backup og meta

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงปลอดภัย ช่วยคุมกำเนิดได้จริง

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงปลอดภัย ช่วยคุมกำเนิดได้จริง

ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดที่ควรใช้เฉพาะช่วงเวลาฉุกเฉินเท่านั้น หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้ อีกทั้งหากใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้ยาคุมมีประสิทธิภาพลดลงได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาว่า ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงจะปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงสุด

[embed-health-tool-ovulation]

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คืออะไร

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill) มักจะเป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ตัวยาสำคัญ Levonorgestrel เป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน มี 2 ขนาด คือ 0.75 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 1.5 มิลลิกรัมต่อเม็ด ออกฤทธิ์ในการรบกวนหรือชะลอการตกไข่ จึงช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง

  • ยาคุมฉุกเฉิน ขนาด 0.75 มิลลิกรัม ควรรับประทานให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ อย่างช้าไม่เกิน 72 ชั่วโมง ส่วนเม็ดที่ 2 ให้ห่างกัน 12 ชั่วโมง การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง แล้วตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะทำให้ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มรับประทานยาภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นเป็น 85%    
  • ยาคุมฉุกเฉิน ขนาด 1.5 มิลลิกรัม ควรรับประทานให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ อย่างช้าไม่เกิน 72 ชั่วโมง   

ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เฉพาะในยามฉุกเฉิน กรณีจำเป็นที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือเกิดความผิดพลาดจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น เกิดความผิดพลาดขณะใช้ถุงยางอนามัย เกิดถุงยางแตกหรือถุงยางรั่ว  

คำแนะนำของการใช้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินควรใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพราะมีปริมาณฮอร์โมนสูง ไม่ควรรับประทานแทนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานสม่ำเสมอ (Oral Contraceptive Pills) เนื่องจากประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่า และอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น 

  • ปวดศีรษะ 
  • วิงเวียน 
  • คลื่นไส้ 
  • อ่อนเพลีย 
  • ปวดท้องน้อย 
  • เลือดออกกะปริดกะปรอย
  • พบความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมายาวนานขึ้น 
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติการณ์การตั้งครรภ์นอกมดลูก

แม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีข้อดีในการรับประทานยาได้เป็นครั้งคราว ไม่ต้องรับประทานทุกวัน จึงสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ แต่ไม่อาจใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนยาคุมกำเนิด ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นไม่แนะนำให้รับประทานเกิน 2 กล่องต่อเดือน ทั้งรูปแบบบรรจุ 1 เม็ด และ 2 เม็ด   

กลุ่มไหนไม่ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

ก่อนรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ควรอ่านข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจะพบกลุ่มที่ไม่ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉิน เช่น 

  • ผู้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคเกล็ดเลือดสูง
  • โรคไมเกรน
  • โรคตับ
  • กำลังให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีภาวะมดลูกบิดเบี้ยวรุนแรง มีภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ภาวะแพ้ทองแดง หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์

ประจำเดือนหลังรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

เมื่อรับประทานยาคุมฉุกเฉิน มักจะมีประจำเดือนภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ จากนั้นในรอบถัดไป ประจำเดือนจะมาในช่วงเวลาเดิม แต่บางราย อาจพบประจำเดือนรอบต่อไปมาช้าหรือเร็วขึ้น 

การใช้ยาคุมฉุกเฉินจึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม อ่านรายละเอียดของฉลากยาให้ครบถ้วน เช่น ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง นอกจากนี้ การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นทางเลือกในการคุมกำเนิด ไม่ใช่ยาทำแท้ง และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแล้วพบว่า ร่างกายมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยภาวะตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Emergency contraception https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6319/ . Accessed June 26, 2023

อย. แนะ วิธีใช้ยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/186144/ . Accessed June 26, 2023

ยาคุมฉุกเฉิน … เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/ . Accessed June 26, 2023

ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=419 . Accessed June 26, 2023

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน ! https://pharmacy.mahidol.ac.th/drugstore/Download_Leaflet/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99.pdf . Accessed June 26, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจําเดือนขาด มีสาเหตุมาจากอะไร และวิธีช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

9 เรื่อง HPV ไวรัสร้าย ใกล้ตัว พ่อแม่ต้องรู้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา