สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพตา

โรคตา

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง เกิดขึ้นจากอาการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อของต่อมไขมันในบริเวณเปลือกตา ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายสิวในบริเวณรอบดวงตา โดยปกติอาจสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเปลือกตาครั้งละ 5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง คำจำกัดความตากุ้งยิง คืออะไร ตากุ้งยิง คือ การอักเสบของเปลือกตาที่ก่อให้เกิดตุ่มนูนคล้ายสิว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในบริเวณปลือกตาทั้งภายนอกและภายใน หากเกิดตากุ้งยิงในบริเวณเปลือกตาภายนอกอาจส่งผลให้เกิดหนอง และอาการปวดเมื่อสัมผัส รวมถึงอาจส่งผลให้ติดเชื้อได้ ตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายในเปลือกตาอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากกว่าตากุ้งยิงที่เกิดขึ้นภายนอก อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเมื่อกระพริบตา เหมือนมีบางอย่างติดอยู่ในดวงตาตลอดเวลา อาการอาการของตากุ้งยิง อาการตากุ้งยิง สังเกตได้จากปฏิกิริยาต่าง ๆ ดังนี้ ตุ่มนูนสีแดงคล้ายสิวอยู่บนเปลือกตา บางตุ่มอาจมีหนองสีเหลืองปรากฏ เปลือกตาบวม รู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา คันตา น้ำตาไหล ตาแฉะ เปลือกตาหย่อนคล้อย มองเห็นไม่ชัด ตาไวต่อแสง สาเหตุสาเหตุที่ส่งผลให้เป็นตากุ้งยิง ตากุ้งยิงมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ที่ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา แต่บางครั้งก็อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันของต่อมไขมันเนื่องจากสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตา หรือจากแผลเป็นที่เนื้อเยื่อในบริเวณเปลือกตา หรืออาจเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โรคเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด อาการตากุ้งยิง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดตากุ้งยิง มีดังต่อไปนี้ การใช้มือสัมผัสกับดวงตา ใส่คอนแทคเลนส์ที่สกปรกไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ใช้เครื่องสำอางหมดอายุ ล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าไม่สะอาด หรือทิ้งไว้ข้ามคืน สภาวะต่าง ๆ เช่น เปลือกตาอักเสบ โรคโรซาเซีย การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย อาการตากุ้งยิง คุณหมออาจวินิจฉัยโดยการตรวจดูบริเวณเปลือกตาด้วยการส่องไฟ และใช้แว่นขยาย เพื่อตรวจดูลักษณะของตุ่มตากุ้งยิง นอกจากนี้คุณหมอก็อาจจะตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในบริเวณดวงตา หรือสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น น้ำหนอง อาการบวม […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

ปัญหาของสุขภาพตาที่คนส่วนใหญ่มักเผชิญไม่ได้มีเพียงแค่ ต้อหิน ต้อกระจก สายตาสั้น สายตายาว เสมอไป ยังมีภาวะอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อย่าง เปลือกตาอักเสบ ด้วยเช่นกัน แต่จะภาวะนี้เกิดจากสาเหตุ หรือปัจจัยใดบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันได้เลยค่ะ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เปลือกตาอักเสบ คืออะไร เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) คืออาการอักเสบบริเวณรอยพับของผิวหนังที่ปกคลุมดวงตา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เปลือกตา เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันโคนขนตาอุดตันเนื่องจากสิ่งสกปรก ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคือง จนเปลือกตาอักเสบ และมีอาการบวม ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับเปลือกตาข้างใดก็ได้ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านนอก เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านนอกส่วนที่ใกล้กับขนตา อาการอักเสบบริเวณเปลือกตาด้านใน เป็นการอักเสบของเปลือกตาด้านในส่วนที่ใกล้กับดวงตามากที่สุด เปลือกตาอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะเปลือกตาอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เมื่อต่อมน้ำมันมีการอุดตัน ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คุณสามารถเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์ได้ เพื่อขอคำแนะนำการรักษาได้อย่างเหมาะสม อาการ อาการของเปลือกตาอักเสบ สัญญาณเตือนของภาวะ เปลือกตาอักเสบ มักสังเกตได้ง่าย จากอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาการคันบริเวณเปลือกตา เปลือกตาบวมแดง รู้สึกแสบร้อนภายในดวงตา ตาแดง น้ำตาไหลตลอดเวลา ดวงตาไวต่อแสง ขี้ตาเกรอะ ดวงตาพร่ามัว เปลือกตามันเยิ้ม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณรู้สึกมีอาการปวดที่ดวงตา […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ตาขาวอักเสบ จนตาแดง และเจ็บปวด ควรรักษาอย่างไร

ถึงแม้ว่าปัญหา ตาขาวอักเสบ  จะไม่ได้เกิดบริเวณตาดำโดยตรง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการที่ ตาขาวอักเสบ ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้เช่นกัน แต่จะมีสาเหตุใดบ้างนั้น ที่ทำให้บริเวณตาขาวคุณรู้สึกเจ็บปวด ติดตามได้ใน บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำความรู้เบื้องต้น มาฝากให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ คำจำกัดความตาขาวอักเสบ (Scleritis) คืออะไร ตาขาวอักเสบ (Scleritis) คือ อาการผิดปกติบริเวณตาขาวที่ก่อให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง โดยเป็นผลมาจากการทำงานของภูมิต้านทานในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหน้าดวงตา ตาขาวอักเสบเป็นก้อนกลมด้านหน้าดวงตา ตาขาวอักเสบชนิดรุนแรง ตาขาวอักเสบบริเวณด้านหลัง ตาขาวอักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะตาขาวอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นบ่อยได้มากกว่าผู้ชาย อาการอาการของตาขาวอักเสบ อาการตาขาวอักเสบ มักแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท และสภาวะทางสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่ อาการหลัก ๆ ที่คุณสามารถสังเกตได้นั้น มีดังนี้ ดวงตาไวต่อแสง ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรือมองเห็นไม่ชัด มีน้ำตาไหลออกมาเป็นบางครั้ง อาการเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวลูกตา ระคายเคืองดวงตา บริเวณตาขาวมีอาการบวม และมีสีแดง ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด เมื่อคุณมีอาการเจ็บดวงตาไม่ว่าจะอยู่ในระดับรุนแรง หรือไม่รุนแรง แน่นอนว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน โปรดรีบเร่งเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด พร้อมระบุอาการเบื้องต้นให้แพทย์ทราบในทันที เพราะอาการตาขาวอักเสบบางประเภท อาจทำให้คุณสูญเสียการมองเห็นได้โดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว สาเหตุสาเหตุที่ทำให้ตาขาวอักเสบ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการตาขาวอักเสบ แต่สาเหตุเบื้องต้นอาจมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดอาการปวด รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณตาขาว จนทำให้เกิดการอักเสบ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม หรือหากคุณรู้สึกถึงอาการเจ็บปวดดวงตา คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุแพทย์ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการตาขาวอักเสบ โรคเรื้อรังบางโรค อาจส่งผลข้างเคียง และเพิ่มความเสี่ยงให้คุณมีอาการผิดปกติทางดวงตา จนลุกลามก่อให้เกิดตาขาวอักเสบได้ […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เช็กปัญหาสายตาที่ควรเร่งแก้ไข ด้วย การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA)

การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคบางอย่างโดยจักษุแพทย์ ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการมองไม่ชัด ปวดตา เจ็บตา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพตา ควรเข้ารับการตรวจดวงตาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรง [embed-health-tool-bmi] การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา คืออะไร การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA) คือ ขั้นตอนการตรวจพื้นฐาน เพื่อวัดระดับการทำงานของรูม่านตา และสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสายตา หรือโรคในตา โดยเป็นการตรวจตามคำย่อภาษาอังกฤษ PERRLA ดังนี้ Pupils (P) เป็นการตรวจจุดกึ่งกลางในดวงตา หรือม่านตา (Iris) ที่สามารถควบคุมการหดตัว หรือขยายตัว เมื่อเผชิญกับแสงรอบตัวที่ได้รับ Equal (E) คุณหมอจะตรวจขนาดรูม่านตา โดยปกติแล้ว รูม่านตาควรจะมีขนาดเท่ากัน หากคุณหมอพบว่ารูม่านตาข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดต่างออกไป ก็อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยเทคนิคอื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด Round (R) ปกติรูม่านตามักมีลักษณะเป็นวงกลม คุณหมอจึงต้องตรวจสอบเส้นขอบ และรูปร่างของรูม่านตาอย่างละเอียด Reactive (R) เป็นการทดสอบปฏิกิริยา และความเคลื่อนไหวของรูม่านตาว่ามีการตอบสนองต่อแสงมากน้อยเพียงใด Light (L) ในการตรวจนี้ คุณหมอมักจะส่องแสงไฟเข้าที่รูม่านตา เพื่อดูว่า รูม่านตาตอบสนองได้ดีแค่ไหน เช่น หากส่องไฟเข้าไปแล้วรูม่านตาไม่มีการหดตัวลง ก็อาจคาดเดาได้ว่าขณะนั้นกำลังเสี่ยงกับปัญหาด้านสายตาบางอย่างอยู่ […]


ต้อหิน

โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงต้อหิน ได้อย่างไร

โรคต้อหิน เป็นภาวะที่เส้นประสาทตาเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ บางกรณีอาจร้ายแรงจนถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โรคต้อหิน มักจะเกิดกับผู้ที่มีภาวะความดันลูกตาสูง ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนอาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา และทำให้เกิดความดันตาสูงได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงต้อหิน ได้อย่างไร ไปอ่านกัน ทำความรู้จักกับโรคต้อหิน ดวงตาของคนเราจะมีน้ำใส ๆ ที่คอยหล่อเลี้ยงดวงตา ไม่ให้ดวงตาแห้ง เรียกว่า “น้ำเลี้ยงลูกตา (Aqueous Humor)” ซึ่งน้ำเลี้ยงลูกตาจะสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ส่วนน้ำเก่าก็จะระบายออกมา หากมีสิ่งกีดขวางการระบายน้ำเลี้ยงลูกตา อาจทำให้เกิดความดันภายในลูกตา (Intraocular Pressure หรือ IOP) เมื่อความดันลูกตามากจนเกินไปอาจทำให้เส้นประสาทตาเกิดความเสียหายจนสูญเสียการมองเห็น โดยเฉพาะการมองเห็นรอบนอก (Peripheral Vision) ปัญหาเส้นประสาทตาถูกทำลายและความดันลูกตาที่สูงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคต้อหิน ซึ่ง โรคต้อหิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้ ต้อหินมุมเปิด (Open-angle Glaucoma) ต้อหินประเภทนี้เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าต้อหินประเภทอื่น ๆ เกิดจากการอุดตันของทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาสูงและส่งผลให้เส้นประสาทถูกทำลาย ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน (Closed-angle Glaucoma Accounts) ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน เป็นต้อหินที่เกิดขึ้นจากความดันลูกตาค่อย […]


โรคตา

ต้อลม (Pinguecula) ปัญหาดวงตาใกล้ตัว อย่ามัวแต่ละเลย

ต้อลม หนึ่งในปัญหาสุขภาพดวงตา ที่แม้จะไม่ใช่ภาวะดวงตาที่รุนแรง แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระคายเคืองที่รุนแรงมากขึ้นได้ แต่ต้อลมคืออะไร และจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ เป็นต้อลม ได้หรือไม่นั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีข้อมูลและคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ ต้อลม คืออะไร โรคต้อลม (Pinguecula) คือปัญหาสุขภาพดวงตาที่พบได้มากในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตาขาว ก่อให้เกิดแผ่นนูนสีขาวหรือสีเหลือง ในบริเวณเนื้อเยื่อบุตาสีขาวใกล้กับขอบตาดำ  โดยมากแล้วจะเกิดขึ้นที่เนื้อตาขาวส่วนที่อยู่ใกล้กับจมูก ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ เป็นต้อลม มีดังต่อไปนี้  การที่ดวงตาสัมผัสกับรังสียูวีเป็นประจำ การที่ดวงตาสัมผัสกับลมและฝุ่นเป็นประจำ มีอาการตาแห้ง อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อดวงตา สัญญาณของต้อลม มีอะไรบ้าง ต้อลมเป็นปัญหาสุขภาพดวงตาที่ไม่มีอาการแสดงออกมากนัก โดยสัญญาณที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นต้อลม คือ การมีแผ่นหรือตุ่มนูนสีขาวหรือสีเหลือง เกิดขึ้นบริเวณเนื้อตาสีขาวใกล้กับขอบตาดำ อย่างไรก็ตาม ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจแสดงร่วมด้วย ดังนี้ ระคายเคืองตา ตาแห้ง รู้สึกเหมือนมีอะไรเข้าตา คันที่ดวงตา ตาแดง ตาอักเสบ การ เป็นต้อลม แม้จะเกิดขึ้นที่ดวงตา แต่ไม่ได้มีการกระทบกระเทือนต่อกระจกตา จึงไม่มีปัญหาต่อการมองเห็น หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น เพียงแต่อาจจะสร้างความรู้สึกไม่สบายตา หรือระคายเคืองตาได้ เป็นต้อลม รักษาได้หรือไม่ ต้อลมเป็นปัญหาสุขภาพดวงตาที่สามารถรักษาได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อ เป็นต้อลม ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทางกับคุณหมอ การใช้น้ำตาเทียม ยาหยอดตา หรือสเคลอรัลเลนส์ (Scleral Lens) ซึ่งเป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วยลดอาการระคายเคืองตา ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของต้อลมได้แล้ว […]


ปัญหาตาแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพตา จากโรคข้ออักเสบ ความเสี่ยงที่คุณอาจไม่เคยรู้

หากดูผ่าน ๆ แล้ว คุณอาจจะไม่รู้สึกถึงความเชื่อมโยงกันสักเท่าไหร่นัก ระหว่าง ปัญหาสุขภาพตา กับ โรคข้ออักเสบ แต่เชื่อเถอะค่ะว่า โรคข้ออักเสบ สามารถก่อให้เกิด ปัญหาสุขภาพตา บางอย่างขึ้นได้จริง ๆ วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้มาฝากทุกคนได้ทราบไปพร้อม ๆ กัน โรคข้ออักเสบเกี่ยวกับอะไรกับ สุขภาพตา บางคนนั้นอาจคิดว่า โรคข้ออักเสบ โดยเฉพาะโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับบริเวณตามข้อต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว เพราะสาเหตุของโรคนี้เกิดจากการอักเสบเรื้อรังตามเยื่อหุ้มข้อ แต่หากคุณปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน โรคนี้อาจลุกลามไปทำลายเนื้อเยื่อ และกระดูกทั่วทั้งร่างกาย รวมไปถึงบริเวณดวงตา จนอาจส่งผลกระทบด้านสายตา และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาต่าง ๆ ได้นั่นเอง ปัญหาสุขภาพตา ที่เกิดขึ้นจาก โรคข้ออักเสบ หาก โรคข้ออักเสบ ลุกลามจนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณดวงตาถูกทำลาย ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพตา ดังต่อไปนี้ ภาวะม่านตาอักเสบ (Uveitis) มักเกิดจากการที่โรคไขข้ออักเสบลุกลาม ทำให้หลอดเลือดรอบ ๆ ดวงตาระหว่างจอประสาทตา (Retina) ตาขาวเกิดการอักเสบขึ้น […]


ปัญหาตาแบบอื่น

เทคนิคบริหารดวงตา เพื่อ รักษาตาเหล่ สามารถทำได้อย่างไร

หากตัวคุณเองหรือคนใกล้ตัวของคุณกำลังเผชิญกับ อาการตาเหล่ และไม่รู้ว่าควรจะรักษาอย่างไรอยู่ละก็ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอนำวิธีบริหารดวงตา หรือเทคนิคการฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตา ที่อาจช่วย รักษาตาเหล่ มาฝากทุกคน ให้ได้ลองนำไปปฏิบัติตามควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อลดอาการเชิงลบด้านการมองเห็น และเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตากันค่ะ อาการตาเหล่ คืออะไร ภาวะตาเหล่ หรือ อาการตาเหล่ (Strabismus) หมายถึงภาวะที่ลูกตาทั้งของข้างทำงานไม่ประสานกัน และอยู่ในลักษณะที่ไม่ขนานกัน ทำให้ไม่ได้มองไปในทิศทางเดียวกัน ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ แต่อาจพบได้บ่อยกับเด็กทารก หรือเป็นมาตั้งแต่กำเนิดโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่อาการตาเหล่นี้มักมีความเชื่อมโยงกับระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของตา จนทำให้มองเห็นสิ่งรอบตัวและวัตถุเป็นภาพซ้อน ส่งผลให้มีอาการตาล้า พร้อมกับลูกตามีการเคลื่อนที่ออกไปคนละทิศทางร่วมด้วย เช่น ลูกตาข้างใดข้างหนึ่งค้างอยู่ด้านใน และอีกข้างหันออกด้านนอก หรืออาจหันเข้าหากันทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น 4 เทคนิคบริหารดวงตา เพื่อ รักษาตาเหล่ หากใครที่กำลังเผชิญกับ อาการตาเหล่ อยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป เพราะถ้าคุณได้รับการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงหมั่นบริหารดวงตาอย่างเป็นประจำตามเทคนิคดังต่อไปนี้ ก็อาจสามารถช่วยให้การมองเห็นคุณมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นได้ เทคนิคที่ 1 Brock string เป็นหนึ่งในวิธีบริหารดวงตาที่อาจช่วยรักษา อาการตาเหล่ ได้ โดยเริ่มจากเตรียมอุปกรณ์คือ เชือกยาวประมาณ 5 ฟุต […]


สุขภาพตา

6 โรคตา ที่ควรระวัง หากยับยั้งไม่ทัน อาจเสี่ยงต่อการตาบอด

สุขภาพดวงตา เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรได้รับการดูแลอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพดวงตาเสื่อมโทรมจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาชนิดต่าง ๆ ทั้งที่มีระดับความรุนแรงน้อย ไปจนถึงระดับความรุนแรงมากที่อาจนำไปสู่การตาบอด แต่ โรคตา ที่เสี่ยงต่อการ ตาบอด มีโรคอะไรที่ควรระวังบ้างนั้น มาหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ 6 โรคตา ที่เสี่ยงต่อการตาบอด มีอะไรบ้าง โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age related Macular Degeneration) หรือก็คือโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เรารู้จักกันดี แต่หากพบโรคนี้ในผู้สูงอายุ เราจะเรียกว่า โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ โรคตาชนิดนี้เป็นความผิดปกติของดวงตาเนื่องจากความชรา ทำให้ส่วนตรงกลางดวงตาที่เรียกว่าเรตินา ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เห็นภาพชัดเจน กลายเป็นมองเห็นตรงกลางไม่ชัดเจน มองเห็นแค่เพียงด้านข้างเท่านั้น โดยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ  แบ่งเป็นสองชนิด ได้แก่ จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดหลังเรตินา ทำให้เลือดรั่วไหลออกมาที่จุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการมองเห็น จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD) เกิดจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นที่ส่วนกลางซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ภาพชัดเจนเกิดการเบลอ โดยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ พบว่าจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากความชราเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด มากไปกว่านั้น หากปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่การ ตาบอดได้ ต้อกระจก (Cataract) ต้อกระจก คือการขุ่นมัวของเลนส์ตาที่ส่งผลให้การมองเห็นเบลอ หรือมองเห็นได้ไม่ชัด สาเหตุหลักมักเกิดจากความชราภาพ จึงถือเป็นโรคตาที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บที่ดวงตา […]


ความบกพร่องทางการมองเห็นและตาบอด

ตาเข (Strabismus)

ตาเข (Strabismus) เป็นภาวะดวงตาที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กทารก ดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถมองในจุดเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ โดยดวงตาข้างหนึ่งจะมองไปด้านข้าง และดวงตาอีกข้างหนึ่งอาจมองไปทางซ้ายหรือขวา  คำจำกัดความ ตาเข (Strabismus) คืออะไร ตาเข (Strabismus) เป็นภาวะดวงตาที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กทารก ดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถมองในจุดเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ โดยดวงตาข้างหนึ่งจะมองไปด้านข้าง และดวงตาอีกข้างหนึ่งอาจมองไปทางซ้ายหรือขวา  อย่างไรก็ตาม อาการตาเข อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปได้  พบได้บ่อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่มักพบผู้ป่วยที่มี อาการตาเข ตั้งแต่กำเนิด แต่จะได้รับการการยืนยันการวินิจฉัยโรคเมื่ออายุครบ 3 เดือน  อาการอาการของ อาการตาเข  อาการตาเข เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาไม่ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้  ตาเขหรือตาเหล่ สายตายาว รู้สึกเจ็บบริเวณรอบดวงตา ปวดศีรษะ มีอาการตามัว เห็นภาพไม่ชัด  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ อาการตาเข  ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ อาการตาเข โดยส่วนใหญ่มักเป็นโดยกำเนิด รวมถึงสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ สายตา ในผู้ที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง การที่ต้องใช้สายตาในการมองวัตถุที่ค่อนข้างสูงอาจส่งผลต่อการมองเห็นและอาจเสี่ยงต่อ อาการตาเข ได้  การติดเชื้อ เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน