backup og meta

ยาเม็ดคุมกำเนิด กับ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง แบบไหนดีกว่ากัน

ยาเม็ดคุมกำเนิด กับ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง แบบไหนดีกว่ากัน

ยาเม็ดคุมกำเนิด กับ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง คือ วิธีคุมกำเนิดเพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม โดยยาคุมกำเนิดแบบเม็ดคือการรับประทานยาคุมกำเนิด ในขณะที่ยาคุมกำเนิดแบบฝัง คือการฝังหลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินเข้าไปในร่างกายของฝ่ายหญิง ซึ่งแต่ละวิธีต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ควรเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองมากที่สุด 

[embed-health-tool-ovulation]

ยาเม็ดคุมกำเนิด กับการตั้งครรภ์

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดเป็นยาเม็ดชนิดรับประทานที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนสังเคราะห์ช่วยในการคุมกำเนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) โดยตัวยาจะทำหน้าที่ป้องกันการตกไข่และควบคุมการทำงานของรังไข่ไม่ให้มีการปล่อยไข่ออกไป รวมถึงยังทำหน้าที่เพิ่มปริมาณมูกหรือเมือกที่ปากมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อป้องกันสเปิร์มผ่านเข้าไปยังมดลูกได้ โดยมีให้เลือกทั้งแบบแผงละ 21 หรือ 28 เม็ด ซึ่งข้อบ่งใช้ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอหรือเภสัชกร

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา หรือ CDC พบว่า ผู้ที่คุมกำเนิดด้วยการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเม็ด จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ายาคุมกำเนิดแบบเม็ดเองมีประสิทธิภาพในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง  

หากต้องการคุมกำเนิดด้วยยาคุมแบบเม็ด ควรรับประทานยาให้ตรงตามกำหนดหรือตามที่คุณหมอสั่ง ไม่ล่าช้าหรือเว้นไป หากรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลงได้ 

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง กับการตั้งครรภ์

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Birth Control Implant) จะมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ซึ่งมีการบรรจุฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) ที่จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยยาคุมกำเนิดแบบฝังนี้คุณหมอ พยาบาล หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฝังไว้ที่ใต้ท้องแขนข้างในข้างหนึ่ง 

ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดแบบฝังนี้จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ชั่วคราว เป็นระยะเวลายาวนานถึง 5 ปี ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสตินจะทำหน้าที่ผลิตมูกที่ช่องคลอดให้หนาขึ้นเพื่อป้องกันอสุจิผ่านเข้าไปได้ รวมถึงป้องกันการตกไข่ที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิกับอสุจิเมื่อมีเพศสัมพันธ์

ยาคุมแบบไหนดีกว่ากัน

จะเห็นได้ว่ายาคุมกำเนิดทั้งสองประเภทนั้นต่างก็มีจุดประสงค์ช่วยในการคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม แต่จะมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ 

ข้อดีของยาคุมกำเนิดแบบฝัง

ยาเม็ดคุมกำเนิดจำเป็นจะต้องรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์สั่ง แต่ยาคุมแบบฝังไม่จำเป็นที่จะต้องมากังวลมาจะลืมรับประทานยาหรือไม่ หรือรับประทานยาช้าเกินไปหรือเปล่า ยาคุมกำเนิดแบบฝังจึงมีความสะดวกมากกว่ายาคุมกำเนิดแบบเม็ด

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหากเว้นไปหรือล่าช้ากว่ากำหนดก็อาจเผชิญกับความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ แต่ยาคุมกำเนิดแบบฝังนั้นมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้นานถึง 5 ปี

ข้อดีของ ยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหากรับประทานสม่ำเสมอก็ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่ได้ผลเช่นเดียวกัน และยังสามารถหยุดรับประทานได้ทันทีสำหรับผู้ที่ตัดสินใจจะตั้งครรภ์ สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฝังจำเป็นต้องให้คุณหมอเป็นผู้ผ่าเอายาคุมกำเนิดแบบฝังออกก่อน

นอกจากนั้นแล้ว การรับประทานยาคุมแบบเม็ด ยังช่วยลดปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมทั้งอาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การคุมกำเนิดทั้งสองแบบจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ดี แต่ยาคุมกำเนิดทั้งสองประเภทนี้ไม่ได้ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด ดังนั้น ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จึงควรใส่ถุงยางอนามัยด้วยเสมอ เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเพิ่มมากขึ้น และยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Birth Control Pill vs. the Implant. https://www.webmd.com/sex/birth-control/the-pill-versus-implant. Accessed October 27, 2022.

What are the benefits of using the birth control implant?. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-implant-implanon/what-are-the-benefits-of-using-the-birth-control-implant. Accessed October 27, 2022.

Which method of contraception suits me?. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/which-method-suits-me/. Accessed October 27, 2022.

Birth Control: Pros and Cons of Hormonal Methods. https://www.uofmhealth.org/health-library/tw9513. Accessed October 27, 2022.

Contraceptive implant. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/contraceptive-implant/about/pac-20393619. Accessed October 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลั่งข้างนอก เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้ผลจริงหรือ

แผ่นแปะคุมกำเนิด วิธีใช้ ประโยชน์ และความเสี่ยงต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา