สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

สุขภาพตา

ตาบวมจากการร้องไห้ จัดการได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

ไม่ว่าจะดูหนังเศร้า หนังรัก หรือแม้กระทั่งฟังเพลง ก็ทำให้เรานั้นน้ำตาไหลออกมาได้ เพราะอารมณ์ความรู้สึก ที่รู้สึกร่วมไปกับหนังและเพลง ทำให้เรานั้นร้องไห้ออกมาตามอารมณ์ที่เรารู้สึก เรียกได้ว่า อินไปกับทุกบทบาทเลยทีเดียว แต่หลังจากร้องไห้เสร็จก็จะต้องมาเจอกับปัญหา อาการตาบวมจากการร้องไห้ ซึ่งเนื้อเยื่อใต้ตาได้ซึมซับน้ำตาเอาไว้จนเกิดอาการบวม วันนี้ Hello คุณหม มีวิธีจัดการกับปัญหา ตาบวมจากการร้องไห้ มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] เหตุผลที่ทำให้คนเรา น้ำตาไหล ดวงตา จะมีการผลิตน้ำตาออกมาจำหนึ่ง โดยต่อมน้ำตาจะไหลผ่านผิวตา และไหลออกมาจากจากมุมตา น้ำตานั้นมีประโยชน์ในการช่วยปกป้องพื้นผิวของดวงตาและช่วยขจัดสิ่งสกปรกออกจากดวงตา เหตุผลที่น้ำตาไหลนั้นมี 3 ประเภท คือ น้ำตาหล่อลื่น (Basal tears) น้ำตาหล่อลื่น เป็นน้ำตาที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงลูกตาให้เกิดความชุ่มชื่น ช่วยลดความระคายเคือง ปกป้องกระจกตา บางครั้งน้ำตาหล่อลื่นยังช่วยขจัดสิ่งสกปรก ที่ทำให้ตาระคายเคืองได้อีกด้วย น้ำตาจากความระคายเคือง (Reflex tears) น้ำตาชนิดนี้มักจะไหลเมื่อดวงตาเกิดการกระตุ้น หรือมีสิ่งเร้าภายนอกมาทำให้เกิดความระคายเคือง เช่น แสงแดด ลม ควัน สารระเหยจากหัวหอม หรือแก๊สน้ำตา สารเหล่านี้จะไปกระตุ้นทำให้ดวงหลั่งน้ำตาออกมา นอกจากนี้ยังมีแอนติบอดี (Antibody) ที่ช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียอีกด้วย น้ำตาจากอารมณ์ (Emotional tears) น้ำตาจากอารมณ์เป็นน้ำตาที่ไหลออกมาจากความรู้สึกของเราไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่รู้สึกทุกข์ มีความสุข ดีใจ หรือแม้กระทั่งอารมณ์เศร้าใจ น้ำตาก็จะไหลออกมาตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้น้ำตาจากอารมณ์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางกายได้อีกด้วย เมื่อคนเราร้องไห้ด้วยอารมณ์ จะผลิตน้ำตาออกมาได้มากที่สุด […]


ปัญหาตาแบบอื่น

คันตา สาเหตุ วิธีบรรเทาอาการ และการป้องกัน

คันตา เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากสารระคายเคืองที่เข้าสู่ดวงตา เช่น ฝุ่นควัน สารเคมี รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตาอย่างภาวะตาแห้ง หากเมื่อใดที่รู้สึกคันตา ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา หรือนำมือไปสัมผัสกับดวงตา เพราะอาจทำให้กระจกตาเป็นแผล นำไปสู่การติดเชื้อได้ สาเหตุที่ทำให้คันตา สาเหตุที่อาจส่งผลให้คันตา หรือระคายเคืองดวงตา มีดังนี้ โรคภูมิแพ้ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการคันตา แสบตา น้ำตาไหล ตาบวมแดง ที่พบบ่อยที่สุดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ต้นไม้ ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์เลี้ยง ควันบุหรี่ ละอองน้ำหอม สารเคมี ควันเสียจากยานพาหนะ การติดเชื้อ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อาจส่งผลให้เยื่อบุตาอักเสบ นำไปสู่อาการตาแดง บวม และอาจมีหนองขึ้นบนเปลือกตา บางกรณีอาจทำให้ตาแดง พร้อมกับน้ำมูกไหลที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เกล็ดกระดี่ เป็นการอักเสบของเปลือกตา ที่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อต่อมน้ำมันบริเวณโคนขนตาอุดตัน ส่งผลให้ตาแดง ระคายเคือง แต่อาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา หรือการมองเห็นใด ๆ ภาวะตาแห้ง ปกติดวงตาของจะมีน้ำตาคอยหล่อเลี้ยงทำให้ตาชุ่มชื้น และช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่บนดวงตา แต่หากร่างกายของผลิตน้ำตาน้อยเกินไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงอาจส่งผลให้ตาแห้ง และคันตา การใส่คอนแทคเลนส์ การใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป อาจทำให้ดวงตาระคายเคือง […]


การดูแลสุขภาพตา

น้ำตาเทียม วิธีใช้ และผลข้างเคียงที่ควรรู้

น้ำตาเทียม เป็นยาหยอดตาที่นำมาใช้หล่อลื่นลูกตา ในกรณีที่ต่อมน้ำตาในร่างกายผลิตน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้ง ระคายเคือง จนนำไปสู่การมองเห็นเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การใช้น้ำตาเทียมอาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กระจกตา ป้องกันการติดเชื้อ และทำให้การมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดเจนมากขึ้น น้ำตาเทียม คืออะไร น้ำตาเทียม คือ สารละลายสำหรับหยอดตาที่มีส่วนประกอบของสารคาร์บอกซีเซลลูโลส (CMC) เด็กซ์แทรน (Dextran) กลีเซอรีน (Glycerin) ไฮโพรเมโลส (Hypromellose) โพลิเอทิลีน ไกลคอล (พีอีจี400) พอลิซอร์เบต (Polysorbates) ชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ภายใน เพื่อช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้น และช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาเนื่องจากตาแห้ง เช่น ระคายเคืองตา ตาแดง ตาพร่า ซึ่งภาวะตาแห้งอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้น การใส่คอนแทกเลนส์ การใช้สายตามากเกินไป ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ปัญหาสุขภาพบางประการ การผ่าตัดดวงตา หรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นควัน อากาศเข้าดวงตาจากสภาวะลมแรง ชนิดของน้ำตาเทียม น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสียประกอบด้วย เบนซัลโคเนียม คลอไรด์ (Benzalkonium Chloride หรือ BKC) จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต คนส่วนใหญ่สามารถใช้น้ำตาเทียมแบบมีสารกันเสียได้อย่างปลอดภัย แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคตาแห้งรุนแรงที่จำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อย หากใช้น้ำตาเทียมชนิดนี้อาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรง หรือภาวะเป็นพิษ และทำให้อาการแย่กว่าเดิมได้ หากใครแพ้สารกันเสียที่ใส่ในน้ำตาเทียม หรือไม่แน่ใจว่าจะตนเองแพ้หรือไม่ อาจควรเลี่ยงไปใช้น้ำตาเทียมชนิดอื่นแทน น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย น้ำตาเทียมที่ไม่ใส่สารกันเสียจะมีสารเคมีในปริมาณน้อยกว่า […]


สุขภาพตา

เปลือกตาเป็นตุ่ม มี ก้อนที่เปลือกตา เกิดจากอะไร ปล่อยไว้จะอันตรายหรือเปล่า

เคยไหม อยู่ ๆ เปลือกตาก็เป็นตุ่ม หรือมีก้อนที่เปลือกตา จนคุณรู้สึกรำคาญ บางครั้งก็เจ็บ ระบม หรือมองเห็นลำบากขึ้นด้วย หากคุณเคยเป็น หรือกำลังสงสัยว่า ก้อนที่เปลือกตา คืออะไรกันแน่ แล้วต้องดูแลรักษายังไง ปล่อยไว้จะเป็นอันตรายหรือเปล่า บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณแล้ว [embed-health-tool-heart-rate] ก้อนที่เปลือกตา คืออะไรกันแน่ ก้อนที่เปลือกตา หรือตุ่มที่เปลือกตา มักขึ้นบริเวณขอบเปลือกตา ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน จนเกิดเป็นก้อนหรือตุ่มซึ่งอาจมีลักษณะบวม แดง และทำให้รู้สึกเจ็บ ก้อนที่เปลือกตาส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และในบางกรณีก็สามารถหายได้เองโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล เพียงแค่ดูแลตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติอย่างถูกต้อง แต่หากคุณเริ่มรู้สึกเจ็บบริเวณก้อนที่เปลือกตา หรือตุ่มที่เปลือกตามากขึ้นเรื่อย ๆ ดูแลรักษาด้วยวิธีไหนก็เริ่มไม่ได้ผล หรือก้อนที่เปลือกตาเริ่มส่งผลกระทบต่อการมองเห็น แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ชนิดของก้อนที่เปลือกตา ชนิดของก้อนที่เปลือกตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ตากุ้งยิงชนิดหัวออกด้านนอก ตากุ้งยิงชนิดหัวออกด้านนอก (Stye หรือ External hordeolum) เป็นก้อนที่เปลือกตาชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในต่อมไขมันที่เปลือกตา ทำให้เปลือกตาติดเชื้อ จนเกิดเป็นฝีสีเขียวเม็ดเล็ก ๆ หรือจุดแดง ๆ ที่บริเวณขอบเปลือกตา ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ปวดระบม ตาไวต่อแสง น้ำตาไหล และระคายเคือง ส่วนใหญ่แล้ว ตุ่มตากุ้งยิงจะขึ้นหลังจากติดเชื้อประมาณ […]


สุขภาพตา

ตาตก หย่อนคล้อย จนทำให้ดูแก่ก่อนวัย สามารถรักษาได้อย่างไร

ดวงตาเป็นอีกอวัยวะสำคัญที่เราจำเป็นต้องใช้มองสิ่งของหรือวัตถุต่างรอบ ๆ ตัว และอาจรวมไปถึงการสื่อสารผ่านทางสายตา ดังนั้นการดูแลดวงตาทั้งสองข้างของเราจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่แพ้กับอวัยวะส่วนอื่น ๆ เลยเช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมารู้ถึงวิธีการรักษาถึงปัญหา เปลือกตาตก หรือ ตาตก หย่อนคล้อย ให้กลับมากระชับขึ้นดังเดิมกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้เกิด ตาตก หรือ เปลือกตาตก การที่คุณนั้นกำลังประสบกับหนังตาที่ตกหย่อนคล้อยอยู่นี้ ไม่ว่าจะเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัว แต่ในบางครั้ง ก็อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ที่เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเอ็นบริเวณเปลือกตาที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว การที่คุณมักมีพฤติกรรมการขยี้ตามากเกินไป ใส่คอนแทคเลนส์แบบแข็ง ซึ่งมีผิวสัมผัสไม่อ่อนโยน เคยผ่าตัดบริเวณรอบดวงตา หรือเปลือกตามาก่อน เนื้องอกที่เปลือกตา เส้นประสาทในกล้ามเนื้อตาเกิดความเสียหาย การฉีดโบท็อกซ์เสริมความงาม กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อีกทั้งหนังตาที่ตก หรือหย่อนคล้อยเหล่านี้ สามารถทำได้คุณนั้นอาจมีการใช้ชีวิตที่ยากลำบากขึ้น จากที่ชั้นของหนังตาเกิดตกลงมาบดบังจนทำให้เกิดการมองเห็นได้ไม่ชัดเจน เบลอ และมัว จึงส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่เรามักไม่คาดคิดได้ ลักษณะของอาการ ตาตก เป็นอย่างไร เนื่องจากกรณีของอาการตาตกอาจไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ ให้เราได้ทราบล่วงหน้า แต่แน่นอนว่าสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนและแน่ชัด นั่นก็คือ เปลือกตาที่หย่อนคล้อยลงมา ๆ จนทำให้เกิดการบังดวงตานำไปสู่การลดความสามารถในด้านการมองเห็น และยังทำให้คุณรู้สึกถึงความอ่อนล้าของดวงตา หรือดวงตาดูอ่อนแรงขึ้น เมื่อพบกับลักษณะอาการดังกล่าวนี้ คุณควรรีบเร่งเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดในทันทีจากจักษุแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญในด้านของปัญหาดวงตา เพื่อป้องกันมิให้ เปลือกตาตก มากขึ้น จนกระทบด้านการมองเห็นที่เกินกว่าเหตุได้ ใครที่อาจประสบกับภาวะเปลือกตาตกได้บ้าง โดยส่วนใหญ่ผู้ที่จะประสบกับภาวะ เปลือกตาตก ได้นั้น มักเป็นบุคคลทั่วไป […]


สุขภาพตา

ขี้ตาเยอะ สัญญาณบอกโรค ที่ไม่ควรมองข้าม

เวลาตื่นนอนในตอนเช้า เราอาจจะสังเกตพบคราบ ‘ขี้ตา’ เกาะติดอยู่ในบริเวณดวงตาและขนตา ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่ว่าใครต่างก็สามารถมีได้กันทั้งนั้น แต่หากขี้ตานั้นมีมากผิดปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณ บ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ที่เรากำลังเป็นอยู่ก็ได้เช่นกัน โรคแฝงที่มาพร้อมกับอาการ ขี้ตาเยอะ นั้นมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกับ Hello คุณหมอ ได้จากในบทความนี้เลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ขี้ตา เกิดจากอะไร ขี้ตา นั้นเกิดขึ้นเมื่อสารคัดหลั่งที่เคลือบดวงตาแห้งลง และกลายเป็นคราบเกาะติดที่บริเวณเปลือกตา ขนตา และมุมขอบตา ขี้ตานั้นมีอยู่หลายรูปแบบ อาจมีทั้งแบบแห้งเป็นก้อน เปียกแฉะ เหนียว ข้น ใส หรือออกเหลืองอ่อน ๆ ล้วนแล้วแต่ก็เป็นลักษณะของขี้ตาตามปกติทั้งสิ้น โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะผลิตเมือกและน้ำมันออกมาเคลือบดวงตา เพื่อช่วยหล่อลื่นและรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา และเมื่อเรากระพริบตา ก็จะช่วยกำจัดสารเมือกและน้ำมันส่วนเกินที่เคลือบอยู่ที่ตาออกไป แต่ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับนั้น เราจะไม่ได้กระพริบตา ทำให้สารคัดหลั่งส่วนเกินที่ดวงตานี้เอ่อล้นอยู่รอบดวงตา และแห้งลงกลายเป็นขี้ตานั่นเอง ลักษณะ ขี้ตา แบบไหนที่ไม่ปกติ การมีขี้ตาในปริมาณเล็กน้อยนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างไร แต่ลักษณะของขี้ตาบางอย่าง ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้ เช่น หากขี้ตามีลักษณะข้น เหนียว และมีสีออกเขียว หรือสีเหลืองเข้ม หากคุณมีขี้ตาอยู่มากเกินไป จนแทบจะลืมตาไม่ขึ้น หากคุณมีขี้ตาพร้อมกับอาการน้ำตาไหลออกมามาก ๆ หากคุณมีอาการมองเห็นไม่ชัด เนื่องจากมีขี้ตามาก […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ป้องกันปัญหา หนังตาตก ได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคการ บริหารเปลือกตา

หนังตา (Eyelid) นั้นมีความสำคัญกับดวงตาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกราะป้องกันดวงตาจากสิ่งสกปรก ตาล้า และป้องกันไม่ให้ดวงตาแห้ง แต่สภาวะหนังตาตกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจจะกลายเป็นตัวการสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของเราได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำวิธีการ บริหารเปลือกตา เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เปลือกตาของเราแข็งแรง ป้องกันหนังตาตกกันค่ะ ทำไมหนังตาถึงตก ปัญหาหนังตาตก เปลือกตาหย่อนคล้อย และถุงใต้ตาบวมนั้นเป็นเป็นสภาวะที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะหนังตาตก (Ptosis) ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาหนังตาตกค่อนข้างมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการควบคุมกล้ามเนื้อเปลือกตา และความยืดหยุ่นของผิวหนัง จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้หนังตาบนหย่อนคล้อยลง และเปลือกตาล่างเกิดการเหี่ยวย่น กลายเป็นถุงใต้ตา ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตาที่ใช้เพื่อรักษาโรคต้อหิน อาจทำให้เกิดการสูญเสียไขมันบริเวณดวงตา และส่งผลให้หนังตาตกได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สภาวะนี้จะส่งผลกระทบต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในบริเวณหนังตาได้ สภาวะเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ การบาดเจ็บที่ดวงตา การฉีดโบท็อกซ์อย่างไม่ถูกต้อง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง เทคนิคการ บริหารเปลือกตา แบบง่าย ๆ หากคุณสังเกตพบว่า เปลือกตาของคุณมีเริ่มมีลักษณะหย่อนคล้อย ไม่เท่ากับดวงตาอีกข้าง หรือหากคุณเป็นกังวลว่าอาจจะปัญหาหนังตาตก คุณสามารถป้องกันและบรรเทาอาการหนังตาตกได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เตรียมเปลือกตา ก่อนจะเริ่มการบริหารเปลือกตา คุณควรจะเตรียมเปลือกตาของคุณให้พร้อมเสียก่อน เริ่มต้นจากการทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาให้สะอาดหมดจด โดยใช้สำลีหรือผ้าสะอาด ชุบน้ำอุ่นค่อนไปทางร้อน ปิดบริเวณดวงตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ภาวะตาสองสี ลักษณะทางพันธุกรรมซับซ้อน ที่อาจค้นพบได้ในมนุษย์

ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง และชวนอึ้งอย่างมากในมนุษย์เรา เพราะเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างค้นพบได้ยากเกี่ยวกับ ภาวะตาสองสี แต่นอกจากจะเป็นดวงตาที่สวยงามชวนมองแล้ว บางกรณีนั้นก็อาจมีอันตรายแอบแฝงร่วมอยู่ด้วยได้อีกด้วยที่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะของดวงตาดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะตาสองสี คืออะไร ภาวะตาสองสี (Heterochromia) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในมนุษย์ และพบได้ทั่วไปในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีจุดสังเกตอย่างง่ายดายจากสีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งที่มีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยอาจได้รับมาจากพันธุกรรมส่งต่อมาทางครอบครัว และเป็นพันธุกรรมซับซ้อนที่เชื่อมโยงกับยีนในร่างกายของเรา ก่อให้เกิดการกำหนดความเข้มข้นของเม็ดสีเมลานินในม่านตา ที่นำพาไปสู่การเกิดสีต่างๆ บนม่านตาได้ เช่น สีฟ้า สีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีเทา เป็นต้น แต่ในบางกรณีนอกเหนือจากการได้รับมาจากพันธุกรรมแล้ว การที่ดวงตาของคุณมีสีที่เปลี่ยนไปอาจมาจากสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคต้อหิน โรคเบาหวาน กลุ่มอาการกระจายตัวของเม็ดสี เนื้องอกในม่านตา อุบัติเหตุบริเวณม่านตา หรือแม้แต่ใช้ยารักษาดวงตาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งถ้าหากคุณมีปัญหาทางสุขภาพเหล่านี้ร่วมอยู่ และพบว่าดวงตาของคุณนั้นมีสีที่เปลี่ยนแปลงไปกระทันหันไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด คุณควรรีบเร่งเข้าขอรับการรักษา หรือการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์อีกครั้ง ก่อนนำพามาสู่ความสูญเสียด้านการมองเห็น ประเภท ของภาวะตาสองสี มีอะไรบ้าง สีของม่านตาที่เปลี่ยนไปนั้น อาจมีลักษณะเบื้องต้นที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละการพัฒนาทางพันธุกรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วภาวะตาสองสีที่พบเจอ อาจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ สีของม่านตาแบบสมบูรณ์ (Complete heterochromia) […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาสองสี (Heterochromia)

หากลองสังเกตตนเองแล้วพบว่าสีตาเริ่มเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนสี หรือครึ่งซีกของม่านตาเปลี่ยนสีไป โปรดเข้ารับการวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดภาวะ ตาสองสี (Heterochromia) ได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ตาสองสี (Heterochromia) คืออะไร ภาวะตาสองสี (Heterochromia) เป็นภาวะของม่านตาที่มาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาจากพันธุกรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นภาวะที่สีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมีสีแตกต่างไปจากเดิม เช่น สีเทา สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น ตามความเข้มข้นของระดับเม็ดสีเมลานินในแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ Complete heterochromia เป็นประเภทที่มีสีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนไปแบบสมบูรณ์ หรือเต็มดวง เช่น ตาข้างหนึ่งสีน้ำตาล อีกข้างหนึ่งสีฟ้า Segmental heterochromia คือ สีของดวงตาเปลี่ยนไปแบบแบ่งส่วน โดยดวงตาข้างนั้นจะมีการแบ่งสีของม่านตาเป็น 2 ส่วน และจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น ตาข้างซ้ายสีน้ำตาล ตาข้างขวาสีฟ้า และแบ่งครึ่งอีกซีกด้านในเป็นสีเขียวอีกครึ่งหนึ่ง Central heterochromia เป็นอีกประเภทของภาวะดวงตาเปลี่ยนสี ที่จะมีการเปลี่ยนสีเพียงแค่รอบนอกของม่านตา เช่น ตรงกลางภายในดวงตาเป็นสีดำสนิทแต่รอบนอกนั้นเป็นสีเทา หรือสีอื่น ๆ ภาวะ ตาสองสี สามารถพบบ่อยได้เพียงใด จริง ๆ แล้วภาวะดังกล่าวนี้ […]


โรคตา

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion)

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ที่เป็นต่อมสร้างน้ำมันหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตา เกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นไหลออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง [embed-health-tool-bmr] คำจัดความ ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ คืออะไร ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ซึ่งเป็นต่อมสร้างน้ำตาหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตาเกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง พบได้บ่อยแค่ไหน อาการตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการอักเสบดังนี้ ต่อมไขมันอักเสบ สิว โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย เปลือกตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น อาการ อาการของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                      ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด  แต่ขนาดของก้อนบริเวณเปลือกตาอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็น  และทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตา ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันไป สาเหตุ สาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                     โดยปกติสาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ตาชนิดหนึ่ง โดยมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ  ดังนี้ ต่อมไขมันอักเสบ สิว โรคผิวหนังอักเสบ โรซาเชีย เปลือกตาอักเสบระยะยาว โรคตา การติดเชื้อไวรัสบริเวณเปลือกตา ปัจจัยเสี่ยงของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ การติดเชื้อไวรัส วัณโรค มะเร็งผิวหนัง โรคเบาหวาน การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ ในกรณีส่วนใหญ่คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะนี้ด้วยการดูก้อนที่ปรากฏบริเวณเปลือกตา และสอบถามอาการของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบยืนยันให้แน่ชัดว่าก้อนที่ปรากฎเป็นตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บหรือไม่ การรักษาตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ ตากุ้งยิงมักหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน