backup og meta

ที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่ม ตั้งครรภ์หรือไม่ และควรทำอย่างไร

ที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่ม ตั้งครรภ์หรือไม่ และควรทำอย่างไร

หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและมีการหลั่งใน หากพบว่าตัวเองมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวบ่อย อารมณ์แปรปรวน ประจำเดือนขาดนานกว่า 1 เดือน เต้านมคัดตึงและขยายใหญ่ สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจได้ด้วยตัวเอง และหากผลลัพธ์ของ ที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่ม อาจซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจอีกครั้งในวันถัดไป หรือพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจ ตรวจเลือดเพื่อหาค่าฮอร์โมน HGC ซึ่งจะสามารถบอกได้แม่นยำกว่า

[embed-health-tool-ovulation]

การตั้งครรภ์เกิดจากอะไร

การตั้งครรภ์เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่มีการป้องกันและหลั่งใน โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ผู้หญิงตกไข่ ปกติแล้วผู้หญิงจะมีกระบวนการตกไข่ทุกรอบเดือนและปล่อยไข่ไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ ดังนั้น เมื่อผู้ชายหลั่งอสุจิเข้าไปในช่องคลอดจึงอาจทำเข้าไปผสมกับไข่และเกิดการปฏิสนธิที่พัฒนาเป็นตัวอ่อนก่อนจะฝังตัวบนผนังมดลูกของผู้หญิงและนำไปสู่การตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่มตั้งครรภ์หรือไม่

เมื่อสังเกตว่าประจำเดือนขาดนานกว่า 1 เดือน หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและมีการหลั่งใน ควรซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจด้วยตัวเอง โดยควรตรวจปัสสาวะแรกของวันหรือตรวจในช่วงเช้า เนื่องจากจะมีฮอร์โมนฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin) ที่เป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์ อีกทั้งไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารก่อนตรวจเพื่อป้องกันผลลัพธ์คลาดเคลื่อน จากนั้นรอผลลัพธ์ 5 นาที หากที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ อาจมีความหมายว่าเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือผลลัพธ์การตั้งครรภ์คลาดเคลื่อน ที่ควรตรวจใหม่ในวันถัดไป

สิ่งที่ควรทำเมื่อที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่ม 

สิ่งที่ควรทำเมื่อที่ตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด จางๆ แบบจุ่ม อาจทำได้ด้วยการซื้อที่ตรวจครรภ์รูปแบบอื่นหรือยี่ห้ออื่นมาตรวจซ้ำในวันถัดไป เนื่องจากที่ตรวจครรภ์อาจไม่มีประสิทธิภาพหรือเก็บไว้ในสภาพอากาศร้อนจัดและอับชื้น หรือเข้ารับการตรวจจากคุณหมอโดยตรง

นอกจากนี้ หากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ควรขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ การคลอดบุตร เพื่อลดความเสี่ยงจากการคลอดบุตรก่อนกำหนด การแท้งบุตร ทารกพิการแต่กำเนิด รวมถึงคัดกรองโรคระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจางและโรคไต

วิธีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

วิธีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่อวัยวะเพศ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก การใช้เซ็กส์ทอยและสำเร็จความใคร่ด้วยการช่วยตัวเอง หรือควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่ควรศึกษาวิธีการใส่ให้ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ด้วยการใช้ยาคุม ที่มีหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสม ดังนี้

  • ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน หรือมีเพียงฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว ซึ่งมีทั้งรูปแบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด ใช้เพื่อช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้นส่งผลให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก ที่ลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ โดยควรรับประทานวันแรกแรกที่ประจำเดือนมาตามลูกศรบนแผงวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกัน 
  • ยาคุมฉุกเฉิน ประกอบด้วยฮอร์โมนโพรเจสติน ที่ไม่ควรใช้บ่อยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งควรใช้ต่อเมื่อถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ ถูกล่วงละเมิดทางเพศที่มีการปล่อยใน ลืมกินยาคุมรายเดือนมากกว่า 3 เม็ด และควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงในเม็ดแรก และรับประทานเม็ดที่ 2 ภายใน 12 ชั่วโมง เพื่อช่วยรบกวนกระบวนการตกไข่และปฏิสนธิของไข่และอสุจิ แต่หากอสุจิและไข่ปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนแล้วยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินไม่ควรกินเกินเดือนละสองครั้งเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมากขึ้น
  • ฝังยาคุม เป็นการฝังแท่งพลาสติกขนาดเล็กที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินไว้ใต้ผิวหนังบริเวณแขนหรือก้น เพื่อช่วยปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นการสร้างเมือกปากมดลูกให้หนาขึ้นให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก วิธีการฝังยาคุมนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่โดยคุณหมอเมื่อครบกำหนดการใช้งาน เพื่อช่วยปล่อยฮอร์โมนในการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง
  • ยาคุมกำเนิดแบบฉีด คือ การฉีดฮอร์โมนโปรเจสตินบริเวณก้น และจำเป็นต้องกลับมาฉีดซ้ำทุก ๆ 3 เดือน หรือก่อนยาจะหมดฤทธิ์ เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้นทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก ส่งผลให้ลดความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์
  • แผ่นแปะคุมกำเนิด ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มักใช้แปะบริเวณหน้าท้อง หลังแขน ก้น โดยจะปล่อยฮอร์โมนผ่านทางผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และควรเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกสัปดาห์ยกเว้น การแปะในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ประจำเดือนมาตามปกติ 
  • ห่วงอนามัยคุมกำเนิด มีลักษณะเป็นพลาสติกหรือทองแดงรูปตัว T ที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน โดยใส่เข้าไปบริเวณปากมดลูก ที่อาจมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดได้ประมาณ 3-10 ปี  และจำเป็นต้องถอดเปลี่ยนใหม่โดยคุณหมอตามระยะเวลาที่กำหนด
  • วงแหวนคุมกำเนิด มีลักษณะเป็นวงแหวนพลาสติกขนาดเล็กที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน โดยคุณหมอจะสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยให้วงแหวนปล่อยฮอร์โมนเข้าไปทำให้มดลูกหนาขึ้น หรือทำให้มดลูกบางลงที่ลดความเสี่ยงจากการฝังตัวของตัวอ่อน ป้องกันการตั้งครรภ์ วงแหวนคุมกำเนิดควรใส่เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และถอดออกในสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ประจำเดือนมาตามปกติที่ควรทำโดยคุณหมอเท่านั้น เพื่อลดการติดเชื้อในช่องคลอด

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Doing a pregnancy test. https://www.nhs.uk/pregnancy/trying-for-a-baby/doing-a-pregnancy-test/.Accessed January 17, 2023  

Home pregnancy tests: Can you trust the results?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/home-pregnancy-tests/art-20047940.Accessed January 17, 2023  

Pregnancy Test Instructions. https://www.med.unc.edu/timetoconceive/study-participant-resources/pregnancy-test-instructions/.Accessed January 17, 2023  

Pregnancy Tests. https://www.brooksidepress.org/Products/Military_OBGYN/Textbook/Pregnancy/pregnancy_tests.htm.Accessed January 17, 2023  

Pregnancy and Conception. https://www.webmd.com/baby/understanding-conception.Accessed January 17, 2023  

Contraception. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/index.htm.Accessed January 17, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุมผู้ชาย ตัวเลือกของการคุมกำเนิดในอนาคต

ระยะปลอดภัย นับอย่างไร ช่วยคุมกำเนิดได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา