาพที่คนสายตาสั้นมองจะเป็นภาพ

วิธีแก้ไขภาวะสายตาสั้น

การแก้ไขภาวะสายตาที่ผิดปกติ ต้องปรับกำลังในการหักเหแสงทั้งหมดให้พอดีกับความยาวของลูกตา เช่น

  • ใส่แว่นสายตา (Spectacles) เลนส์ของแว่นตาจะช่วยรวมกำลังแสงให้ตกลงบนจอรับภาพพอดี เพียงวัดค่าสายตาเพื่อใส่แว่นตาที่มีค่าสายตาที่เหมาะสม
  • ใช้คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ สามารถแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติได้ทั้ง สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง แต่ควรได้รับการตรวจและแนะนำจากจักษุแพทย์ 
  • ผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติโดยใช้เลเซอร์ (Excimer Laser) ซึ่งเลเซอร์จะขัดผิวกระจกตาตรงกลาง ทำให้กระจกตาตรงกลางแบนลง ประกอบด้วย 2 วิธี 1.PRK (Photorefractive Keratectomy) ใช้เลเซอร์ขัดผิวกระจกตาโดยตรง 2.LASIK (Laser In-Situ-Keratomileusis) ใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตา ฝานกระจกตาให้เป็นฝาเปิด ขัดผิวกระจกตาด้านล่างด้วยเลเซอร์แล้วปิดฝากระจกตา รอแผลสมาน 3-5 นาที     
  • ผ่าตัดโดยฝังเลนส์เสริม (Phakic Intraocular Leans) เหมาะกับผู้ที่มีสายตาผิดปกติมาก ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย LASIK โดยเลนส์เสริมจะใช้อยู่ 2 ลักษณะ 1.เลนส์เสริมที่ใส่ในตำแหน่งด้านหน้ารูม่านตา มีก้ามยึดติดกับม่านตา 2.เลนส์เสริมที่ใส่ในตำแหน่งด้านหลังรูม่านตา ฝังลอยระหว่างม่านตาและเลนส์แก้วตาปกติ

วิธีดูแลถนอมดวงตา 

การดูแลถนอมดวงตาเป็นประจำจะช่วยชะลอปัญหาสุขภาพตา ทำได้หลายวิธี เช่น 

  1. เลือกรับประทานอาหารที่ดีอย่างครบถ้วน 5 หมู่ 
  2. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 
  4. ใส่แว่นกันแดด เมื่อต้องออกไปเจอกับแสงแดด การใส่แว่นกันแดดนอกจากป้องกันแสงยูวีได้แล้ว ยังปกป้องดวงตาจากเศษฝุ่นละอองได้ด้วย
  5. ไม่ดูโทรทัศน์ มือถือ แท็ปเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ใกล้เกินไป หรือใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า ช่วยลดอาการตาล้าจากการจ้องจอได้ 

เมื่อทราบแล้วว่า สายตาสั้นเกิดจาก อะไร หากมีอาการมองไม่ชัด ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำอย่างเหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วิธีดูแลถนอมดวงตา. https://www.metta.go.th/mobile/knowledge/knoweye/eyevdo/92-eyecare. Accessed May 23, 2023. 

ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีแก้ไข. https://www.metta.go.th/knowledge/knoweye/e-book/93-eyecare2. Accessed May 23, 2023.  

สายตาสั้น (Myopia). https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/silasik/knowledge_detail.asp?id=5. Accessed May 23, 2023.  

ภาวะสายตาผิดปกติ. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/silasik/knowledge_all.asp?ty=4. Accessed May 23, 2023.  

เลเซอร์ เลสิก ต่างกันอย่างไร. https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=59. Accessed May 23, 2023. 

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

4 วิตามินบำรุงสายตา

ดูแลสุขภาพดวงตา ก่อนภาวะสมองเสื่อมจะมาเยือน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา