backup og meta

6 โรคตา ที่ควรระวัง หากยับยั้งไม่ทัน อาจเสี่ยงต่อการตาบอด

สุขภาพดวงตา เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรได้รับการดูแลอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพดวงตาเสื่อมโทรมจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาชนิดต่าง ๆ ทั้งที่มีระดับความรุนแรงน้อย ไปจนถึงระดับความรุนแรงมากที่อาจนำไปสู่การตาบอด แต่ โรคตา ที่เสี่ยงต่อการ ตาบอด มีโรคอะไรที่ควรระวังบ้างนั้น มาหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ

6 โรคตา ที่เสี่ยงต่อการตาบอด มีอะไรบ้าง

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age related Macular Degeneration)

หรือก็คือโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เรารู้จักกันดี แต่หากพบโรคนี้ในผู้สูงอายุ เราจะเรียกว่า โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ โรคตาชนิดนี้เป็นความผิดปกติของดวงตาเนื่องจากความชรา ทำให้ส่วนตรงกลางดวงตาที่เรียกว่าเรตินา ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน กลายเป็นมองเห็นตรงกลางไม่ชัดเจน มองเห็นแค่เพียงด้านข้างเท่านั้น โดยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ  แบ่งเป็นสองชนิด ได้แก่

  • จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดหลังเรตินา ทำให้เลือดรั่วไหลออกมาที่จุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการมองเห็น
  • จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD) เกิดจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นที่ส่วนกลางซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ภาพชัดเจนเกิดการเบลอ โดยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ พบว่าจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากความชราเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด

มากไปกว่านั้น หากปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่การ ตาบอดได้

ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก คือการขุ่นมัวของเลนส์ตาที่ส่งผลให้การมองเห็นเบลอ หรือมองเห็นได้ไม่ชัด สาเหตุหลักมักเกิดจากความชราภาพ จึงถือเป็นโรคตาที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บที่ดวงตา ระบบพันธุกรรม หรือมีประวัติการผ่าตัดดวงตามาก่อน ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดต้อกระจกด้วยเช่นกัน มากไปกว่านั้น ต้อกระจกยังถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการ ตาบอด ด้วย หากปล่อยไว้โดยไม่ได้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ต้อหิน (Glaucoma)

ดวงตาของเรามีการผลิตและระบายของเหลวเป็นปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการผลิตของเหลวในดวงตามากจนเกินไป ก็จะก่อให้เกิดความดันจากของเหลว จนทำลายเส้นประสาทของดวงตา โดยต้อหินจะค่อย ๆ เริ่มจากบริเวณขอบด้านนอก และค่อย ๆ ไล่มาจุดกึ่งกลางของดวงตา และเนื่องจากต้อหินเป็นความผิดปกติของดวงตาที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ นี่เอง ทำให้กว่าจะรู้ตัวอีกที ต้อหินที่เป็นอยู่ก็เข้าขั้นอันตรายเสียแล้ว ซึ่งต้อหินถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการสูญเสียการมองเห็นหรือ ตาบอด

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)

เบาหวานขึ้นตา เป็นโรคตาที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมจนทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตามีอาการบวมและมีเลือดออกที่จอประสาทตา ทำให้การมองเห็นแย่ลง เช่น เห็นภาพซ้อน ภาพมัว ภาพมีขีดหรือจุด เป็นต้น และถ้าหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการ ตาบอด อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบภาวะเบาหวานขึ้นตาตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการรักษา มีโอกาสสูงที่จะหายจากภาวะดังกล่าว

โรคจอประสาทตาเสื่อม RP (Retinitis Pigmentosa)

โรคจอประสาทตาเสื่อม RP เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ซึ่งเกิดจากเสื่อมสภาพของเรตินา โดยไล่มาจากส่วนของขอบตา จนกระทั่งมืดสนิท โรคตาชนิดนี้มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เด็กที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม RP เกิดมาพร้อมกับอาการตาบอดกลางคืน และปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง ทำให้ผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม RP มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการ ตาบอด

ตาขี้เกียจ (Amblyopia)

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Eye Diseases that Can Cause Legal Blindness. https://www.brightfocus.org/macular/article/eye-diseases-can-cause-legal-blindness. Accessed March 24, 2021.

Common Eye Disorders and Diseases. https://www.cdc.gov/visionhealth/basics/ced/index.html. Accessed March 24, 2021.

COMMON EYE DISEASES. https://visionlossresources.org/resources/common-eye-diseases/. Accessed March 24, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การฉีดยาเข้าลูกตา เทคนิคการรักษาปัญหาดวงตา โดยจักษุแพทย์

โรคตาในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย Khongrit Somchai · แก้ไข 25/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา