โรคตา

เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพลงไป เนื่องจากการใช้งานมาอย่างยาวนาน ซึ่งดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สามารถเสื่อมสมรรถภาพได้จนอาจทำให้เกิด โรคตา ซึ่งวิธีการดูแล รักษา รวมถึงรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ทีเกิดขึ้น สามารถอ่านได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคตา

ต้อเนื้อ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ต้อเนื้อ เป็นปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ที่เกิดจากพังผืดของเยื่อบุตาที่มีลักษณะเป็นสีชมพูและแดงลุกลามเข้าไปสู่ตาดำ ซึ่งอาจไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งแต่อาจรบกวนด้านการมองเห็น ดังนั้น จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วหากสังเกตว่าเยื่อบุตาเริ่มขยายใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงอาการตาบอด คำจำกัดความ ต้อเนื้อ คืออะไร ต้อเนื้อ คือ พังผืดของเยื่อบุตาที่อยู่บริเวณหัวตาขยายใหญ่จนลุกลามเข้าสู่ตาดำ ทำให้ม่านตาขุ่นมัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง อย่างไรก็ตาม ต้อเนื้อมักจะไม่พัฒนาเป็นมะเร็ง แต่อาจรบกวนการมองเห็น ส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ อาการ อาการของต้อเนื้อ อาการของต้อเนื้อ อาจมีดังนี้ เยื่อบุตาขยายใหญ่และลุกลามเข้าไปยังตาดำอย่างเห็นได้ชัด รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในดวงตาตลอดเวลา ตาแดง น้ำตาไหล ระคายเคือง บางคนอาจรู้สึกแสบตา มองเห็นไม่ชัดหรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน สาเหตุ สาเหตุของต้อเนื้อ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดต้อเนื้อ แต่คาดว่าอาจเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ลม ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกที่เข้าสู่ดวงตา ทำให้ดวงตาระคายเคืองและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาขยายใหญ่จนลุกลามไปบดบังตาดำ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของต้อเนื้อ ปัจจัยเสี่ยงของต้อเนื้อ มีดังนี้ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง เพราะอาจเสี่ยงทำให้ดวงตาได้รับรังสีไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ลมแรง และสัมผัสกับฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเป็นประจำ เช่น รับเหมาก่อสร้าง เหมืองแร่ ชาวประมง เกษตรกร การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยต้อเนื้อ การวินิจฉัยต้อเนื้อ อาจทำได้ดังนี้ สอบถามประวัติสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นต้อเนื้อ ทดสอบการมองเห็นด้วยการอ่านตัวอักษร วัดความโค้งของกระจกตาว่ามีความเสี่ยงเป็นสายตาเอียงร่วมด้วยหรือไม่ ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่า Slit […]

สำรวจ โรคตา

โรคตา

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง เกิดขึ้นจากอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อของต่อมไขมันในบริเวณเปลือกตา ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายสิวในบริเวณรอบดวงตา โดยปกติอาจสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเปลือกตาครั้งละ 5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง คำจำกัดความตากุ้งยิง คืออะไร ตากุ้งยิง คือ การอักเสบของเปลือกตาที่ก่อให้เกิดตุ่มนูนคล้ายสิว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบริเวณปลือกตาทั้งภายนอกและภายใน หากเกิดตากุ้งยิงในบริเวณเปลือกตาภายนอกอาจส่งผลให้เกิดหนอง และอาการปวดเมื่อสัมผัส รวมถึงอาจส่งผลให้ติดเชื้อได้ ตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายในเปลือกตาอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากกว่าตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายนอก อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเมื่อกระพริบตา เหมือนมีบางอย่างติดอยู่ในดวงตาตลอดเวลา อาการอาการของตากุ้งยิง อาการตากุ้งยิง สังเกตได้จากปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังนี้ ตุ่มนูนสีแดงคล้ายสิวอยู่บนเปลือกตา บางตุ่มอาจมีหนองสีเหลืองปรากฏ เปลือกตาบวม รู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา คันตา น้ำตาไหล ตาแฉะ เปลือกตาหย่อนคล้อย มองเห็นไม่ชัด ตาไวต่อแสง สาเหตุสาเหตุที่ส่งผลให้เป็นตากุ้งยิง ตากุ้งยิงมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ที่ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา แต่บางครั้งก็อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันของต่อมไขมันเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา หรือจากแผลเป็นที่เนื้อเยื่อในบริเวณเปลือกตา หรืออาจเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โรคเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด อาการตากุ้งยิง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตากุ้งยิง มีดังต่อไปนี้ การใช้มือสัมผัสกับดวงตา ใส่คอนแทคเลนส์ที่สกปรกไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ ล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าไม่สะอาด หรือทิ้งไว้ข้ามคืน สภาวะต่าง ๆ เช่น เปลือกตาอักเสบ โรคโรซาเซีย การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย อาการตากุ้งยิง คุณหมออาจวินิจฉัยโดยการตรวจดูบริเวณเปลือกตาด้วยการส่องไฟ และใช้แว่นขยาย เพื่อตรวจดูลักษณะของตุ่มตากุ้งยิง นอกจากนี้คุณหมอก็อาจจะตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในบริเวณดวงตา หรือสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น น้ำหนอง อาการบวม […]


โรคตา

ต้อลม (Pinguecula) ปัญหาดวงตาใกล้ตัว อย่ามัวแต่ละเลย

ต้อลม หนึ่งในปัญหาสุขภาพดวงตา ที่แม้จะไม่ใช่ภาวะดวงตาที่รุนแรง แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระคายเคืองที่รุนแรงมากขึ้นได้ แต่ต้อลมคืออะไร และจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ เป็นต้อลม ได้หรือไม่นั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีข้อมูลและคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ ต้อลม คืออะไร โรคต้อลม (Pinguecula) คือปัญหาสุขภาพดวงตาที่พบได้มากในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตาขาว ก่อให้เกิดแผ่นนูนสีขาวหรือสีเหลือง ในบริเวณเนื้อเยื่อบุตาสีขาวใกล้กับขอบตาดำ  โดยมากแล้วจะเกิดขึ้นที่เนื้อตาขาวส่วนที่อยู่ใกล้กับจมูก ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ เป็นต้อลม มีดังต่อไปนี้  การที่ดวงตาสัมผัสกับรังสียูวีเป็นประจำ การที่ดวงตาสัมผัสกับลมและฝุ่นเป็นประจำ มีอาการตาแห้ง อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อดวงตา สัญญาณของต้อลม มีอะไรบ้าง ต้อลมเป็นปัญหาสุขภาพดวงตาที่ไม่มีอาการแสดงออกมากนัก โดยสัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นต้อลม คือ การมีแผ่นหรือตุ่มนูนสีขาวหรือสีเหลือง เกิดขึ้นบริเวณเนื้อตาสีขาวใกล้กับขอบตาดำ อย่างไรก็ตาม ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจแสดงร่วมด้วย ดังนี้ ระคายเคืองตา ตาแห้ง รู้สึกเหมือนมีอะไรเข้าตา คันที่ดวงตา ตาแดง ตาอักเสบ การ เป็นต้อลม แม้จะเกิดขึ้นที่ดวงตา แต่ไม่ได้มีการกระทบกระเทือนต่อกระจกตา จึงไม่มีปัญหาต่อการมองเห็น หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น เพียงแต่อาจจะสร้างความรู้สึกไม่สบายตา หรือระคายเคืองตาได้ เป็นต้อลม รักษาได้หรือไม่ ต้อลมเป็นปัญหาสุขภาพดวงตาที่สามารถรักษาได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อ เป็นต้อลม ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทางกับคุณหมอ การใช้น้ำตาเทียม ยาหยอดตา หรือสเคลอรัลเลนส์ (Scleral Lens) ซึ่งเป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วยลดอาการระคายเคืองตา ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของต้อลมได้แล้ว […]


โรคตา

จอประสาทตาลอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

จอประสาทตาลอก หรือ จอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) เป็นภาวะที่อาจเกิดจากเรตินาด้านหลังของดวงตา เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ส่งผลให้มองสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน ตาพร่า หรือเห็นเป็นแสงวาบคล้ายแฟลชถ่ายรูป หากไม่เร่งรักษา หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวร คำจำกัดความจอประสาทตาลอก คืออะไร จอประสาทตาลอก คือ การหลุดลอกของชั้นเนื้อเยื่อ หรือเรียกว่าเรตินาของดวงตา เมื่อเรตินาแยกออกจากตำแหน่งเดิม ก็อาจทำให้เซลล์ หรือเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เพราะเรตินาทำหน้าสำคัญในการประมวลผลเมื่อแสงผ่านเข้าตา เลนส์ตาจะทำการโฟกัสภาพ หลังจากนั้นเรตินาจะแปลงภาพเป็นสัญญาณแล้วส่งข้อมูลไปยังสมองผ่านเส้นประสาทตา เพื่อสร้างการมองเห็น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจ นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ อาการอาการจอประสาทตาลอก อาการจอประสาทตาลอก อาจไม่ส่งผลให้ปวดตา แต่อาจส่งสัญญาณเตือนเชื่อมโยงกับด้านการมองเห็น ดังนี้ เห็นลักษณะไฟสว่าง หรือไฟกระพริบ เหมือนแฟลชถ่ายรูป มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน และประสิทธิภาพการมองเห็นวัตถุด้านข้างลดลง เห็นจุดเล็ก ๆ ลอยไปมาจำนวนมาก สูญเสียการมองเห็น หรือมีเงาดำมาบดบังม่านตาเป็นบางส่วน สาเหตุสาเหตุจอประสาทตาลอก สาเหตุจอประสาทตาลอก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการลอกของเรตินา ดังนี้ จอประสาทตามีรู หรือรอยฉีกขาด (Rhegmatogenous) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากรูในเรตินามีรู และรอยฉีดขาดที่ทำให้ของเหลวไหลเข้าไปสะสมในเรตินา ทำให้จอประสาทตาลอก จอประสาทตาลอกที่เกิดจากการดึงรั้ง (Tractional retinal detachment) จอประสาทตาลอกประเภทนี้ อาจเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพังผืดเกิดขึ้นบริเวณเรตินา เมื่อพังผืดหดตัวอาจเกิดแรงดึงทำให้จอประสาทตาลอก มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จอประสาทตาลอกแบบไม่มีรู หรือรอยฉีกขาด (Exudative retinal […]


โรคตา

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion)

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ที่เป็นต่อมสร้างน้ำมันหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตา เกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นไหลออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง [embed-health-tool-bmr] คำจัดความ ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ คืออะไร ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ซึ่งเป็นต่อมสร้างน้ำตาหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตาเกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง พบได้บ่อยแค่ไหน อาการตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการอักเสบดังนี้ ต่อมไขมันอักเสบ สิว โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย เปลือกตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น อาการ อาการของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                      ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด  แต่ขนาดของก้อนบริเวณเปลือกตาอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็น  และทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตา ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันไป สาเหตุ สาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                     โดยปกติสาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ตาชนิดหนึ่ง โดยมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ  ดังนี้ ต่อมไขมันอักเสบ สิว โรคผิวหนังอักเสบ โรซาเชีย เปลือกตาอักเสบระยะยาว โรคตา การติดเชื้อไวรัสบริเวณเปลือกตา ปัจจัยเสี่ยงของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ การติดเชื้อไวรัส วัณโรค มะเร็งผิวหนัง โรคเบาหวาน การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ ในกรณีส่วนใหญ่คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะนี้ด้วยการดูก้อนที่ปรากฏบริเวณเปลือกตา และสอบถามอาการของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบยืนยันให้แน่ชัดว่าก้อนที่ปรากฎเป็นตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บหรือไม่ การรักษาตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ ตากุ้งยิงมักหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา […]


โรคตา

เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage)

อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage) คืออาการที่บริเวณตาขาวมีจุดสีแดงๆ หรือมีสีแดง เกิดจากการที่เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก แล้วเยื่อบุลูกตาไม่สามารถซับเลือดออกไปได้ทันเวลา คำจำกัดความเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก คืออะไร อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage) คือ อาการที่บริเวณตาขาวมีจุดสีแดงๆ หรือมีสีแดง เกิดจากการที่เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก แล้วเยื่อบุลูกตาไม่สามารถซับเลือดออกไปได้ทันเวลาจึงทำให้เลือดนั้นยังตกค้างจนมองเห็นเป็นจุดสีแดงที่บริเวณตาขาว  เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก พบได้บ่อยเพียงใด อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป และไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงจนต้องมีการดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน แม้เพียงการไอหรือจามก็สามารถทำให้เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตกได้เช่นเดียวกัน โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติม อาการอาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก มีอะไรบ้าง ปกติแล้วเรามักจะไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังมี อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก เพราะอาการดังกล่าวไม่ได้มีผลในการสร้างความเจ็บปวดและไม่มีผลต่อการมองเห็นด้วย แต่เราจะสามารถสังเกตได้เมื่อส่องกระจก หรือผู้อื่นบอกให้รู้ ซึ่งอาการของเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก มีดังต่อไปนี้ มีจุดสีแดงสดเกิดขึ้นที่บริเวณตาขาว อาจรู้สึกได้ว่ามีรอยขีดข่วนที่ดวงตา อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง จุดสีแดงบริเวณตาขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีเหลืองจนกระทั่งจุดสีแดงหายไป อย่างไรก็ตาม อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ควรไปพบหมอ หากภายใน 2-3 สัปดาห์ อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตกยังคงอยู่ หรือยังคงมีจุดสีแดงที่ดวงตา หรือมีอาการเจ็บปวดที่ดวงตา หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณของอาการข้างต้น หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคุณต่อไป สาเหตุสาเหตุของอาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ การไอและการจามอย่างรุนแรง อาการเมื่อยล้า การอาเจียน การถูดวงตาอย่างรุนแรง ฝุ่นละอองต่างๆ เข้าตา คอนแทคเลนส์ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การทำศัลยกรรม อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก อาจเกิดจากอาการทางสุขภาพต่างๆ ได้เหมือนกันแต่มักจะไม่ใช่สาเหตุหลัก หรือเกิดขึ้นได้แต่น้อย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การรับประทานยารักษาโรคที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดการตกเลือด ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก เพศ เพศชายมีแนวโน้มที่จะเกิด อาการเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก […]


โรคตา

ตาแพ้แสง อาการ และวิธีป้องกัน

ตาแพ้แสง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากดวงตามีความไวต่อแสงต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลในเรื่องของการมองเห็น นอกจากนั้นมันยังสามารถส่งผลไปยังสมอง จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้นำบทความเรื่องอาการตากลัวแสงมากฝากกัน ตาแพ้แสง คืออะไร ตาแพ้แสง (Photophobia) คือ อาการที่ตามีความไวต่อแสงมาก ๆ ไม่สามารถทนต่อแสงทุกประเภทได้ ไม่ว่าจะเป็น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงสว่างภายในอาคาร ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บปวดขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วแสงยังทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ หรืออาการอื่นๆ ที่เกิดจากแสงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่มีดวงตาสีอ่อนมักจะมีความไวต่อแสงมากกว่าคนที่มีดวงตาสีเข้ม ความจริงแล้วอาการปวดไมเกรนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการตากลัวแสง ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่จึงมีอาการตากลัวแสงประกอบด้วย อาการตาแพ้แสง โดยปกติแล้วอาการแพ้อาจเชื่อมโยงกับการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ในดวงตาที่ทำหน้าที่ตรวจจับแสงและเส้นประสาทไปที่ศีรษะ ไมเกรนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความไวแสงถึง 80% ซึ่งไมเกรนอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหาร ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว อาการไมเกรนยังอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย อาการตาแพ้แสงยังอาจส่งผลต่อสมองและต่อตาได้อีกด้วย อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อสมอง สมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองเกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือสาเหตุอื่น ๆ ความรุนแรงของโรคไข้สมองอักเสบ อาจคุกคามชีวิตได้ อาการไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง การติดเชื้อแบคทีเรียลักษณะนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น สมองถูกทำลาย สูญเสียการได้ยิน เกิดอาการชัก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid Hemorrhage) อาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เกิดขึ้นจากการมีเลือดออกระหว่างสมองและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของสมอง โรคหลอดเลือดสมอง […]


โรคตา

Computer Vision Syndrome สาเหุต อาการ และการรักษา

Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงหลังจากจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น โทรศัพท์มือถือ หากไม่พักสายตา หรือละลายสายตาออกมาจากหน้าจอบ้าง ก็อาจทำให้ตาพร่า ระคายเคืองตา แสบตา และตาแห้งได้ คำจำกัดความComputer vision syndrome คืออะไร Computer Vision Syndrome (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) หรือ CVS คือภาวะเกี่ยวข้องกับดวงตา เกิดจากการใช้สายตาจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ เป็นเวลานาน โดยไม่พักสายตา ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก และผู้ใหญ่ หากไม่ปรับปรุงพฤติกรรมเช่นนี้ก็อาจทำให้การโฟกัสในตาเสื่อมสภาพลง มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพเบลอภาพซ้อน มีอาการตาล้า ตาแห้ง  และอาจเสี่ยงเผชิญกับปัญหาทางสายตาต่าง ๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่น สายตายาว อาการอากาของComputer vision syndrome อาการComputer vision syndrome สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังนี้ ปวดตา ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา โฟกัสวัตถุยาก มองเห็นเป็นภาพซ้อน ภาพเบลอ ปวดศีรษะจากอาการปวดตา ปวดคอ และปวดไหล่จากการนั่งอยู่ที่เดิมเป็นเวลานาน สาเหตุสาเหตุComputer vision […]


โรคตา

ตาบอดกลางคืน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาบอดกลางคืน เป็นภาวะที่ทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวช่วงเวลากลางคืน หรือในพื้นที่ที่มีแสงน้อยได้ไม่ดี ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา และปัญหาเกี่ยวกับดวงตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หากสังเกตว่าตัวเองเริ่มมีการมองเห็นเปลี่ยนแปลงเป็นภาพเบลอไม่คมชัดโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ควรเข้ารับการตรวจสายตาเพื่อหาสาเหตุ และรับการแก้ไข เพื่อปรับให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพมากขึ้น คำจำกัดความตาบอดกลางคืน คืออะไร ตาบอดกลางคืน คือ ความผิดปกติทางการมองเห็นประเภทหนึ่ง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นแย่ลงโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงมองเห็นไม่ชัดในสถานที่ที่มีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บางคนอาจมีภาวะตาบอดตอนกลางคืนมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเรตินา ที่อาจส่งผลให้ตาบอดอย่างสมบูรณ์ หรือยังคงมองเห็นสิ่งรอบตัวในภาพเบลอช่วงเวลากลางคืน อาการอาการตาบอดกลางคืน อาการตาบอดกลางคืน สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ ขยี้ตาบ่อยช่วงเวลากลางคืน มองเห็นสิ่งรอบตัวยากลำบากในสถานที่ทีมีแสงน้อย เช่น โรงภาพยนตร์ บ้าน มองเห็นไม่ชัดขณะขับรถตอนกลางคืน   สาเหตุสาเหตุตาบอดกลางคืน สาเหตุที่ส่งผลให้ตาบอกกลางคืน คือ สายตาสั้น สายตายาว ต้อหิน ต้อกระจก การขาดวิตามินเอ เบาหวานขึ้นตา ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ตาบอดกลางคืนแต่กำเนิด โรคโรคอาร์พี (Retinitis pigmentosa : RP) หรือโรคจอตามีสารสี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงตาบอดกลางคืน นอกจากปัญหาเกี่ยวกับสายตาที่อาจส่งผลให้การมองเห็นช่วงเวลาการคืนแย่ลง ภาวะร่างกายขาดวิตามินเอก็อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงได้ เพราะวิตามินเ เป็นสารอาหารสำคัญที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และลดความเสี่ยงการเกิดโรคตา อีกทั้งยังอาจช่วยป้องกันภาวะตาแห้ง (Xerophthalmia) และ กระจกตาเป็นแผล (Keratomalacia)ได้ การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยตาบอดกลางคืน หากสังเกตว่ามีการมองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ควรเขารับการวินิจฉัยหาสาเหตุจากคุณหมอในทันที ซึ่งคุณหมออาจนำการทดสอบ ดังต่อไปนี้ มาร่วมใช้ ทดสอบการมองเห็นสี การสะท้อนแสงของดวงตา การหักเหของแสง ตรวจจอประสาทตา ตรวจการมองเห็นวัตถุด้านข้างตาโดยไม่หันลูกตาตาม การรักษาตาบอดกลางคืน การรักษาตาบอดกลางคืนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่คุณหมอวินิจฉัยเจอ หรือตามอาการและโรคตาที่ผู้ป่วยเป็น ยกตัวอย่าง หากมีภาวะสายตาสั้น สายตายาว […]


โรคตา

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia)

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) คืออะไร โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes หรือ Amblyopia) เป็นภาวะที่ดวงตาและสมองไม่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างที่ควรจะเป็น เด็กที่ต้องเผชิญกับโรคนี้ มักมีดวงตาที่มองเห็นได้ดีเพียงข้างเดียว ขณะที่อีกข้างมีการมองเห็นแย่กว่า หากได้รับการวินิฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันปัญหาการมองเห็นของเด็กได้ในระยะยาว สายตาขี้เกียจนั้นไม่ใช่อาการรุนแรงและสามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ หรือผ้าปิดตา แต่ในบางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาอาการที่เหมาะสมทันท่วงที สมองของเด็กอาจจะไม่ยอมรับรู้ภาพเห็นจากดวงตาข้างที่มีปัญหา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการมองเห็นของดวงตาข้างนั้นได้อย่างถาวร โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) พบได้บ่อยเพียงใด โรคตาขี้เกียจ พบได้บ่อยมาก ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งราวอายุ 8 ขวบ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและข้อมูลในการรักษาเพิ่มเติม อาการ อาการของ โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eyes/Amblyopia) โดยทั่วอาการของ โรคตาขี้เกียจ ได้แก่ ตาข้างหนึ่งมักหลบใน หรือเหล่ออกด้านนอก ดวงตาทั้งสองข้างทำงานไม่สอดประสานกัน การรับรู้ความลึกแย่หรือบกพร่อง ตาเหล่ หรือตาปิดไปข้างหนึ่ง คอเอียงด้านใดด้านหนึ่ง ผลการตรวจตาผิดปกติ ซุ่มซ่ามเดินชนสิ่งของ  มองเห็นภาพซ้อน นอกจากนี้ หากมีอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ […]


โรคตา

ตาล้า สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาล้า เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการใช้สายตามาเกินไป เช่น การขับรถเดินทางไกล จ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ระคายเคือง โดยปกติอาการตาล้าอาจไม่ก่อให้เกิดภาวะรุนแรง และสามารถหายไปได้เองหากดูแลอย่างถูกวิธี คำจำกัดความตาล้า คืออะไร ตาล้า คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เนื่องจากมีการใช้สายตาอย่างหนักในระหว่างวัน เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เพราะการใช้สายตายเป็นเวลานานอาจทำให้กะพริบตาน้อยลง ทำให้ขาดความชุ่มชื้นในดวงตา จนตาแห้ง แสบตา และตาล้า ซึ่งปกติแล้วควรกะพริบตาประมาณ 18 ครั้งต่อนาที เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงต ตาล้าอาการตาล้า อาการตาล้า สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ เจ็บตา ระคายเคืองตา ตาแห้ง หรือตาแฉะ น้ำตาไหล ปวดศีรษะ ลืมตายาก มีปัญหาในการโฟกัสสิ่งรอบตัว มองเห็นเป็นภาพซ้อน ตาไวต่อแสง ปวดคอ ไหล่ หรือหลังจากการนั่งจดจ่อเป็นเวลานาน สาเหตุสาเหตุตาล้า สาเหตุที่อาจทำให้ตาล้า มีหลายประการ ดังนี้ การจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล โดยไม่หยุดพักสายตา ใช้สายตาในพื้นที่ที่แสงน้อย ขับรถเดินทางไกล เนื่องจากต้องใช้สมาธิจ้องมองถนนเป็นเวลานาน ดวงตาสัมผัสกับอากาศ หรือลมแรง เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม โรคสายตา เช่น ตาแห้ง สายตาสั้น สายตายาว ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงตาล้า ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดคือการใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่กะพริบตาเพิ่มความชุ่มชื้น และได้รับผลกระทบจากแสงหน้าจอสะท้อนเข้าดวงตา ทำให้ดวงตามีความตึงเครียด ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน